วิธีสังเกตธนบัตรรูปแบบใหม่ รัชกาลที่ 10 ว่าจริงหรือปลอม ด้วย 8 วิธีง่าย ๆ ของธนาคารแห่งประเทศไทย เพียงสัมผัส ยกส่อง พลิกเอียง ก็รู้แล้วใบไหนจริง ใบไหนปลอม
สำหรับธนบัตรแบบ 17 ภาพด้านหน้าจะเป็นพระบรมสาทิสลักษณ์ของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร และด้านหลังจะเป็นพระบรมสาทิสลักษณ์ของสมเด็จพระบูรพมหากษัตริย์ในราชวงศ์จักรี โดยมีจุดสังเกตธนบัตรทั้งหมด 8 แห่ง ดังนี้
5. แถบสี
ฝังในเนื้อกระดาษ มีบางส่วนของแถบปรากฏให้เห็นเป็นระยะ และเมื่อเปลี่ยนมุมมองจะเปลี่ยนสี โดยธนบัตรชนิดราคา 100 บาทจะเห็นภาพเคลื่อนไหว ภายในแถบมีข้อความบอกชนิดราคา สามารถอ่านได้ เมื่อยกส่องกับแสงสว่าง
6. ตัวเลขแฝง
ตัวเลขแจ้งชนิดราคาซ่อนไว้ในลายประดิษฐ์ มองเห็นได้เมื่อเอียงธนบัตรเข้าหาแสงสว่าง
7. สำหรับผู้บกพร่องทางสายตา
รูปดอกไม้พิมพ์ด้วยลวดลายเส้นนูนแทนสัญลักษณ์แจ้งชนิดราคาในอักษรเบรลล์ จะรู้สึกนูนสะดุดเมื่อสัมผัสด้วยปลายนิ้วมือ
8. ลักษณะพิเศษภายใต้รังสีเหนือม่วง
ลายประดิษฐ์บริเวณตอนกลางธนบัตร ตัวเลขแจ้งชนิดราคาและหมวดเลขหมายจะเรืองแสง ปรากฏเส้นใยเรืองแสงสีเหลือง แดง และน้ำเงิน ในเนื้อกระดาษ
ทั้งนี้ ประชาชนสามารถเบิกถอนธนบัตรชนิดใหม่ได้ ณ สาขาของสถาบันการเงินที่เปิดให้บริการ หรือตู้ ATM โดยธนบัตรแบบใหม่นี้ เป็นธนบัตรที่ใช้ในระบบหมุนเวียนทั่วไป ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยจะทยอยนำออกใช้อย่างต่อเนื่องและเพียงพอต่อไป ส่วนธนบัตรแบบเดิมที่ออกใช้ก่อนหน้านี้ จะยังสามารถใช้ควบคู่กับธนบัตรแบบใหม่ได้ตามปกติ โดยไม่มีการยกเลิก
ภาพและข้อมูลจาก
ธนาคารแห่งประเทศไทย
หลังจากมีการออกใช้ธนบัตรหมุนเวียนแบบใหม่ (แบบ 17) ชนิดราคา 20 บาท 50 บาท และ 100 บาท ไปแล้วตั้งแต่วันที่ 6 เมษายน 2561 (อ่านข่าว แบงก์ชาติ เปิดตัวธนบัตรใหม่ ชนิดแรกในรัชกาลที่ 10 เริ่มใช้ 6 เม.ย. นี้) ล่าสุด ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ออกมาแนะนำประชาชนเกี่ยวกับวิธีสังเกตธนบัตร ในหลวง รัชกาลที่ 10 แบบใหม่ เพื่อเป็นแนวทางป้องกันธนบัตรปลอม
1. ลวดลายเส้นนูน
ภาพตราประจำพระองค์ฯ คำว่า "รัฐบาลไทย" ตัวอักษรและตัวเลขแจ้งชนิดราคาจะรู้สึกสะดุดเมื่อสัมผัสด้วยปลายนิ้วมือ
2. ลายน้ำ
พระบรมสาทิสลักษณ์และตัวเลขแจ้งชนิดราคามีความโปร่งแสงเป็นพิเศษ มองเห็นได้ชัดเจนทั้งสองด้านเมื่อยกส่องกับแสงสว่าง
3. ภาพซ้อนทับ
รูปพระครุฑพ่าห์ ด้านหน้าและด้านหลังพิมพ์ในตำแหน่งที่ตรงกัน เมื่อยกธนบัตรส่องกับแสงสว่างจะซ้อนทับกันสนิท
4. หมึกพิมพ์ชนิดพิเศษ
ธนบัตรชนิดราคา 100 บาท ลายดอกประดิษฐ์ จะเห็นเป็นประกายเมื่อพลิกธนบัตรไป-มา
ภาพตราประจำพระองค์ฯ คำว่า "รัฐบาลไทย" ตัวอักษรและตัวเลขแจ้งชนิดราคาจะรู้สึกสะดุดเมื่อสัมผัสด้วยปลายนิ้วมือ
2. ลายน้ำ
พระบรมสาทิสลักษณ์และตัวเลขแจ้งชนิดราคามีความโปร่งแสงเป็นพิเศษ มองเห็นได้ชัดเจนทั้งสองด้านเมื่อยกส่องกับแสงสว่าง
3. ภาพซ้อนทับ
รูปพระครุฑพ่าห์ ด้านหน้าและด้านหลังพิมพ์ในตำแหน่งที่ตรงกัน เมื่อยกธนบัตรส่องกับแสงสว่างจะซ้อนทับกันสนิท
4. หมึกพิมพ์ชนิดพิเศษ
ธนบัตรชนิดราคา 100 บาท ลายดอกประดิษฐ์ จะเห็นเป็นประกายเมื่อพลิกธนบัตรไป-มา
ฝังในเนื้อกระดาษ มีบางส่วนของแถบปรากฏให้เห็นเป็นระยะ และเมื่อเปลี่ยนมุมมองจะเปลี่ยนสี โดยธนบัตรชนิดราคา 100 บาทจะเห็นภาพเคลื่อนไหว ภายในแถบมีข้อความบอกชนิดราคา สามารถอ่านได้ เมื่อยกส่องกับแสงสว่าง
6. ตัวเลขแฝง
ตัวเลขแจ้งชนิดราคาซ่อนไว้ในลายประดิษฐ์ มองเห็นได้เมื่อเอียงธนบัตรเข้าหาแสงสว่าง
7. สำหรับผู้บกพร่องทางสายตา
รูปดอกไม้พิมพ์ด้วยลวดลายเส้นนูนแทนสัญลักษณ์แจ้งชนิดราคาในอักษรเบรลล์ จะรู้สึกนูนสะดุดเมื่อสัมผัสด้วยปลายนิ้วมือ
8. ลักษณะพิเศษภายใต้รังสีเหนือม่วง
ลายประดิษฐ์บริเวณตอนกลางธนบัตร ตัวเลขแจ้งชนิดราคาและหมวดเลขหมายจะเรืองแสง ปรากฏเส้นใยเรืองแสงสีเหลือง แดง และน้ำเงิน ในเนื้อกระดาษ
ทั้งนี้ ประชาชนสามารถเบิกถอนธนบัตรชนิดใหม่ได้ ณ สาขาของสถาบันการเงินที่เปิดให้บริการ หรือตู้ ATM โดยธนบัตรแบบใหม่นี้ เป็นธนบัตรที่ใช้ในระบบหมุนเวียนทั่วไป ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยจะทยอยนำออกใช้อย่างต่อเนื่องและเพียงพอต่อไป ส่วนธนบัตรแบบเดิมที่ออกใช้ก่อนหน้านี้ จะยังสามารถใช้ควบคู่กับธนบัตรแบบใหม่ได้ตามปกติ โดยไม่มีการยกเลิก
ภาพและข้อมูลจาก
ธนาคารแห่งประเทศไทย