ข้อควรรู้สำหรับคนอยากมีธุรกิจส่วนตัวด้วยการเปิดแฟรนไชส์ มีอะไรต้องเข้าใจและต้องระวังบ้าง
สำหรับคนที่กำลังสนใจในธุรกิจแฟรนไชส์ K-Expert ผู้เชี่ยวชาญการให้คำปรึกษาด้านการเงิน ธนาคารกสิกรไทย มีคำแนะนำเกี่ยวกับธุรกิจลักษณะนี้มานำเสนอเพื่อประกอบการตัดสินใจ
ความน่าสนใจของธุรกิจแฟรนไชส์
จุดเด่นของธุรกิจแฟรนไชส์ คือ ธุรกิจเหล่านี้มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของคนทั่วไปแล้วระดับหนึ่ง ทำให้ผู้ซื้อธุรกิจแฟรนไชส์มาบริหาร (แฟรนไชส์ซี : Franchisee) สามารถต่อยอดทำธุรกิจได้ง่ายขึ้น โดยมีประเภทธุรกิจให้เลือกหลากหลายรูปแบบ เช่น ร้านสะดวกซื้อ ร้านอาหาร ร้านกาแฟ โรงเรียนกวดวิชา จำนวนเงินลงทุนตั้งต้นก็แตกต่างกันไปตั้งแต่หลักหมื่นไปจนถึงหลักล้านบาท ซึ่งปัจจุบันหลาย ๆ ธนาคารมักมีโครงการสินเชื่อสำหรับธุรกิจแฟรนไชส์โดยเฉพาะ ผู้สนใจจึงสามารถเข้าไปขอคำปรึกษาเรื่องเงินลงทุนธุรกิจจากธนาคารได้
เมื่อมีเงินในการเริ่มลงทุนแล้ว สิ่งที่ตามมาคือความพร้อมในการบริหารธุรกิจ ซึ่งบางคนที่เพิ่งเริ่มต้นทำธุรกิจ อาจจะมีความกังวลในข้อนี้ แต่สำหรับธุรกิจแฟรนไชส์ เจ้าของแฟรนไชส์ (แฟรนไชส์ซอ : Franchisor) มักมีการอบรมให้ความรู้ในการบริหารงานและทำธุรกิจให้กับผู้ซื้อ และอาจมีการทำโฆษณา จัดโปรโมชั่นต่าง ๆ ให้อย่างต่อเนื่อง แต่ก็ต้องแลกกับค่าใช้จ่ายในการส่งเสริมการตลาด (Marketing Fee) ที่จะต้องเสียเพิ่มเติมให้กับแฟรนไชส์ซอ
ก่อนตัดสินใจลงทุนซื้อแฟรนไชส์ ควรจะพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ และศึกษาให้รอบด้านก่อน เช่น เป็นธุรกิจประเภทที่ชอบหรือมีความสนใจหรือไม่ ยกตัวอย่าง การเลือกทำธุรกิจแฟรนไชส์ร้านกาแฟ เพราะปัจจุบันคนนิยมดื่มกาแฟกันมาก แต่ตัวเจ้าของธุรกิจเองไม่ดื่มกาแฟ กรณีแบบนี้ก็อาจจะไม่สามารถเข้าถึงความต้องการที่แท้จริงของลูกค้าได้
นอกจากนี้ธุรกิจแฟรนไชส์มักจะมีข้อกำหนดต่าง ๆ จากเจ้าของแฟรนไชส์ ไม่ว่าจะเป็นการจัดร้าน สูตรในการทำอาหารหรือเครื่องดื่ม รวมถึงวัตถุดิบที่อาจถูกกำหนดให้ซื้อโดยตรงจากแฟรนไชส์ซอ ปัจจัยเหล่านี้ทำให้ต้นทุนในการทำธุรกิจสูงขึ้นได้
อีกเรื่องหนึ่งที่ควรระวังคือ ความมั่นคงของธุรกิจแฟรนไชส์ที่เราสนใจ เพราะแม้จะสามารถบริหารงานธุรกิจแฟรนไชส์ที่ซื้อมาได้ดี แต่ถ้าบริษัทแม่ต้องปิดตัวไปก็จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อธุรกิจของเราด้วย ซึ่งการพิจารณาถึงความมั่นคงของธุรกิจนั้นอาจดูได้จากระยะเวลาการดำเนินกิจการว่าทำมานานแค่ไหน
ลองสอบถามเจ้าของแฟรนไชส์ว่าเคยเจอปัญหาหรืออุปสรรคอะไรมาบ้าง และมีวิธีแก้ปัญหานั้นอย่างไร รวมถึงหาข้อมูลจากผู้ที่ซื้อแฟรนไชส์ในธุรกิจนั้นมาบริหาร ข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้เห็นภาพได้ว่า ธุรกิจแฟรนไชส์ที่จะเลือกลงทุนมีความมั่นคงมากน้อยแค่ไหน
ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเลือกทำธุรกิจแฟรนไชส์หรือธุรกิจประเภทไหนก็ตาม ต้องอาศัยความมุ่งมั่น ตั้งใจ และหมั่นศึกษาหาข้อมูลอยู่เสมอ ก็จะช่วยให้สามารถประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจได้
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
ธุรกิจแฟรนไชส์
เป็นทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจสำหรับคนที่อยากมีธุรกิจเป็นของตัวเอง
เพราะเจ้าของแฟรนไชส์ได้วางระบบธุรกิจจนประสบความสำเร็จมาแล้วในระดับหนึ่ง
แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าผู้ซื้อแฟรนไชส์มาบริหารจะประสบความสำเร็จเหมือนกันหมด
เนื่องจากในการทำธุรกิจนั้นมีความเสี่ยงและตัวแปรที่แตกต่างกันออกไป
ความน่าสนใจของธุรกิจแฟรนไชส์
จุดเด่นของธุรกิจแฟรนไชส์ คือ ธุรกิจเหล่านี้มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของคนทั่วไปแล้วระดับหนึ่ง ทำให้ผู้ซื้อธุรกิจแฟรนไชส์มาบริหาร (แฟรนไชส์ซี : Franchisee) สามารถต่อยอดทำธุรกิจได้ง่ายขึ้น โดยมีประเภทธุรกิจให้เลือกหลากหลายรูปแบบ เช่น ร้านสะดวกซื้อ ร้านอาหาร ร้านกาแฟ โรงเรียนกวดวิชา จำนวนเงินลงทุนตั้งต้นก็แตกต่างกันไปตั้งแต่หลักหมื่นไปจนถึงหลักล้านบาท ซึ่งปัจจุบันหลาย ๆ ธนาคารมักมีโครงการสินเชื่อสำหรับธุรกิจแฟรนไชส์โดยเฉพาะ ผู้สนใจจึงสามารถเข้าไปขอคำปรึกษาเรื่องเงินลงทุนธุรกิจจากธนาคารได้
เมื่อมีเงินในการเริ่มลงทุนแล้ว สิ่งที่ตามมาคือความพร้อมในการบริหารธุรกิจ ซึ่งบางคนที่เพิ่งเริ่มต้นทำธุรกิจ อาจจะมีความกังวลในข้อนี้ แต่สำหรับธุรกิจแฟรนไชส์ เจ้าของแฟรนไชส์ (แฟรนไชส์ซอ : Franchisor) มักมีการอบรมให้ความรู้ในการบริหารงานและทำธุรกิจให้กับผู้ซื้อ และอาจมีการทำโฆษณา จัดโปรโมชั่นต่าง ๆ ให้อย่างต่อเนื่อง แต่ก็ต้องแลกกับค่าใช้จ่ายในการส่งเสริมการตลาด (Marketing Fee) ที่จะต้องเสียเพิ่มเติมให้กับแฟรนไชส์ซอ
ภาพจาก Sorbis / shutterstock.com
ข้อควรระวังในการทำธุรกิจแฟรนไชส์ก่อนตัดสินใจลงทุนซื้อแฟรนไชส์ ควรจะพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ และศึกษาให้รอบด้านก่อน เช่น เป็นธุรกิจประเภทที่ชอบหรือมีความสนใจหรือไม่ ยกตัวอย่าง การเลือกทำธุรกิจแฟรนไชส์ร้านกาแฟ เพราะปัจจุบันคนนิยมดื่มกาแฟกันมาก แต่ตัวเจ้าของธุรกิจเองไม่ดื่มกาแฟ กรณีแบบนี้ก็อาจจะไม่สามารถเข้าถึงความต้องการที่แท้จริงของลูกค้าได้
นอกจากนี้ธุรกิจแฟรนไชส์มักจะมีข้อกำหนดต่าง ๆ จากเจ้าของแฟรนไชส์ ไม่ว่าจะเป็นการจัดร้าน สูตรในการทำอาหารหรือเครื่องดื่ม รวมถึงวัตถุดิบที่อาจถูกกำหนดให้ซื้อโดยตรงจากแฟรนไชส์ซอ ปัจจัยเหล่านี้ทำให้ต้นทุนในการทำธุรกิจสูงขึ้นได้
อีกเรื่องหนึ่งที่ควรระวังคือ ความมั่นคงของธุรกิจแฟรนไชส์ที่เราสนใจ เพราะแม้จะสามารถบริหารงานธุรกิจแฟรนไชส์ที่ซื้อมาได้ดี แต่ถ้าบริษัทแม่ต้องปิดตัวไปก็จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อธุรกิจของเราด้วย ซึ่งการพิจารณาถึงความมั่นคงของธุรกิจนั้นอาจดูได้จากระยะเวลาการดำเนินกิจการว่าทำมานานแค่ไหน
ลองสอบถามเจ้าของแฟรนไชส์ว่าเคยเจอปัญหาหรืออุปสรรคอะไรมาบ้าง และมีวิธีแก้ปัญหานั้นอย่างไร รวมถึงหาข้อมูลจากผู้ที่ซื้อแฟรนไชส์ในธุรกิจนั้นมาบริหาร ข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้เห็นภาพได้ว่า ธุรกิจแฟรนไชส์ที่จะเลือกลงทุนมีความมั่นคงมากน้อยแค่ไหน
ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเลือกทำธุรกิจแฟรนไชส์หรือธุรกิจประเภทไหนก็ตาม ต้องอาศัยความมุ่งมั่น ตั้งใจ และหมั่นศึกษาหาข้อมูลอยู่เสมอ ก็จะช่วยให้สามารถประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจได้
ขอขอบคุณข้อมูลจาก