x close

3 กลยุทธ์วางแผนประหยัดภาษีสำหรับมนุษย์เงินเดือน

        ใช้สิทธิค่าลดหย่อนภาษีที่ไม่ใช่ตัวเงินให้เต็มที่ ก่อนใช้สิทธิเพิ่มค่าลดหย่อนที่เป็นตัวเงิน

คํานวณภาษี

        เป็นที่ทราบกันดีว่า คนไทยทุกคนที่มีรายได้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นประจำทุกปี ซึ่งบุคคลทั่วไปมักจะมีทางเลือกในการประหยัดภาษีได้ค่อนข้างน้อย ดังนั้น ก่อนการยื่นแบบภาษีในแต่ละปี จึงควรวางแผนภาษีให้มีประสิทธิภาพสูงสุด โดย K-Expert มี 3 กลยุทธ์วางแผนประหยัดภาษีมาแนะนำ ดังนี้

1. เพิ่มค่าลดหย่อนที่ไม่ใช่ตัวเงิน ได้แก่

          - คู่สมรสของผู้มีเงินได้ สามารถลดหย่อนได้เพิ่มเติม 30,000 บาท

          • หากคู่สมรสไม่มีเงินได้ จดทะเบียนสมรส และมีความเป็นสามีภรรยาเต็มปีภาษี สามารถใช้สิทธิลดหย่อนได้
          • หากคู่สมรสมีเงินได้ประจำเฉพาะ ม.40(1) เช่น เงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง โบนัส บำเหน็จ บำนาญ ควรจะยื่นภาษีแยกกัน เพื่อเป็นการเพิ่มหน่วยภาษี

          - บุตรของผู้มีเงินได้ สามารถลดหย่อนได้เพิ่มเติม 15,000 บาท ในกรณีที่

          • บุตรมีอายุอยู่ระหว่างแรกเกิดจนถึง 20 ปีในปีภาษีนั้น
          • บุตรมีอายุระหว่าง 21-25 ปีในปีภาษีนั้น และกำลังศึกษาในระดับ ปวส.ขึ้นไป
          • บุตรมีอายุ 25 ปีขึ้นไปในปีภาษีนั้น และเป็นบุคคลไร้ความสามารถ หรือ เสมือนไร้ความสามารถ

          ทั้งนี้ ในกรณีที่บุตรศึกษาในประเทศไทย ตั้งแต่ระดับอนุบาล-ปริญญาเอก สามารถลดหย่อนได้เพิ่มอีกคนละ 2,000 บาท รวมเป็นคนละ 17,000 บาท โดยสามารถใช้สิทธิลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 3 คน

          - ค่าเลี้ยงดูบิดา-มารดาของผู้มีเงินได้ สามารถลดหย่อนได้ท่านละ 30,000 บาท โดยบิดา-มารดาต้องมีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป และมีเงินได้ทั้งปีไม่เกิน 30,000 บาท ในกรณีที่มีบุตรหลายคน ให้บุตรคนใดคนหนึ่งที่มีหนังสือรับรองการอุปการะเลี้ยงดูจากบิด-ามารดา (แบบ ล.ย.03) เป็นผู้มีสิทธิหักลดหย่อนได้

          - ค่าเลี้ยงดูคนพิการและทุพพลภาพ สามารถลดหย่อนได้คนละ 60,000 บาท ทั้งนี้ หากเป็นบุตรของผู้มีเงินได้ สามารถใช้สิทธิควบคู่กับค่าลดหย่อนบุตรได้

2. เลือกรายได้ที่ได้รับการยกเว้น ได้แก่
   
          - ผู้มีเงินได้ที่อยู่ในประเทศไทย และมีอายุตั้งแต่ 65 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปในปีภาษีนั้น จะได้รับยกเว้นเงินได้เพิ่มเติมอีก 190,000 บาท โดยต้องแสดงในใบแนบเพิ่มเติมด้วย
   
          - เงินฝากออมทรัพย์ ได้รับการยกเว้นภาษีสำหรับดอกเบี้ยที่ไม่เกิน 20,000 บาท ตลอดปีภาษี ทั้งนี้ หากดอกเบี้ยเกิน 20,000 บาท จะต้องเสียภาษีตั้งแต่บาทแรก

          - เงินฝากประจำที่มีระยะเวลาฝากตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป โดยรวมกันแล้วดอกเบี้ยไม่เกิน 30,000 บาท ตลอดปีภาษี และผู้มีเงินได้ต้องมีอายุ 55 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป จะได้รับการยกเว้นภาษี

          - เงินได้จากการขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เฉพาะในส่วนของหุ้นทุน ไม่รวมหุ้นกู้ และพันธบัตรฯ จะได้รับการยกเว้นภาษี

คํานวณภาษี

3. เลือกรายได้ที่เสียภาษีในอัตราที่น้อยกว่า
  
          - ดอกเบี้ยจากเงินฝากประจำ จะถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ 15% ของดอกเบี้ยรับแล้ว ถือเป็นภาษีขั้นสุดท้าย (Final Tax) จึงสามารถเลือกนำมาคำนวณรวมเป็นเงินได้หรือไม่ก็ได้ ดังนั้น หากมีฐานเงินได้สุทธิต่อปีน้อยกว่าหรือเท่ากับ 500,000 บาท หรืออยู่ในฐานภาษีตั้งแต่ 10% ลงมา ควรนำดอกเบี้ยดังกล่าวมารวมเป็นเงินได้ เพื่อคำนวณเป็นภาษีที่จะขอคืนได้เพิ่มขึ้น    

          - เงินปันผลที่จ่ายจากการถือหุ้นในบริษัท ซึ่งถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ที่ 10% ของดอกเบี้ยรับแล้ว ถือเป็นภาษีขั้นสุดท้ายเช่นกัน สามารถเลือกนำมาคำนวณรวมเป็นเงินได้หรือไม่ก็ได้ ซึ่งปัจจัยที่ใช้ในการพิจารณาคือ กำไรที่จ่ายในอัตราภาษีนิติบุคคล เทียบกับ อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หากช่องว่างระหว่างอัตราภาษีนิติบุคคล และอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา มีความแตกต่างกันมาก ผู้ถือหุ้นหรือผู้มีเงินได้ควรนำเงินปันผลนั้นมารวมเป็นเงินได้เพื่อคำนวณภาษีเนื่องจากจะได้ภาษีคืนเพิ่มขึ้นนั่นเอง

          จากกลยุทธ์ที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่า การวางแผนภาษีเป็นเรื่องสำคัญ เนื่องจากมีสิทธิต่าง ๆ มากมายที่มีประโยชน์ทางภาษีตามกฎหมาย โดยที่ไม่ต้องเสียเงินหรือลงทุนเพิ่มเติม นอกจากนี้ ยังมีสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่มักถูกมองข้าม เช่น ดอกเบี้ยเงินฝาก และเงินปันผลที่ได้รับจากบริษัท ดังนั้น จึงควรศึกษาทำความเข้าใจสิทธิทางภาษีที่มีให้ถี่ถ้วน เพื่อประโยชน์แก่ตัวเอง และที่สำคัญ ควรเก็บเอกสารและหลักฐานการลดหย่อนภาษีต่าง ๆ ไว้ให้ดี เพื่อการวางแผนภาษีที่มีประสิทธิภาพ


K-Expert Action

          • เก็บหลักฐานการรับดอกเบี้ยหรือเงินปันผล เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการคำนวณภาษีเงินได้
          • ลองคำนวณเงินได้ก่อนยื่นภาษีจริง หากการรวมเงินได้อื่น ๆ ที่เสียภาษีหัก ณ ที่จ่าย สูงกว่าฐานภาษีที่ต้องเสีย ควรรวมเงินได้นั้นเพื่อช่วยให้เสียภาษีน้อยลง

ขอขอบคุณข้อมูลจาก



เรื่องที่คุณอาจสนใจ
3 กลยุทธ์วางแผนประหยัดภาษีสำหรับมนุษย์เงินเดือน อัปเดตล่าสุด 16 มิถุนายน 2564 เวลา 17:45:35 7,351 อ่าน
TOP