ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ชี้ เป็นไปไม่ได้หากจะปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 700 บาทต่อวัน เพราะค่าแรงที่เสนอมาสูงกว่าค่าจ้างขั้นต่ำคนจบปริญญาตรีอีก
จากกรณีที่ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) พร้อมตัวแทนสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) ออกมาเรียกร้องให้มีการปรับค่าจ้างขั้นต่ำปี 2561 เป็น 600-700 บาทต่อวัน โดยให้เหตุผลว่า ค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทไม่เพียงพอต่อสถานการณ์ค่าครองชีพในปัจจุบันนั้น
อย่างไรก็ตาม การปรับค่าแรงขั้นต่ำ ต้องมีการพิจารณาร่วมกันของคณะกรรมการไตรภาคี ที่ประกอบด้วยภาครัฐ นายจ้างภาคเอกชน และตัวแทนกลุ่มผู้ใช้แรงงาน ซึ่งโดยส่วนตัวคงไม่สามารถตอบได้ว่าจะมีการปรับเพิ่มขึ้นหรือไม่ แต่ขอให้ความเห็นว่าหากต้องมีการปรับขึ้นอีกรอบจริง ๆ ก็ขอให้เป็นการเพิ่มค่าแรงเป็นรายพื้นที่หรือรายจังหวัด ไม่ใช่ปรับขึ้นอัตราเดียวกันทั้งประเทศ เพราะสภาพเศรษฐกิจแต่ละจังหวัดมีการเติบโตที่แตกต่างกัน
ขณะที่ นายสาวิทย์ แก้วหวาน ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) ซึ่งเสนอตัวเลขค่าแรงขั้นต่ำ 600-700 บาทนั้น ชี้แจงว่า ตัวเลขดังกล่าวนี้เป็นเพียงตัวเลขตามการคำนวณจากสูตรคิดเท่านั้นเพื่อเปรียบเทียบว่าค่าจ้างอัตราเท่าไร แรงงานจึงจะอยู่ได้ โดยผลสำรวจของ คสรท. เมื่อปี 2554 พบว่าค่าจ้างที่เพียงพอในปีนั้นจะอยู่ที่ 560 บาท แต่นี่ผ่านมาหลายปีแล้วตัวเลขจึงเปลี่ยนไปด้วยอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น และปัจจัยอื่น ๆ ทำให้ปัจจุบันค่าจ้างที่คน 1 คน จะสามารถเลี้ยงดูคนในครอบครัวได้อีก 2 คน จะต้องอยู่ที่ 600-700 บาท ส่วนจะได้แค่ไหนก็ต้องมาคุยกันในหลายเวที
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
สำนักข่าว INN