ภาษีดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ ปรับเงื่อนไขใหม่ ได้ดอกเบี้ยไม่เกิน 2 หมื่นบาท ก็ต้องเสียภาษีจริงหรือ แล้วยังต้องไปแจ้งธนาคารไหม ?
เป็นประเด็นที่พูดถึงกันในวงกว้าง หลังมีข่าวว่ากรมสรรพากรเตรียม "เก็บภาษีดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์" ในอัตรา 15% กับทุกคน จากเดิมเคยยกเว้นให้คนที่ได้ดอกเบี้ยรวมกันไม่เกิน 20,000 บาท ซึ่งถ้าอยากได้รับยกเว้นภาษีเหมือนเดิม จะต้องแจ้งกับธนาคาร เพื่อยินยอมส่งข้อมูลดอกเบี้ยให้กรมสรรพากร
อย่างไรก็ตาม ประเด็นนี้สร้างความกังวลใจและเกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ไม่น้อยสำหรับเงื่อนไขที่เปลี่ยนไป เพราะนั่นหมายความว่า เจ้าของบัญชีเงินฝากกว่า 85 ล้านบัญชีจะต้องไปติดต่อแจ้งธนาคาร จนสุดท้ายกรมสรรพากร จึงได้กลับไปทบทวนหลักเกณฑ์และประกาศปรับเงื่อนไขเก็บภาษีดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ใหม่อีกครั้ง ซึ่งจะมีรายละเอียดอะไรเปลี่ยนไปบ้างนั้น กระปุกดอทคอม สรุปรวมมาอัปเดตให้ทราบแล้ว
อย่างไรก็ตาม ประเด็นนี้สร้างความกังวลใจและเกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ไม่น้อยสำหรับเงื่อนไขที่เปลี่ยนไป เพราะนั่นหมายความว่า เจ้าของบัญชีเงินฝากกว่า 85 ล้านบัญชีจะต้องไปติดต่อแจ้งธนาคาร จนสุดท้ายกรมสรรพากร จึงได้กลับไปทบทวนหลักเกณฑ์และประกาศปรับเงื่อนไขเก็บภาษีดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ใหม่อีกครั้ง ซึ่งจะมีรายละเอียดอะไรเปลี่ยนไปบ้างนั้น กระปุกดอทคอม สรุปรวมมาอัปเดตให้ทราบแล้ว
มาตรการภาษีดอกเบี้ยเงินฝาก คืออะไร ?
ต้องเข้าใจก่อนว่าการจัดเก็บภาษีดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ไม่ใช่เรื่องใหม่ เคยบังคับใช้มาก่อนหน้านี้แล้ว แต่กฎหมายให้สิทธิ์ยกเว้นภาษีสำหรับคนที่ได้รับดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ไม่เกิน 20,000 บาท ส่วนใครมีบัญชีออมทรัพย์ แล้วได้รับดอกเบี้ยรวมกันเกิน 20,000 บาท ก็จะโดนหักภาษี ณ ที่จ่าย 15%
ย้ำอีกครั้งว่าตัวเลข 20,000 บาท คือจำนวนดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ที่เราได้รับนะ ไม่ใช่หักจากจำนวนเงินฝากในบัญชีที่เรามีอยู่ เช่น ถ้าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากอยู่ที่ 0.5% เราต้องมีเงินฝากออมทรัพย์เกิน 4 ล้าน ถึงจะโดนเก็บภาษี
อีกอย่างคือเรื่องนี้เกี่ยวข้องเฉพาะบัญชีเงินฝากออมทรัพย์เท่านั้น ไม่รวมบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน หรือบัญชีเงินฝากประจำ ที่ปกติต้องโดนหักภาษี ณ ที่จ่าย 15% จากดอกเบี้ยตั้งแต่บาทแรกอยู่แล้ว เว้นแต่จะเปิดเป็นแบบบัญชีเงินฝากประจำปลอดภาษี
มีเงินฝากออมทรัพย์เท่าไหร่ ถึงเสียภาษีดอกเบี้ย
ต้องเข้าใจก่อนว่าการจัดเก็บภาษีดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ไม่ใช่เรื่องใหม่ เคยบังคับใช้มาก่อนหน้านี้แล้ว แต่กฎหมายให้สิทธิ์ยกเว้นภาษีสำหรับคนที่ได้รับดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ไม่เกิน 20,000 บาท ส่วนใครมีบัญชีออมทรัพย์ แล้วได้รับดอกเบี้ยรวมกันเกิน 20,000 บาท ก็จะโดนหักภาษี ณ ที่จ่าย 15%
ย้ำอีกครั้งว่าตัวเลข 20,000 บาท คือจำนวนดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ที่เราได้รับนะ ไม่ใช่หักจากจำนวนเงินฝากในบัญชีที่เรามีอยู่ เช่น ถ้าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากอยู่ที่ 0.5% เราต้องมีเงินฝากออมทรัพย์เกิน 4 ล้าน ถึงจะโดนเก็บภาษี
อีกอย่างคือเรื่องนี้เกี่ยวข้องเฉพาะบัญชีเงินฝากออมทรัพย์เท่านั้น ไม่รวมบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน หรือบัญชีเงินฝากประจำ ที่ปกติต้องโดนหักภาษี ณ ที่จ่าย 15% จากดอกเบี้ยตั้งแต่บาทแรกอยู่แล้ว เว้นแต่จะเปิดเป็นแบบบัญชีเงินฝากประจำปลอดภาษี
มีเงินฝากออมทรัพย์เท่าไหร่ ถึงเสียภาษีดอกเบี้ย
ตามปกติคนที่ได้รับดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์เกิน 20,000 บาท ถึงเกณฑ์โดนหักภาษี ณ ที่จ่าย 15% จะต้องมีจำนวนเงินฝากในบัญชีตามนี้
- อัตราดอกเบี้ยธนาคาร 0.25% ต้องมีเงินฝากออมทรัพย์รวมทุกบัญชีเกิน 8,000,000 บาท
- อัตราดอกเบี้ยธนาคาร 0.50% ต้องมีเงินฝากออมทรัพย์รวมทุกบัญชีเกิน 4,000,000 บาท
- อัตราดอกเบี้ยธนาคาร 0.75% ต้องมีเงินฝากออมทรัพย์รวมทุกบัญชีเกิน 2,666,667 บาท
- อัตราดอกเบี้ยธนาคาร 1.00% ต้องมีเงินฝากออมทรัพย์รวมทุกบัญชีเกิน 2,000,000 บาท
- อัตราดอกเบี้ยธนาคาร 1.25% ต้องมีเงินฝากออมทรัพย์รวมทุกบัญชีเกิน 1,600,000 บาท
- อัตราดอกเบี้ยธนาคาร 1.25% ต้องมีเงินฝากออมทรัพย์รวมทุกบัญชีเกิน 1,333,333 บาท
- อัตราดอกเบี้ยธนาคาร 1.80% ต้องมีเงินฝากออมทรัพย์รวมทุกบัญชีเกิน 1,111,111 บาท
- อัตราดอกเบี้ยธนาคาร 0.50% ต้องมีเงินฝากออมทรัพย์รวมทุกบัญชีเกิน 4,000,000 บาท
- อัตราดอกเบี้ยธนาคาร 0.75% ต้องมีเงินฝากออมทรัพย์รวมทุกบัญชีเกิน 2,666,667 บาท
- อัตราดอกเบี้ยธนาคาร 1.00% ต้องมีเงินฝากออมทรัพย์รวมทุกบัญชีเกิน 2,000,000 บาท
- อัตราดอกเบี้ยธนาคาร 1.25% ต้องมีเงินฝากออมทรัพย์รวมทุกบัญชีเกิน 1,600,000 บาท
- อัตราดอกเบี้ยธนาคาร 1.25% ต้องมีเงินฝากออมทรัพย์รวมทุกบัญชีเกิน 1,333,333 บาท
- อัตราดอกเบี้ยธนาคาร 1.80% ต้องมีเงินฝากออมทรัพย์รวมทุกบัญชีเกิน 1,111,111 บาท
สรุปคือ ต้องเป็นคนที่มีเงินฝากจำนวนมาก ๆ เป็นหลักล้านขึ้นไปเลย ถึงจะมีโอกาสได้รับดอกเบี้ยเกิน 20,000 บาท
สำหรับใครที่อยากคำนวณว่าตัวเองต้องเสียภาษีไหม ให้ลองกลับไปเช็กดูว่า เรามีบัญชีเงินฝากออมทรัพย์กี่บัญชี แต่ละปีได้ดอกเบี้ยรวมกันเท่าไหร่ โดยสามารถคำนวณเบื้องต้นได้ตามสูตร
สำหรับใครที่อยากคำนวณว่าตัวเองต้องเสียภาษีไหม ให้ลองกลับไปเช็กดูว่า เรามีบัญชีเงินฝากออมทรัพย์กี่บัญชี แต่ละปีได้ดอกเบี้ยรวมกันเท่าไหร่ โดยสามารถคำนวณเบื้องต้นได้ตามสูตร
เงินฝาก * (ดอกเบี้ย/100)
เช่น มีบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ 3 บัญชี
บัญชีที่ 1 จำนวนเงินฝาก 100,000 บาท อัตราดอกเบี้ย 0.5% : 100,000 * (0.5/100) ได้ดอกเบี้ยเท่ากับ 500 บาท
บัญชีที่ 2 จำนวนเงินฝาก 50,000 บาท อัตราดอกเบี้ย 0.75% : 50,000 * (0.75/100) ได้ดอกเบี้ยเท่ากับ 375 บาท
บัญชีที่ 3 จำนวนเงินฝาก 10,000 บาท อัตราดอกเบี้ย 0.25% : 10,000 * (0.25/100) ได้ดอกเบี้ยเท่ากับ 25 บาท
เมื่อนำมารวมกันก็จะได้จำนวนดอกเบี้ยเท่ากับ 600 บาท
เมื่อนำมารวมกันก็จะได้จำนวนดอกเบี้ยเท่ากับ 600 บาท
หมายเหตุ : เป็นสูตรคำนวณดอกเบี้ยคร่าว ๆ โดยไม่ได้คิดคำนวณตามจำนวนวันที่ฝาก และกรณีดอกเบี้ยทบต้น
สรุปเกณฑ์ใหม่ ภาษีดอกเบี้ยเงินฝาก
เกณฑ์ใหม่ที่กรมสรรพากรประกาศออกมา คือ คนที่ได้ดอกเบี้ยรวมกันทุกธนาคารไม่เกิน 20,000 บาท จะยังคงได้รับสิทธิ์ยกเว้นภาษีเหมือนเดิม แต่ต้องยินยอมให้ธนาคารส่งข้อมูลดอกเบี้ยให้กรมสรรพากร หากไม่ยินยอมก็จะหมดสิทธิ์รับการยกเว้นภาษี
เนื่องจากที่ผ่านมามีหลายคนพยายามหลบเลี่ยงภาษี ด้วยการปิดบัญชีก่อนได้ดอกเบี้ยเกินเกณฑ์ หรือเปิดบัญชีเงินฝากไว้หลายเล่มกับธนาคารหลายแห่ง โดยไม่ได้นำยอดดอกเบี้ยที่ได้รับมาแจ้งยื่นภาษีปลายปี จึงต้องปรับเงื่อนไขยกเว้นภาษีใหม่ ให้ธนาคารส่งข้อมูลดอกเบี้ย เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ของทุกธนาคารไว้ด้วยกัน จะได้รู้เลยว่าใครได้ดอกเบี้ยรวมกันเท่าไหร่
ทำให้คนที่ได้รับผลกระทบเต็ม ๆ คือ คนที่มีเงินฝากจำนวนมาก แต่ไม่ได้ยื่นภาษีให้ถูกต้องนั่นเอง และเรื่องนี้จะไม่กระทบกับคนส่วนใหญ่ เพราะ 99% ของบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ มีเงินฝากต่ำกว่า 1 ล้านบาท หรือได้รับดอกเบี้ยไม่ถึง 20,000 บาทอยู่แล้ว
ยินยอมให้ส่งข้อมูล เพื่อรับสิทธิ์ยกเว้นภาษี ได้อย่างไร
คำตอบคือ ไม่ต้องทำอะไรเลย อยู่เฉย ๆ ไม่ต้องไปแจ้งธนาคารก็เท่ากับเรายินยอมไปโดยปริยาย โดยทางธนาคารจะเป็นผู้แจ้งความยินยอมการส่งข้อมูลดอกเบี้ยไปที่กรมสรรพากรเอง แล้วเราจะได้รับสิทธิ์ยกเว้นหักภาษี ณ ที่จ่าย 15% ตามเดิม หากได้รับดอกเบี้ยรวมกันทุกธนาคารไม่เกิน 20,000 บาท
ไม่อยากส่งข้อมูลให้กรมสรรพากร ต้องทำอย่างไร
สำหรับใครที่ไม่อยากส่งข้อมูลดอกเบี้ยของตัวเองให้กรมสรรพากร จะต้องไปดำเนินการแจ้งต่อธนาคารที่เปิดบัญชีเงินฝากไว้ทุกบัญชี ว่าไม่ต้องการให้ธนาคารส่งข้อมูลให้กรมสรรพากร
โดยผู้ที่แจ้งธนาคารจะไม่ได้รับสิทธิ์ยกเว้นภาษี และจะโดนหักภาษี ณ ที่จ่าย 15% ตั้งแต่บาทแรกของดอกเบี้ยที่ได้รับ แม้จะได้รับดอกเบี้ยไม่เกิน 20,000 บาทก็ตาม
ทั้งนี้ ถ้าดอกเบี้ยรวมไม่เกิน 20,000 บาท เรายังสามารถไปยื่นแบบขอคืนภาษีย้อนหลังได้ แต่หากดอกเบี้ยเกิน 20,000 บาท ก็จะต้องเสียภาษีดอกเบี้ย ซึ่งการแจ้งไม่ยินยอมให้ธนาคารส่งข้อมูล ผู้ฝากเงินจะต้องนำรายได้จากดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ทุกบัญชี ไปรวมกับรายได้อื่นเพื่อคำนวณเสียภาษีเงินได้ประจำปีนั้น ๆ ด้วย ซึ่งอาจเสียภาษีมากกว่า 15% ก็ได้
วิธีแจ้งไม่ยินยอมส่งข้อมูลดอกเบี้ยให้กรมสรรพากร
สำหรับการแจ้งไม่ยินยอมส่งข้อมูลดอกเบี้ย ถ้าอยากให้มีผลกับข้อมูลดอกเบี้ยของงวดครึ่งปีแรก 2562 จะต้องดำเนินการก่อนวันที่ 14 พฤษภาคม 2562 เท่านั้น เพื่อให้มีผลในรอบภาษีดอกเบี้ยจ่ายครึ่งปีแรก เนื่องจากธนาคารต้องคำนวณเพื่อจ่ายดอกเบี้ยเงินฝากในครึ่งปีแรกถึงวันที่ 15 พฤษภาคม และนำส่งกรมสรรพากรภายในวันที่ 20 พฤษภาคม
ภาพจาก กรมสรรพากร
สรุปแล้วภาษีดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ที่ประกาศออกมาใหม่นั้น ก็เพื่อจัดระบบการเก็บภาษีให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และเป็นอัตราภาษีเดิม ไม่ได้มีการเก็บเพิ่มขึ้นแต่อย่างใด ใครที่ได้รับดอกเบี้ยไม่เกิน 20,000 บาท ก็ยังได้สิทธิ์ยกเว้นภาษีเช่นเดิม ไม่ต้องไปแจ้งธนาคาร ส่วนใครที่ไม่ต้องการให้ธนาคารส่งข้อมูลให้กรมสรรพากรก็ต้องรีบแจ้งธนาคาร
หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ศูนย์สารนิเทศสรรพากร (RD Intelligence Center) โทร. 1161 หรือที่สำนักงานสรรพากรทุกแห่งทั่วประเทศ
*** อัปเดตข้อมูลล่าสุด เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2562
>> อ่านเพิ่มเติม ดอกเบี้ยเงินฝากประจํา <<
ขอขอบคุณข้อมูลจากกรมสรรพากร