มาตรการคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ผู้มีรายได้น้อยที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เป็นอย่างไร เช็กเงื่อนไขกันก่อน ต้องซื้อของที่ไหน ได้เงินภาษีคืนเท่าไหร่
ภาพจาก กรมประชาสัมพันธ์
เป็นข่าวดีอีกแล้วสำหรับผู้มีรายได้น้อยในโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ หลังจากล่าสุดรัฐบาลได้เพิ่มมาตรการช่วยเหลือลดค่าครองชีพ ด้วยการให้นำค่าใช้จ่ายจากการซื้อสินค้าผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ มาคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ได้ ส่วนจะต้องทำยังไงถึงได้เงินภาษีคืน ซื้อของเท่าไหร่ ที่ไหน กระปุกดอทคอม ได้รวบรวมรายละเอียดมาให้เแล้ว
คืนภาษีผู้มีรายได้น้อย ใครมีสิทธิ์บ้าง
ผู้ที่มีสิทธิ์ได้รับเงินคืนภาษีมูลค่าเพิ่มของโครงการนี้ จะต้องเป็นผู้มีรายได้น้อยที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ หรือบัตรคนจน จำนวน 11.4 ล้านรายทั่วประเทศเท่านั้น
ภาพจาก Workpointnews
ทำยังไงถึงจะได้คืนภาษีผู้มีรายได้น้อย
การที่ได้เงินคืนภาษีนั้น ผู้ถือบัตรคนจนจะต้องใช้บัตรรูดซื้อสินค้าและบริการผ่านร้านธงฟ้าประชารัฐ หรือร้านค้าเอกชนอื่น ๆ ที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มผ่านเครื่อง EDC ที่มีการเชื่อมต่อระบบ POS โดยเงินคืนภาษีจะคิดจากยอดรวมค่าใช้จ่ายของบัตรสวัสดิการแห่งรัฐในแต่ละเดือน โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2561 ถึงวันที่ 30 เมษายน 2562
และล่าสุดเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2562 ครม. มีมติให้ขยายเวลาการคืนภาษี VAT ออกไปอีก 1 ปี เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2562-กันยายน 2563 รวมระยะเวลา 10 เดือน
ทั้งนี้ สินค้าที่ซื้อต้องเป็นสินค้าที่เสียภาษี VAT 7% อยู่แล้ว หากซื้อสินค้าที่ไม่เก็บ VAT เช่น เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ จะไม่ได้รับการคืนเงิน
หลักเกณฑ์คืนภาษีผู้มีรายได้น้อย
มาตรการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มผู้มีรายได้น้อย จะมีการโอนเงินคืนเข้าบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ทุกวันที่ 15 ของเดือนถัดไป (คำนวณ Vat วันที่ 1-30 ของเดือน) โดยคิดจากยอดรวมใช้จ่ายซื้อสินค้าและบริการผ่านบัตร ซึ่งมีหลักเกณฑ์การคืน VAT 7% แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้
ภาพจาก เฟซบุ๊ก มทบ.31
1. จำนวน 5% จะคืนเงินให้ผู้ถือบัตร ด้วยการโอนเข้ากระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (E-Money) ในวันที่ 15 ของทุกเดือน (หากตรงกับวันหยุดจะเลื่อนเป็นวันทำการก่อนวันหยุด) เงินส่วนนี้สามารถนำบัตรคนจนไปกดเป็นเงินสดออกมาใช้ หรือรูดซื้อของตามร้านธงฟ้าฯ และร้านค้าอื่น ๆ ที่ร่วมโครงการได้
2. จำนวน 1% จะเก็บเข้าบัญชีกองทุนการออมแห่งชาติของผู้ถือบัตร เพื่อเป็นเงินออมของผู้มีรายได้น้อย หรือหากไม่มีบัญชีการออมก็จะมีการเปิดบัญชีเพื่อสะสมไว้ โดยให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่า
3. จำนวน 1% ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐต้องจ่ายภาษีเองตามปกติ
สรุปแล้วผู้ถือบัตรจะได้รับเงินภาษีคืนทั้งหมด 6% จากยอดใช้จ่ายรวม แต่จะสามารถกดเป็นเงินสดออกมาใช้ หรือรูดซื้อสินค้าต่าง ๆ ได้ 5% ส่วนที่เหลืออีก 1% จะถูกเก็บไว้เป็นเงินออม
สรุปแล้วผู้ถือบัตรจะได้รับเงินภาษีคืนทั้งหมด 6% จากยอดใช้จ่ายรวม แต่จะสามารถกดเป็นเงินสดออกมาใช้ หรือรูดซื้อสินค้าต่าง ๆ ได้ 5% ส่วนที่เหลืออีก 1% จะถูกเก็บไว้เป็นเงินออม
ภาพจาก เฟซบุ๊ก กรมประชาสัมพันธ์
ได้เงินคืนภาษีผู้มีรายได้น้อยเท่าไหร่
อย่างที่บอกไปคือไม่ใช่ว่าซื้อสินค้าเท่าไหร่ก็จะได้เงินคืนเท่านั้นเลย แต่มีกำหนดไว้ว่าเงินภาษีที่จะคืนให้ผู้มีรายได้น้อยอยู่ที่ 6% (เงินโอนเข้าบัตร 5% บวกเงินออม 1%) ซึ่งจะต้องไม่เกินเดือนละ 500 บาทต่อคน
ทั้งนี้ ถ้าผู้มีรายได้น้อยอยากได้เงินภาษีคืนสูงสุด 500 บาท จะต้องมียอดใช้จ่ายผ่านบัตรในเดือนนั้นเป็นเงิน 8,400 บาท แปลว่าเราจะต้องนำเงินสดใส่เพิ่มเข้าไปในบัตร แล้วค่อยนำไปรูดซื้อสินค้าผ่านบัตรให้ครบ
แต่ถ้าเป็นการใช้จ่ายผ่านบัตรแบบเต็มวงเงินสูงสุดที่ได้รับ โดยไม่เติมเงินสดเพิ่มเข้าไป ก็จะได้รับเงินภาษีคืนตามอัตรา ดังนี้
1. ผู้ที่ได้วงเงิน 200 บาท/เดือน (กลุ่มที่มีรายได้เกินปีละ 30,000 บาท แต่ไม่เกิน 100,000 บาท)
จะได้รับเงินภาษีคืนสูงสุดที่ 12 บาท/เดือน (200 x 6%) แบ่งเป็นเงินโอนเข้าบัตร 10 บาท และเงินออมเข้าบัญชีกองทุนการออมแห่งชาติอีก 2 บาท
2. ผู้ที่ได้วงเงิน 300 บาท/เดือน (กลุ่มที่มีรายได้ต่ำกว่าปีละ 30,000 บาท หรือกลุ่มที่มีรายได้เกินปีละ 30,000 บาท แต่ไม่เกิน 100,000 บาท ที่เข้าร่วมโครงการฝึกอาชีพ) จะได้รับเงินภาษีคืนสูงสุดที่ 18 บาท/เดือน (300 x 6%) แบ่งเป็นเงินโอนเข้าบัตร 15 บาท และเงินออมเข้าบัญชีกองทุนการออมแห่งชาติอีก 3 บาท
3. ผู้ที่ได้วงเงิน 500 บาท/เดือน (กลุ่มที่มีรายได้ต่ำกว่าปีละ 30,000 บาท ที่เข้าร่วมโครงการฝึกอาชีพ)
จะได้รับเงินภาษีคืนสูงสุดที่ 30 บาท/เดือน (500 x 6%) แบ่งเป็นเงินโอนเข้าบัตร 25 บาท และเงินออมเข้าบัญชีกองทุนการออมแห่งชาติอีก 5 บาท
น่าจะคลายข้อสงสัยกันแล้ว สำหรับมาตรการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ส่วนใครที่ต้องการทราบรายละเอียดอื่น ๆ เพิ่มเติมของโครงการนี้ ก็สามารถสอบถามได้ที่ กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง ได้เลย
จะได้รับเงินภาษีคืนสูงสุดที่ 12 บาท/เดือน (200 x 6%) แบ่งเป็นเงินโอนเข้าบัตร 10 บาท และเงินออมเข้าบัญชีกองทุนการออมแห่งชาติอีก 2 บาท
2. ผู้ที่ได้วงเงิน 300 บาท/เดือน (กลุ่มที่มีรายได้ต่ำกว่าปีละ 30,000 บาท หรือกลุ่มที่มีรายได้เกินปีละ 30,000 บาท แต่ไม่เกิน 100,000 บาท ที่เข้าร่วมโครงการฝึกอาชีพ) จะได้รับเงินภาษีคืนสูงสุดที่ 18 บาท/เดือน (300 x 6%) แบ่งเป็นเงินโอนเข้าบัตร 15 บาท และเงินออมเข้าบัญชีกองทุนการออมแห่งชาติอีก 3 บาท
3. ผู้ที่ได้วงเงิน 500 บาท/เดือน (กลุ่มที่มีรายได้ต่ำกว่าปีละ 30,000 บาท ที่เข้าร่วมโครงการฝึกอาชีพ)
จะได้รับเงินภาษีคืนสูงสุดที่ 30 บาท/เดือน (500 x 6%) แบ่งเป็นเงินโอนเข้าบัตร 25 บาท และเงินออมเข้าบัญชีกองทุนการออมแห่งชาติอีก 5 บาท
น่าจะคลายข้อสงสัยกันแล้ว สำหรับมาตรการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ส่วนใครที่ต้องการทราบรายละเอียดอื่น ๆ เพิ่มเติมของโครงการนี้ ก็สามารถสอบถามได้ที่ กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง ได้เลย
* หมายเหตุ : อัปเดตข้อมูลล่าสุดวันที่ 4 ตุลาคม 2562