มีผลแล้ว !! คืนสิทธิประกันสังคม ให้กับผู้ประกันตน มาตรา 39 ใครอยากกลับเข้าสู่ระบบประกันสังคม รับสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ มาเช็กรายละเอียดกันเลย
ใครบ้างที่จะได้คืนสิทธิประกันสังคม ?
สำหรับคนที่จะได้คืนสิทธิประกันสังคมนั้น จะเป็นคนที่เคยเป็นผู้ประกันตน มาตรา 39 แต่ขาดส่งเงินสมทบ 3 เดือนติดต่อกัน หรือส่งเงินไม่ครบ 9 เดือน ใน 1 ปี จนโดนตัดสิทธิไปก่อนหน้านี้ และอีกอย่างที่สำคัญเลยก็คือ ปัจจุบันจะต้องไม่ใช่ผู้ที่อยู่ในระบบประกันสังคม มาตรา 33 หรือบุคคลที่ทำงานอยู่ในระบบประกันสังคมด้วย
ตรวจสอบสิทธิคืนสภาพประกันสังคมได้ที่ไหน ?
ใครทียังไม่มั่นใจว่าตัวเองนั้น มีสิทธิคืนสภาพเป็นผู้ประกันตนหรือเปล่า ก็สามารถตรวจสอบสิทธิได้เลยตั้งแต่วันนี้ ไปจนถึงวันที่ 19 เมษายน 2562 กับ 3 ช่องทาง ดังนี้
1. สำนักงานประกันสังคม โดยได้ทั้งสำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ 12 แห่ง และสำนักงานประกันสังคมจังหวัด/สาขาทั่วประเทศ
2. สายด่วน 1506 บริการ 24 ชั่วโมง
3. เว็บไซต์ประกันสังคม
วิธีขอคืนสิทธิประกันสังคม
ในการขอคืนสิทธิเพื่อกลับเป็นผู้ประกันตน มาตรา 39 สามารถทำง่าย ๆ เพียงเตรียมบัตรประจำตัวประชาชน ไปยื่นคำขอ ณ สำนักงานประกันสังคมทั่วประเทศ หรือจะยื่นคำขอทางไปรษณีย์ก็ได้ โดยแนบแบบ สปส.1-20
ทั้งนี้ เมื่อยื่นคำขอกลับเป็นผู้ประกันเรียบร้อยแล้ว ก็สามารถส่งเงินสมทบต่อ ด้วยการเริ่มต้นใหม่ได้เลย โดยจะไม่มีการเก็บเงินย้อนหลัง ส่วนเงินก้อนเดิมที่เคยสะสมอยู่ก็สะสมต่อไป แต่อย่าขาดส่งเกิน 3 เดือน เพราะจะถูกตัดสิทธิอีกครั้งทันที
ยกตัวอย่างเช่น ถ้าผู้ประกันตนอายุยังไม่ถึง 55 ปี คือยังไม่ได้รับเงินสะสมส่วนนั้นคืน ก็ให้ส่งเงินสมทบสะสมกับของเดิมต่อไป แต่ใครที่รับเงินไปแล้วก็จะเริ่มต้นนับการเป็นผู้ประกันตน มาตรา 39 ใหม่ ส่วนคนที่ขาดส่งไปในช่วงที่อายุยังไม่เกิน 60 ปี แต่ตอนนี้อายุเกินแล้ว ก็ยังสามารถกลับเข้ามาเป็นผู้ประกันตนได้เหมือนกัน
เงินสมทบและสิทธิประโยชน์ ประกันสังคม มาตรา 39
สำหรับเงินสมทบที่ต้องส่งประกันสังคม มาตรา 39 อยู่ที่เดือนละ 432 บาท ได้รับความคุ้มครอง 6 กรณี ได้แก่
1. กรณีเจ็บป่วย
2. กรณีคลอดบุตร
3. กรณีทุพพลภาพ
4. กรณีเสียชีวิต
5. กรณีสงเคราะห์บุตร
6. กรณีชราภาพ
- เช็กสิทธิประโยชน์ ประกันสังคม มาตรา 39 มีอะไรบ้าง
ช่องทางจ่ายเงินสมทบ ประกันสังคม มาตรา 39
ผู้ประกันตน สามารถจ่ายเงินสมทบประกันสังคม มาตรา 39 ได้ผ่านช่องทางต่าง ๆ ดังนี้
1. สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา ทั่วประเทศ พร้อมแบบส่งเงินสมทบ (สปส.1-11)
2. หักจากบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ 7 ธนาคาร ได้แก่ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา, ธนาคารกรุงไทย, ธนาคารธนชาต, ธนาคารกสิกรไทย, ธนาคารไทยพาณิชย์, ธนาคารกรุงเทพ และธนาคารทหารไทย
3. จ่ายผ่านเคาน์เตอร์ธนาคารกรุงศรีอยุธยา, ธนาคารกรุงไทย และธนาคารธนชาต ทุกสาขาทั่วประเทศ
4. จ่ายผ่านเคาน์เตอร์เซอร์วิส 7-ELEVEN ทุกสาขา
5. จ่ายผ่าน Pay at Post ณ ที่ทำการไปรษณีย์
6. จ่ายผ่านเคาน์เตอร์ไปรษณีย์ได้ทุกสาขาทั่วประเทศ
7. จ่ายผ่านเคาน์เตอร์เซ็นเพย์ ของเซ็นทรัล
เรียกได้ว่าเป็นข่าวดีเลยก็ว่าได้ ที่ประกันสังคมเปิดโอกาสให้คืนสิทธิกลับมาเป็นผู้ประกันตน มาตรา 39 อีกครั้ง เพราะเงินที่เราจ่ายเข้าประกันสังคมในทุก ๆ เดือน สุดท้ายแล้วก็จะกลับมาเป็นสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ให้ในอนาคต รวมถึงยังเป็นเงินออมไว้ใช้ในยามเกษียณอีกด้วย ดังนั้น ใครที่ยังไม่ได้ไปดำเนินการ ก็อย่ารอช้า เพราะจะเปิดโอกาสให้ยื่นคำขอถึงแค่วันที่ 19 เมษายน 2562 เท่านั้นนะ
ภาพและข้อมูลจาก
สำนักงานประกันสังคม
จากกรณีที่ประกันสังคมจะดำเนินการคืนสิทธิให้กับผู้ประกันตน มาตรา 39 ที่ขาดส่งเงินติดต่อกัน 3 เดือน จนถูกตัดสิทธิประโยชน์ไป ล่าสุด พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การกลับเป็นผู้ประกันตน พ.ศ. 2561 ก็ได้ประกาศใช้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว มีผลตั้งแต่วันที่ 20 เมษายน 2561 ถึง 19 เมษายน 2562 เพราะฉะนั้น ใครที่อยากกลับเข้าสู่ระบบประกันสังคม รีบมาเช็กกันดีกว่าว่าเราจะมีสิทธิไหม แล้วมีขั้นตอนวิธีการยังไงบ้าง
ใครบ้างที่จะได้คืนสิทธิประกันสังคม ?
สำหรับคนที่จะได้คืนสิทธิประกันสังคมนั้น จะเป็นคนที่เคยเป็นผู้ประกันตน มาตรา 39 แต่ขาดส่งเงินสมทบ 3 เดือนติดต่อกัน หรือส่งเงินไม่ครบ 9 เดือน ใน 1 ปี จนโดนตัดสิทธิไปก่อนหน้านี้ และอีกอย่างที่สำคัญเลยก็คือ ปัจจุบันจะต้องไม่ใช่ผู้ที่อยู่ในระบบประกันสังคม มาตรา 33 หรือบุคคลที่ทำงานอยู่ในระบบประกันสังคมด้วย
ตรวจสอบสิทธิคืนสภาพประกันสังคมได้ที่ไหน ?
ใครทียังไม่มั่นใจว่าตัวเองนั้น มีสิทธิคืนสภาพเป็นผู้ประกันตนหรือเปล่า ก็สามารถตรวจสอบสิทธิได้เลยตั้งแต่วันนี้ ไปจนถึงวันที่ 19 เมษายน 2562 กับ 3 ช่องทาง ดังนี้
1. สำนักงานประกันสังคม โดยได้ทั้งสำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ 12 แห่ง และสำนักงานประกันสังคมจังหวัด/สาขาทั่วประเทศ
2. สายด่วน 1506 บริการ 24 ชั่วโมง
3. เว็บไซต์ประกันสังคม
ในการขอคืนสิทธิเพื่อกลับเป็นผู้ประกันตน มาตรา 39 สามารถทำง่าย ๆ เพียงเตรียมบัตรประจำตัวประชาชน ไปยื่นคำขอ ณ สำนักงานประกันสังคมทั่วประเทศ หรือจะยื่นคำขอทางไปรษณีย์ก็ได้ โดยแนบแบบ สปส.1-20
ทั้งนี้ เมื่อยื่นคำขอกลับเป็นผู้ประกันเรียบร้อยแล้ว ก็สามารถส่งเงินสมทบต่อ ด้วยการเริ่มต้นใหม่ได้เลย โดยจะไม่มีการเก็บเงินย้อนหลัง ส่วนเงินก้อนเดิมที่เคยสะสมอยู่ก็สะสมต่อไป แต่อย่าขาดส่งเกิน 3 เดือน เพราะจะถูกตัดสิทธิอีกครั้งทันที
ยกตัวอย่างเช่น ถ้าผู้ประกันตนอายุยังไม่ถึง 55 ปี คือยังไม่ได้รับเงินสะสมส่วนนั้นคืน ก็ให้ส่งเงินสมทบสะสมกับของเดิมต่อไป แต่ใครที่รับเงินไปแล้วก็จะเริ่มต้นนับการเป็นผู้ประกันตน มาตรา 39 ใหม่ ส่วนคนที่ขาดส่งไปในช่วงที่อายุยังไม่เกิน 60 ปี แต่ตอนนี้อายุเกินแล้ว ก็ยังสามารถกลับเข้ามาเป็นผู้ประกันตนได้เหมือนกัน
สำหรับเงินสมทบที่ต้องส่งประกันสังคม มาตรา 39 อยู่ที่เดือนละ 432 บาท ได้รับความคุ้มครอง 6 กรณี ได้แก่
1. กรณีเจ็บป่วย
2. กรณีคลอดบุตร
3. กรณีทุพพลภาพ
4. กรณีเสียชีวิต
5. กรณีสงเคราะห์บุตร
6. กรณีชราภาพ
- เช็กสิทธิประโยชน์ ประกันสังคม มาตรา 39 มีอะไรบ้าง
ผู้ประกันตน สามารถจ่ายเงินสมทบประกันสังคม มาตรา 39 ได้ผ่านช่องทางต่าง ๆ ดังนี้
1. สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา ทั่วประเทศ พร้อมแบบส่งเงินสมทบ (สปส.1-11)
2. หักจากบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ 7 ธนาคาร ได้แก่ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา, ธนาคารกรุงไทย, ธนาคารธนชาต, ธนาคารกสิกรไทย, ธนาคารไทยพาณิชย์, ธนาคารกรุงเทพ และธนาคารทหารไทย
3. จ่ายผ่านเคาน์เตอร์ธนาคารกรุงศรีอยุธยา, ธนาคารกรุงไทย และธนาคารธนชาต ทุกสาขาทั่วประเทศ
4. จ่ายผ่านเคาน์เตอร์เซอร์วิส 7-ELEVEN ทุกสาขา
5. จ่ายผ่าน Pay at Post ณ ที่ทำการไปรษณีย์
6. จ่ายผ่านเคาน์เตอร์ไปรษณีย์ได้ทุกสาขาทั่วประเทศ
7. จ่ายผ่านเคาน์เตอร์เซ็นเพย์ ของเซ็นทรัล
เรียกได้ว่าเป็นข่าวดีเลยก็ว่าได้ ที่ประกันสังคมเปิดโอกาสให้คืนสิทธิกลับมาเป็นผู้ประกันตน มาตรา 39 อีกครั้ง เพราะเงินที่เราจ่ายเข้าประกันสังคมในทุก ๆ เดือน สุดท้ายแล้วก็จะกลับมาเป็นสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ให้ในอนาคต รวมถึงยังเป็นเงินออมไว้ใช้ในยามเกษียณอีกด้วย ดังนั้น ใครที่ยังไม่ได้ไปดำเนินการ ก็อย่ารอช้า เพราะจะเปิดโอกาสให้ยื่นคำขอถึงแค่วันที่ 19 เมษายน 2562 เท่านั้นนะ
ภาพและข้อมูลจาก
สำนักงานประกันสังคม