กองทุนการออมแห่งชาติ คืออะไร ต้องออมเงินเท่าไร สามารถสมัครได้อย่างไร มาทำความเข้าใจกัน
จุดประสงค์ของการก่อตั้งกองทุนการออมแห่งชาติ
กองทุนการออมแห่งชาติ เป็นนโยบายของรัฐบาลเพื่อส่งเสริมให้ผู้ที่ประกอบอาชีพอิสระหรืออยู่นอกระบบบำเหน็จบำนาญของรัฐ หรือกองทุนเอกชนที่มีนายจ้างจ่ายสมทบแล้วซึ่งคาดว่ามีอยู่กว่า 30 ล้านคน ได้ออมเงินเพื่อใช้ในยามเกษียณโดยรัฐจะช่วยจ่ายสมทบให้ส่วนหนึ่ง และเมื่อผู้ออมมีอายุครบ 60 ปี ก็จะได้รับเงินบำนาญเป็นรายเดือนตลอดชีพ ถือเป็นการสร้างหลักประกันให้กับชีวิตในยามที่ไม่มีรายได้ประจำ และเป็นส่วนหนึ่งของการลดความเหลื่อมล้ำในสังคม
งานนี้ถึงแม้จะไม่ได้ทำอาชีพที่มีกองทุนบำเหน็จบำนาญมารองรับ แต่หลังจากกองทุนนี้จัดตั้งและมีผลบังคับใช้ รับรองว่าหลายคนที่ประกอบอาชีพนอกระบบบำเหน็จบำนาญของรัฐ หรือกองทุนเอกชนที่มีนายจ้างจ่ายสมทบ ก็สามารถดีใจกันได้เลยว่าตนก็มีบำเหน็จบำนาญเช่นข้าราชการหรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ
คุณสมบัติของผู้ที่จะสมัครเข้าเป็นสมาชิกกองทุนการออมแห่งชาติ
1. เป็นผู้ที่มีสัญชาติไทย
2. อายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์ (เฉพาะในหนึ่งปีแรกที่ พ.ร.บ. มีผลบังคับใช้ อนุญาตให้ผู้ที่มีอายุเกิน 60 ปีขึ้นไป มีสิทธิ์สมัครเป็นสมาชิกได้ และกำหนดให้ผู้สมัครที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไปมีสิทธิ์ออมกับกองทุนได้ 10 ปีนับจากวันที่เป็นสมาชิก ซึ่งจะทำให้ได้รับเงินสมทบจากรัฐอย่างเต็มที่ เช่น หากอายุ 55 ปี สมัครกองทุนในปีนี้ สามารถออมได้ 10 ปี จนถึงอายุ 65 ปี)
3. ไม่อยู่ในระบบบำเหน็จบำนาญภาครัฐหรือเอกชน และไม่อยู่ในกองทุนตามกฎหมายอื่นที่ได้รับเงินสมทบจากรัฐหรือนายจ้าง เช่น กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ, กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการกรุงเทพมหานคร, กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น, กองทุนประกันสังคม (ซึ่งส่งเงินเพื่อได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ), กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และกองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน เป็นต้น
กองทุนการออมแห่งชาติ เป็นนโยบายของภาครัฐที่มุ่งเน้นส่งเสริมให้คนไทยมีนิสัยรักการออม โดยการสะสมเงินวันละเล็กวันละน้อยเพื่อให้มีบำนาญใช้ในวันข้างหน้าในยามที่เกษียณอายุการทำงานไปแล้ว กล่าวอีกนัยก็คือ กองทุนการออมแห่งชาติเปรียบเสมือนหลักประกันการดำรงชีวิตในยามแก่ชรา จะว่าไปกองทุนการออมแห่งชาติก็ช่วยส่งเสริมให้เรามีวินัยการเงินอีกทางหนึ่งเหมือนกันนะ เริ่มอยากจะรู้แล้วสิว่ารายละเอียดของกองทุนการออมแห่งชาติจะเป็นอย่างไร
กองทุนการออมแห่งชาติ คืออะไร
กองทุนการออมแห่งชาติ หรือ กอช. เป็นกองทุนการออมเพื่อวัยสูงอายุที่ให้สิทธิ์ประชาชนสัญชาติไทยเข้าเป็นสมาชิกระบบบัญชีรายบุคคล โดยกองทุนเป็นนิติบุคคล ไม่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ เพราะปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีระบบการออมเพื่อการชราภาพที่ครอบคลุมภาคแรงงานทุกประเภทได้อย่างทั่วถึง ซึ่งยังมีแรงงานส่วนใหญ่ของประเทศที่ไม่ได้รับความคุ้มครองเพื่อการชราภาพ และแรงงานเหล่านี้มีความเสี่ยงที่จะตกอยู่ในความยากจนในวัยสูงอายุ เพราะไม่มีช่องทางให้เข้าถึงเครื่องมือการออมเงินในขณะที่อยู่ในวัยทำงาน
ดังนั้นรัฐบาลจึงจัดตั้งกองทุนเพื่อเป็นช่องทางการออมขั้นพื้นฐานให้แก่ผู้ที่ยังไม่ได้รับความคุ้มครองให้ได้รับผลประโยชน์ในรูปแบบของบำนาญ อันเป็นการสร้างความเท่าเทียมและเป็นธรรมในการดูแลจากภาครัฐ
กองทุนการออมแห่งชาติ หรือ กอช. เป็นกองทุนการออมเพื่อวัยสูงอายุที่ให้สิทธิ์ประชาชนสัญชาติไทยเข้าเป็นสมาชิกระบบบัญชีรายบุคคล โดยกองทุนเป็นนิติบุคคล ไม่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ เพราะปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีระบบการออมเพื่อการชราภาพที่ครอบคลุมภาคแรงงานทุกประเภทได้อย่างทั่วถึง ซึ่งยังมีแรงงานส่วนใหญ่ของประเทศที่ไม่ได้รับความคุ้มครองเพื่อการชราภาพ และแรงงานเหล่านี้มีความเสี่ยงที่จะตกอยู่ในความยากจนในวัยสูงอายุ เพราะไม่มีช่องทางให้เข้าถึงเครื่องมือการออมเงินในขณะที่อยู่ในวัยทำงาน
ดังนั้นรัฐบาลจึงจัดตั้งกองทุนเพื่อเป็นช่องทางการออมขั้นพื้นฐานให้แก่ผู้ที่ยังไม่ได้รับความคุ้มครองให้ได้รับผลประโยชน์ในรูปแบบของบำนาญ อันเป็นการสร้างความเท่าเทียมและเป็นธรรมในการดูแลจากภาครัฐ
กองทุนการออมแห่งชาติ เป็นนโยบายของรัฐบาลเพื่อส่งเสริมให้ผู้ที่ประกอบอาชีพอิสระหรืออยู่นอกระบบบำเหน็จบำนาญของรัฐ หรือกองทุนเอกชนที่มีนายจ้างจ่ายสมทบแล้วซึ่งคาดว่ามีอยู่กว่า 30 ล้านคน ได้ออมเงินเพื่อใช้ในยามเกษียณโดยรัฐจะช่วยจ่ายสมทบให้ส่วนหนึ่ง และเมื่อผู้ออมมีอายุครบ 60 ปี ก็จะได้รับเงินบำนาญเป็นรายเดือนตลอดชีพ ถือเป็นการสร้างหลักประกันให้กับชีวิตในยามที่ไม่มีรายได้ประจำ และเป็นส่วนหนึ่งของการลดความเหลื่อมล้ำในสังคม
งานนี้ถึงแม้จะไม่ได้ทำอาชีพที่มีกองทุนบำเหน็จบำนาญมารองรับ แต่หลังจากกองทุนนี้จัดตั้งและมีผลบังคับใช้ รับรองว่าหลายคนที่ประกอบอาชีพนอกระบบบำเหน็จบำนาญของรัฐ หรือกองทุนเอกชนที่มีนายจ้างจ่ายสมทบ ก็สามารถดีใจกันได้เลยว่าตนก็มีบำเหน็จบำนาญเช่นข้าราชการหรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ
คุณสมบัติของผู้ที่จะสมัครเข้าเป็นสมาชิกกองทุนการออมแห่งชาติ
1. เป็นผู้ที่มีสัญชาติไทย
2. อายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์ (เฉพาะในหนึ่งปีแรกที่ พ.ร.บ. มีผลบังคับใช้ อนุญาตให้ผู้ที่มีอายุเกิน 60 ปีขึ้นไป มีสิทธิ์สมัครเป็นสมาชิกได้ และกำหนดให้ผู้สมัครที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไปมีสิทธิ์ออมกับกองทุนได้ 10 ปีนับจากวันที่เป็นสมาชิก ซึ่งจะทำให้ได้รับเงินสมทบจากรัฐอย่างเต็มที่ เช่น หากอายุ 55 ปี สมัครกองทุนในปีนี้ สามารถออมได้ 10 ปี จนถึงอายุ 65 ปี)
3. ไม่อยู่ในระบบบำเหน็จบำนาญภาครัฐหรือเอกชน และไม่อยู่ในกองทุนตามกฎหมายอื่นที่ได้รับเงินสมทบจากรัฐหรือนายจ้าง เช่น กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ, กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการกรุงเทพมหานคร, กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น, กองทุนประกันสังคม (ซึ่งส่งเงินเพื่อได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ), กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และกองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน เป็นต้น
(อ่านเพิ่มเติม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพคืออะไร ข้อมูลสำคัญที่ลูกจ้างควรรู้)
กองทุนการออมแห่งชาติ สมัครเข้าเป็นสมาชิกได้อย่างไร
ผู้ที่มีสิทธิ์สมัครเข้าเป็นสมาชิกกองทุนตามที่เงื่อนไขระบุไว้ สามารถสมัครสมาชิกและส่งเงินสะสมได้ที่ธนาคารออมสิน ธกส. ธอส. และธนาคารกรุงไทย ทุกสาขา รวมทั้งสำนักงานคลังจังหวัด สถาบันการเงินชุมชนที่เข้าร่วมโครงการ (ตรวจสอบรายชื่อสถาบันการเงินชุมชนที่เข้าร่วมได้ที่ www.nsf.or.th)
กองทุนการออมแห่งชาติ หลักฐานการสมัครมีอะไรบ้าง
หลักฐานการสมัครเข้าเป็นสมาชิกกองทุนการออมแห่งชาติ ใช้หลักฐานเพียงบัตรประชาชนอย่างเดียวเท่านั้น
การจ่ายเงินเข้ากองทุนการออมแห่งชาติ
หลัก ๆ มาจาก 2 ฝ่ายด้วยกัน คือ 1. สมาชิกจ่ายสะสม 2. รัฐบาลจ่ายสมทบ โดยมีอัตราดังนี้
1. สมาชิกจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนไม่ต่ำกว่าครั้งละ 50 บาท แต่เมื่อรวมกันแล้วในปีหนึ่ง ๆ ต้องไม่เกิน 13,200 บาท
2. เมื่อสมาชิกส่งเงินสะสม รัฐบาลจะจ่ายเงินสมทบให้ภายในสิ้นเดือนถัดไปตามระดับอายุของสมาชิก และเป็นอัตราส่วนกับจำนวนเงินสะสม โดยมีอัตราตามที่กำหนดในบัญชีเงินสมทบท้ายพระราชบัญญัติ และเมื่อรวมกันแล้วในปีหนึ่ง ๆ ต้องไม่เกินจำนวนเงินสมทบสูงสุดที่กำหนดโดยกฎกระทรวง ซึ่งได้กำหนดไว้ดังนี้
- 1) สมาชิกที่อายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี แต่ไม่เกิน 30 ปี ได้รับเงินสมทบร้อยละ 50 ของเงินที่สะสมเข้ากองทุน แต่ไม่เกินปีละ 600 บาท
- 2) สมาชิกที่อายุมากกว่า 30 ปี แต่ไม่เกิน 50 ปี ได้รับเงินสมทบร้อยละ 80 ของเงินที่สะสมเข้ากองทุน แต่ไม่เกินปีละ 960 บาท
- 3) สมาชิกที่อายุมากกว่า 50 ปี แต่ไม่เกิน 60 ปี ได้รับเงินสมทบร้อยละ 100 ของเงินที่สะสมเข้ากองทุน แต่ไม่เกินปีละ 1,200 บาท
โดยรัฐบาลจะค้ำประกันผลตอบแทนให้กับสมาชิก กอช. ทุกคน โดยคิดคำนวณอัตราผลประโยชน์ให้ไม่ต่ำกว่าดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 12 เดือน เฉลี่ยของธนาคารออมสิน ธกส. และธนาคารพาณิชย์ใหญ่อีก 5 แห่ง ดังนั้น สมาชิกจะมีสิทธิ์ออมได้ไม่เกินปีละ 13,200 บาท
ทั้งนี้ อัตราเงินสะสมอาจเปลี่ยนแปลงโดยคำนึงถึงสภาวะเศรษฐกิจ และจะมีการพิจารณาทบทวนการจ่ายเงินสมทบของรัฐบาลทุก 5 ปี
*การส่งเงินเข้ากองทุนการออมแห่งชาติ สมาชิกไม่จำเป็นที่ต้องส่งเงินสะสมทุกเดือน และไม่จำเป็นต้องส่งเงินจำนวนเท่ากันทุกเดือน
สมาชิก กอช. มีสิทธิ์ที่จะได้รับเงินในกรณีดังต่อไปนี้
1. อายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ ได้รับบำนาญรายเดือนตลอดชีวิต
2. ทุพพลภาพก่อนอายุครบ 60 ปี ได้รับเงินสะสมและผลประโยชน์ของเงินสะสม ส่วนเงินสมทบและผลประโยชน์ของเงินสมทบจะได้รับเมื่อมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์
3. ลาออกจากกองทุน ได้รับเงินสะสมและผลประโยชน์ของเงินสะสม
4. เสียชีวิต ได้รับเงินเท่าจำนวนเงินในบัญชีของแต่ละบุคคล
หลายคนคงได้ทราบกันไปแล้วว่า กองทุนการออมแห่งชาติ จัดตั้งขึ้นมาเพื่อส่งเสริมให้คนไทยมีนิสัยรักการออม และเพื่อเป็นหลักประกันความเป็นอยู่ยามแก่ชรา เพราะในขณะนี้ประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ อีกทั้งผู้ที่ประกอบอาชีพนอกระบบบำเหน็จบำนาญก็มีมาก ดังนั้นรัฐจึงอยากให้คนไทยมีหลักประกันในอนาคต
ส่วนใครที่อยากทราบรายละเอียดของกองทุนการออมแห่งชาติเพิ่มเติมก็สามารถเข้าไปดูได้ที่ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และหากมีข้อสงสัยสามารถเข้าไปดูรายละเอียด คำถาม – คำตอบ ที่ทาง สศค. ได้จัดทำไว้ได้ที่ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และข้อมูลเบื้องต้นสำหรับนักลงทุนหน้าใหม่ที่อยากรู้ว่า กองทุนรวมคืออะไร เพื่อนำไปต่อยอดฐานะทางการเงินในอนาคต
กองทุนการออมแห่งชาติ สมัครเข้าเป็นสมาชิกได้อย่างไร
ผู้ที่มีสิทธิ์สมัครเข้าเป็นสมาชิกกองทุนตามที่เงื่อนไขระบุไว้ สามารถสมัครสมาชิกและส่งเงินสะสมได้ที่ธนาคารออมสิน ธกส. ธอส. และธนาคารกรุงไทย ทุกสาขา รวมทั้งสำนักงานคลังจังหวัด สถาบันการเงินชุมชนที่เข้าร่วมโครงการ (ตรวจสอบรายชื่อสถาบันการเงินชุมชนที่เข้าร่วมได้ที่ www.nsf.or.th)
กองทุนการออมแห่งชาติ หลักฐานการสมัครมีอะไรบ้าง
หลักฐานการสมัครเข้าเป็นสมาชิกกองทุนการออมแห่งชาติ ใช้หลักฐานเพียงบัตรประชาชนอย่างเดียวเท่านั้น
การจ่ายเงินเข้ากองทุนการออมแห่งชาติ
หลัก ๆ มาจาก 2 ฝ่ายด้วยกัน คือ 1. สมาชิกจ่ายสะสม 2. รัฐบาลจ่ายสมทบ โดยมีอัตราดังนี้
1. สมาชิกจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนไม่ต่ำกว่าครั้งละ 50 บาท แต่เมื่อรวมกันแล้วในปีหนึ่ง ๆ ต้องไม่เกิน 13,200 บาท
2. เมื่อสมาชิกส่งเงินสะสม รัฐบาลจะจ่ายเงินสมทบให้ภายในสิ้นเดือนถัดไปตามระดับอายุของสมาชิก และเป็นอัตราส่วนกับจำนวนเงินสะสม โดยมีอัตราตามที่กำหนดในบัญชีเงินสมทบท้ายพระราชบัญญัติ และเมื่อรวมกันแล้วในปีหนึ่ง ๆ ต้องไม่เกินจำนวนเงินสมทบสูงสุดที่กำหนดโดยกฎกระทรวง ซึ่งได้กำหนดไว้ดังนี้
- 1) สมาชิกที่อายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี แต่ไม่เกิน 30 ปี ได้รับเงินสมทบร้อยละ 50 ของเงินที่สะสมเข้ากองทุน แต่ไม่เกินปีละ 600 บาท
- 2) สมาชิกที่อายุมากกว่า 30 ปี แต่ไม่เกิน 50 ปี ได้รับเงินสมทบร้อยละ 80 ของเงินที่สะสมเข้ากองทุน แต่ไม่เกินปีละ 960 บาท
- 3) สมาชิกที่อายุมากกว่า 50 ปี แต่ไม่เกิน 60 ปี ได้รับเงินสมทบร้อยละ 100 ของเงินที่สะสมเข้ากองทุน แต่ไม่เกินปีละ 1,200 บาท
โดยรัฐบาลจะค้ำประกันผลตอบแทนให้กับสมาชิก กอช. ทุกคน โดยคิดคำนวณอัตราผลประโยชน์ให้ไม่ต่ำกว่าดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 12 เดือน เฉลี่ยของธนาคารออมสิน ธกส. และธนาคารพาณิชย์ใหญ่อีก 5 แห่ง ดังนั้น สมาชิกจะมีสิทธิ์ออมได้ไม่เกินปีละ 13,200 บาท
ตารางหลักเกณฑ์การจ่ายเงินสมทบให้แก่สมาชิก กอช.
ทั้งนี้ อัตราเงินสะสมอาจเปลี่ยนแปลงโดยคำนึงถึงสภาวะเศรษฐกิจ และจะมีการพิจารณาทบทวนการจ่ายเงินสมทบของรัฐบาลทุก 5 ปี
*การส่งเงินเข้ากองทุนการออมแห่งชาติ สมาชิกไม่จำเป็นที่ต้องส่งเงินสะสมทุกเดือน และไม่จำเป็นต้องส่งเงินจำนวนเท่ากันทุกเดือน
สมาชิก กอช. มีสิทธิ์ที่จะได้รับเงินในกรณีดังต่อไปนี้
1. อายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ ได้รับบำนาญรายเดือนตลอดชีวิต
2. ทุพพลภาพก่อนอายุครบ 60 ปี ได้รับเงินสะสมและผลประโยชน์ของเงินสะสม ส่วนเงินสมทบและผลประโยชน์ของเงินสมทบจะได้รับเมื่อมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์
3. ลาออกจากกองทุน ได้รับเงินสะสมและผลประโยชน์ของเงินสะสม
4. เสียชีวิต ได้รับเงินเท่าจำนวนเงินในบัญชีของแต่ละบุคคล
หลายคนคงได้ทราบกันไปแล้วว่า กองทุนการออมแห่งชาติ จัดตั้งขึ้นมาเพื่อส่งเสริมให้คนไทยมีนิสัยรักการออม และเพื่อเป็นหลักประกันความเป็นอยู่ยามแก่ชรา เพราะในขณะนี้ประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ อีกทั้งผู้ที่ประกอบอาชีพนอกระบบบำเหน็จบำนาญก็มีมาก ดังนั้นรัฐจึงอยากให้คนไทยมีหลักประกันในอนาคต
ส่วนใครที่อยากทราบรายละเอียดของกองทุนการออมแห่งชาติเพิ่มเติมก็สามารถเข้าไปดูได้ที่ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และหากมีข้อสงสัยสามารถเข้าไปดูรายละเอียด คำถาม – คำตอบ ที่ทาง สศค. ได้จัดทำไว้ได้ที่ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และข้อมูลเบื้องต้นสำหรับนักลงทุนหน้าใหม่ที่อยากรู้ว่า กองทุนรวมคืออะไร เพื่อนำไปต่อยอดฐานะทางการเงินในอนาคต
ข้อมูลจาก