ไทยกำลังขาดแคลนคนด้านดิจิทัลที่มีคุณภาพ แม้ในแต่ละปีจะมีคนจบสายไอทีจำนวนมาก แต่มีเพียง 15% ที่ทำงานตรงสาย สะท้อนปัญหาเน้นปริมาณ แต่ไร้คุณภาพ

วันที่ 15 พฤษภาคม 2561 สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ระบุว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีคนที่จบสาขาเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 5.7 แสนคน แต่กลับทำงานตรงสายอาชีพแค่ 15% เท่านั้น โดยกว่า 81% ไม่ได้ทำงานในสายไอที และอีก 3% ยังว่างงาน ขณะเดียวกันในปี 2560 มีคนจบปริญญาตรี สาขาคอมพิวเตอร์เกือบ 20,000 คน แต่ว่างงานถึง 7,000 คน จากความต้องการแรงงานด้านดิจิทัลที่มีประมาณ 14,000 คน
โดย นางสาวเสาวรัจ รัตนคำฟู นักวิชาการอาวุโส สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย กล่าวว่า ปัญหาดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงการขาดกำลังคนด้านดิจิทัลที่มีคุณภาพ แม้ในแต่ละปีจะมีคนที่จบสาขาอาชีพนี้เป็นจำนวนมากก็ตาม ซึ่งมีสาเหตุมาจากหลักสูตรสาขาคอมพิวเตอร์ที่ล้าสมัย ไม่ปรับให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง และบางหลักสูตรไม่ได้บรรจุวิชาหลักที่จำเป็นต่อวิชาชีพ จึงอยากเสนอให้ภาครัฐ ร่วมกับภาคเอกชน และสถาบันการศึกษา จัดโปรแกรมหรือหลักสูตรฝึกอบรมระยะสั้นด้านเทคโนโลยีดิจิทัลที่เกิดขึ้นใหม่ เช่น ปัญญาประดิษฐ์ (AI), Big Data และ Internet of Things ให้สอดคล้องกับความต้องการของภาคธุรกิจ
ขณะที่ รองศาสตราจารย์ ชิต เหล่าวัฒนา กรรมการคณะอนุกรรมการเร่งรัดนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษคลัสเตอร์หุ่นยนต์ กล่าวว่า รัฐบาลได้มีการจัดทำโครงการสัตหีบโมเดล เพื่อรองรับบุคลากรด้านดิจิทัลในพื้นที่โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ด้วยการพัฒนาหลักสูตรนักศึกษาอาชีวะในพื้นที่นำร่องประมาณ 6,000-7,000 คน โดยให้บริษัทเอกชนร่วมพัฒนาหลักสูตร สนับสนุนเครื่องมือ และรับเข้าทำงาน ที่อัตราเงินเดือน 15,000-20,000 บาท
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
, สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ)

ขณะที่ รองศาสตราจารย์ ชิต เหล่าวัฒนา กรรมการคณะอนุกรรมการเร่งรัดนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษคลัสเตอร์หุ่นยนต์ กล่าวว่า รัฐบาลได้มีการจัดทำโครงการสัตหีบโมเดล เพื่อรองรับบุคลากรด้านดิจิทัลในพื้นที่โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ด้วยการพัฒนาหลักสูตรนักศึกษาอาชีวะในพื้นที่นำร่องประมาณ 6,000-7,000 คน โดยให้บริษัทเอกชนร่วมพัฒนาหลักสูตร สนับสนุนเครื่องมือ และรับเข้าทำงาน ที่อัตราเงินเดือน 15,000-20,000 บาท
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
