IMF คืออะไร มีที่มาและที่ไปอย่างไร กลไกการทำงานของไอเอ็มเอฟอยู่ในรูปแบบไหน และทำไมถึงมีบทบาทสำคัญต่อหลายประเทศ เรามาทำความรู้จักกับ IMF ไปพร้อม ๆ กัน
IMF คืออะไร ตั้งขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ใด
IMF ย่อมาจาก International Monetary Fund หรือแปลเป็นภาษาไทยว่า กองทุนการเงินระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในฐานะกองทุนการเงิน ก่อตั้งเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2487 โดยแนวคิดการก่อตั้ง IMF มาจากที่ประชุมว่าด้วยเรื่องการเงินและการคลังแห่งสหประชาชาติ หรือ United Nations Monetary and Financial Conference ณ เมืองเบรตตันวูดส์ รัฐนิวแฮมเชียร์ ประเทศสหรัฐอเมริกา หรือที่รู้จักกันในนาม การประชุมเบรตตัน วูดส์ (Bretton Woods Conference)
โดย 44 ชาติในที่ประชุมเห็นพ้องต้องกันที่จะสร้างกรอบความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจเพื่อที่จะหลีกเลี่ยงความซ้ำซ้อนของการแข่งขันด้านการลดค่าเงิน ซึ่งมีส่วนช่วยกู้วิกฤตสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ หรือที่เรียกว่า Great Depression ที่เกิดขึ้นในช่วง ค.ศ. 1930 นอกจากนี้ IMF ยังมีหน้าที่สนับสนุนความร่วมมือทางด้านการเงินระหว่างประเทศ, เสริมสร้างเสถียรภาพในอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ, สนับสนุนการจัดตั้งระบบการชำระเงินระหว่างประเทศ และให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ประเทศสมาชิกที่ประสบปัญหาดุลการชำระเงิน
สำหรับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ (Great Depression) ในช่วงนั้น เกิดขึ้นโดยเริ่มต้นที่ประเทศสหรัฐอเมริกา จากเหตุการณ์หุ้นตกอย่างรุนแรงในตลาดหุ้น Wall Street เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม ปี 1929 และยังตกต่อเนื่องอีกหลายครั้ง จนมาหนักที่สุดในวันอังคารที่ 29 ตุลาคม 1929 จึงเรียกวันนั้นว่า Black Tuesday หรือ วันอังคารสีดำ ส่งผลให้ดัชนีอุตสาหกรรมดาวโจนส์ตกลงกว่า 50% ภายในเวลาไม่ถึง 2 เดือน ทำให้นักลงทุนและนักเก็งกำไรในตลาดหุ้นขาดทุนอย่างหนัก จนถึงขั้นล้มละลายกันไปหลายราย ฟองสบู่เศรษฐกิจที่สะสมมาหลายปีจึงแตกออก ตามมาด้วยภาวะแห้งแล้งในปี 1930 สร้างความเสียหายต่อพืชผลทางการเกษตร จนทำให้ภาวะเศรษฐกิจจริงก็เกิดภาวะถดถอย
หนำซ้ำยังถูกซ้ำเติมด้วยการดำเนินนโยบายการเงินที่ตึงตัวของธนาคารกลางทั่วโลก, การล้มละลายของธนาคารพาณิชย์ 744 แห่งในสหรัฐฯ ภายในเพียง 10 เดือนแรกของปี 1930 (ตลอดทศวรรษที่ 30 นั้นมีธนาคารพาณิชย์ในสหรัฐฯ ต้องปิดกิจการลงกว่า 9,000 แห่ง), การค้าระหว่างประเทศที่หดตัวจากการตั้งกำแพงภาษีการค้าระหว่างกัน ส่งผลให้ในสหรัฐฯ มีคนตกงานในปี 1932 สูงถึง 34 ล้านคนจากประชากรทั้งหมดราว 122 ล้านคน, รายได้ต่อประชากรลดลง 40%, มีคนถูกไล่ออกจากบ้านกว่า 273,000 ครอบครัว และมีคนอเมริกันกว่า 60% ถูกจัดว่าเป็นคนจนตามดัชนีชี้วัดของรัฐบาลกลางในขณะนั้น
แหล่งเงินทุน IMF มาจากไหน กับความรับผิดชอบอันยิ่งใหญ่
IMF มีบทบาทหน้าที่หลักในการดูแลเศรษฐกิจ ให้ความช่วยเหลือทางการเงิน และให้ความช่วยเหลือทางวิชาการแก่ประเทศสมาชิก เพื่อให้ระบบการเงินระหว่างประเทศมีเสถียรภาพ แต่ส่วนใหญ่ที่เราเห็นจากข่าวจะเป็นการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ปประเทศสมาชิกที่ประสบปัญหาดุลการชำระเงิน (ชำระหนี้ไม่ไหว) เพื่อช่วยฟื้นฟูเสถียรภาพและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจผ่านโครงการกู้เงินประเภทต่าง ๆ ซึ่งประเทศที่ขอความช่วยเหลือจะต้องดำเนินนโยบายหรือมาตรการต่าง ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาดุลการชำระเงินตามที่กำหนดในจดหมายแสดงเจตจำนง
ทั้งนี้เงินทุนของโครงการเงินกู้ของ IMF ได้มาจากการชำระเงินค่าโควตาของประเทศสมาชิกเป็นสำคัญ ดังนั้น ความสามารถในการให้กู้ของ IMF จึงกำหนดโดยโควตารวมของประเทศสมาชิกเป็นหลัก อย่างไรก็ตาม IMF สามารถกู้ยืมจากประเทศที่มีฐานะทางการเงินแข็งแกร่งจำนวนหนึ่งได้ภายใต้ความตกลงให้กู้แก่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ
ส่วนที่บอกว่า "โควตา" นั้น หมายถึงเมื่อมีประเทศใดก็ตามเข้าร่วมเป็นสมาชิกของ IMF ประเทศนั้นจะได้รับการจัดสรรโควตาสกุลสิทธิพิเศษถอนเงิน หรือ SDR ตามขนาดของเศรษฐกิจและความสำคัญของประเทศสมาชิกนั้น ๆ เทียบกับเศรษฐกิจโลก ซึ่งโควตามีบทบาทสำคัญในการกำหนดสิทธิและวงเงินกู้ของประเทศสมาชิก พูดง่าย ๆ ก็คือ ประเทศสมาชิก IMF จะได้รับคะแนนเสียงพื้นฐานเท่ากันเป็นจำนวน 250 คะแนน และจะเพิ่มอีก 1 คะแนนเสียงต่อโควตา 100,000 SDR
SDR (Special Drawing Right) คือ ทรัพย์สินสำรองระหว่างประเทศที่ IMF สร้างขึ้น เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนเงินสกุลดอลลาร์ในระบบเศรษฐกิจโลก ซึ่งมูลค่าของ SDR จะถูกคำนวณจากค่าเฉลี่ยตะกร้าเงินของเงินตรา 4 สกุลหลักของโลก ประกอบไปด้วย ดอลลาร์สหรัฐ, เยน ของญี่ปุ่น, ยูโร ของสหภาพยุโรป และปอนด์ ของอังกฤษ โดยการคำนวณมูลค่าของ SDR จะมีการคำนวณใหม่ทุก ๆ 5 ปีเพื่อให้แน่ใจว่าเงินแต่ละสกุลได้สะท้อนมูลค่าที่ถูกต้อง
ปัจจุบันจากข้อมูลของเว็บไซต์ IMF เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2561 เงิน 1 ดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับ 0.72 SDR และจากข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2561 เงิน 1 ดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับ 33.254 บาท (อ้างอิงจาก bot.or.th)
IMF มีจำนวนประเทศสมาชิกกี่ประเทศ
ในปี 2488 (1 ปีถัดจากการก่อตั้ง IMF) IMF มีสมาชิกเพียง 29 ประเทศ แต่ในปัจจุบัน (2561) IMF ก็มีสมาชิกเพิ่มจาก 29 ประเทศ เป็น 189 ประเทศ (รายชื่อประเทศสมาชิก IMF) ทั้งนี้การที่จะเป็นสมาชิกกองทุนการเงินระหว่างประเทศได้ จะต้องมีสถานะเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ (UN) ก่อน
IMF กับบทบาทที่มีต่อประเทศไทย
วันที่ 3 พฤษภาคม 2492 ประเทศไทย ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF ในลำดับที่ 44 โดยมีธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นตัวแทนของประเทศไทยในกองทุนการเงินฯ ตาม พ.ร.บ.ให้อำนาจปฏิบัติการเกี่ยวกับกองทุนการเงินและธนาคารระหว่างประเทศ พ.ศ. 2494 ปัจจุบันประเทศไทยมีโควตาเท่ากับ 1,440.5 ล้าน SDR หรือร้อยละ 0.60 ของจำนวนโควตาทั้งหมด เทียบเท่ากับ 15,143 คะแนนเสียง (อ้างอิงจาก imf.org)
ประเทศไทยเคยได้รับความช่วยเหลือทางการเงินจาก IMF ภายใต้โครงการเงินกู้ Stand-by3 รวมทั้งสิ้น 5 ครั้ง เป็นวงเงินรวมทั้งสิ้น 4,431 ล้าน SDR หรือประมาณ 209,806 ล้านบาท ดังนี้
- ครั้งแรก เมื่อเดือนกรกฎาคม ปี 2521 จำนวน 45.25 ล้าน SDR (ประมาณ 2,143 ล้านบาท)
- ครั้งที่ 2 เมื่อเดือนมิถุนายน ปี 2524 จำนวน 814.5 ล้าน SDR ประมาณ 38,566 ล้านบาท (เบิกถอนจริงจำนวน 345 ล้าน SDR หรือประมาณ 16,336 ล้านบาท)
- ครั้งที่ 3 เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2525 จำนวน 271.5 ล้าน SDR หรือประมาณ 12,855 ล้านบาท
- ครั้งที่ 4 เมื่อเดือนมิถุนายน 2528 จำนวน 400 ล้าน SDR ประมาณ 18,915 ล้านบาท (แต่เบิกจริงจำนวน 260 ล้าน SDR หรือประมาณ 12,310 ล้านบาท)
- และครั้งล่าสุดเมื่อเดือนกรกฎาคม 2546 จำนวน 2,900 ล้าน SDR ประมาณ 137,314 ล้านบาท (แต่เบิกจริงจำนวน 2,500 ล้าน SDR หรือประมาณ 118,374 ล้านบาท)
สำหรับโครงการ Stand-by นั้น เป็นโครงการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือประเทศสมาชิกที่ประสบปัญหาดุลการชำระเงินระยะสั้น และเป็นโครงการเงินกู้ที่ประเทศสมาชิกเข้าร่วมมากที่สุด โดยมีระยะเวลาการกู้ยืม 12–24 เดือน และระยะเวลาชำระคืน 2 ปี 3 เดือน จนถึง 4 ปี มีอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติมสำหรับวงเงินกู้ที่สูง
จากหนี้สินทั้งหมดที่ประเทศไทยได้กู้ยืมมาจาก IMF ประเทศไทยได้ทำการชำระคืนเงินกู้เสร็จสิ้นทั้งหมดเมื่อเดือนสิงหาคมปี 2546 โดยเป็นการชำระคืนก่อนกำหนดถึง 2 ปี ทำให้ปัจจุบันประเทศไทยไม่มีหนี้ค้างชำระกับ IMF แล้ว พร้อมกันนี้ไทยยังได้เข้าร่วมภาคีความตกลงให้กู้แก่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ซึ่งหมายความว่า ประเทศไทยอาจให้ IMF กู้ยืมเงินได้ในจำนวนไม่เกิน 340 ล้าน SDR ในกรณีที่ IMF ขาดสภาพคล่องทางการเงิน
***หมายเหตุ : อัปเดตข้อมูลล่าสุด วันที่ 14 สิงหาคม 2561
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
ธนาคารแห่งประเทศไทย, กองทุนการเงินระหว่างประเทศ
ภาพจาก Kristi Blokhin / Shutterstock.com
เมื่อประเทศต่าง ๆ ในโลกเกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจ
เรามักได้ยินข่าวว่า หนึ่งในวิธีแก้ปัญหาของประเทศเหล่านั้นคือการกู้เงินจาก IMF
ซึ่งประเทศไทยก็เคยเป็นลูกหนี้ IMF ตลอดจนกรณีที่ประเทศกรีซ ผิดนัดชำระหนี้จำนวน 1,500 ล้านยูโร เมื่อปี 2558
ซึ่งเป็นจำนวนหนี้ที่มากที่สุดในประวัติศาสตร์ของ IMF รวมถึงทำให้กรีซเป็นประเทศพัฒนาแล้วประเทศแรกที่ผิดนัดชำระหนี้ต่อ IMF
จากข่าวที่ได้ยินกันมาบ่อย ๆ หลายคนคงเริ่มสงสัยว่า IMF คือใครมาจากไหน ทำไมถึงมีเงินให้กู้มากมาย เงินเหล่านั้นมาจากที่ใด วันนี้กระะปุกดอทคอม มีคำตอบมาฝากกันครับ
ภาพจาก imf.org
IMF ย่อมาจาก International Monetary Fund หรือแปลเป็นภาษาไทยว่า กองทุนการเงินระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในฐานะกองทุนการเงิน ก่อตั้งเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2487 โดยแนวคิดการก่อตั้ง IMF มาจากที่ประชุมว่าด้วยเรื่องการเงินและการคลังแห่งสหประชาชาติ หรือ United Nations Monetary and Financial Conference ณ เมืองเบรตตันวูดส์ รัฐนิวแฮมเชียร์ ประเทศสหรัฐอเมริกา หรือที่รู้จักกันในนาม การประชุมเบรตตัน วูดส์ (Bretton Woods Conference)
โดย 44 ชาติในที่ประชุมเห็นพ้องต้องกันที่จะสร้างกรอบความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจเพื่อที่จะหลีกเลี่ยงความซ้ำซ้อนของการแข่งขันด้านการลดค่าเงิน ซึ่งมีส่วนช่วยกู้วิกฤตสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ หรือที่เรียกว่า Great Depression ที่เกิดขึ้นในช่วง ค.ศ. 1930 นอกจากนี้ IMF ยังมีหน้าที่สนับสนุนความร่วมมือทางด้านการเงินระหว่างประเทศ, เสริมสร้างเสถียรภาพในอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ, สนับสนุนการจัดตั้งระบบการชำระเงินระหว่างประเทศ และให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ประเทศสมาชิกที่ประสบปัญหาดุลการชำระเงิน
สำหรับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ (Great Depression) ในช่วงนั้น เกิดขึ้นโดยเริ่มต้นที่ประเทศสหรัฐอเมริกา จากเหตุการณ์หุ้นตกอย่างรุนแรงในตลาดหุ้น Wall Street เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม ปี 1929 และยังตกต่อเนื่องอีกหลายครั้ง จนมาหนักที่สุดในวันอังคารที่ 29 ตุลาคม 1929 จึงเรียกวันนั้นว่า Black Tuesday หรือ วันอังคารสีดำ ส่งผลให้ดัชนีอุตสาหกรรมดาวโจนส์ตกลงกว่า 50% ภายในเวลาไม่ถึง 2 เดือน ทำให้นักลงทุนและนักเก็งกำไรในตลาดหุ้นขาดทุนอย่างหนัก จนถึงขั้นล้มละลายกันไปหลายราย ฟองสบู่เศรษฐกิจที่สะสมมาหลายปีจึงแตกออก ตามมาด้วยภาวะแห้งแล้งในปี 1930 สร้างความเสียหายต่อพืชผลทางการเกษตร จนทำให้ภาวะเศรษฐกิจจริงก็เกิดภาวะถดถอย
หนำซ้ำยังถูกซ้ำเติมด้วยการดำเนินนโยบายการเงินที่ตึงตัวของธนาคารกลางทั่วโลก, การล้มละลายของธนาคารพาณิชย์ 744 แห่งในสหรัฐฯ ภายในเพียง 10 เดือนแรกของปี 1930 (ตลอดทศวรรษที่ 30 นั้นมีธนาคารพาณิชย์ในสหรัฐฯ ต้องปิดกิจการลงกว่า 9,000 แห่ง), การค้าระหว่างประเทศที่หดตัวจากการตั้งกำแพงภาษีการค้าระหว่างกัน ส่งผลให้ในสหรัฐฯ มีคนตกงานในปี 1932 สูงถึง 34 ล้านคนจากประชากรทั้งหมดราว 122 ล้านคน, รายได้ต่อประชากรลดลง 40%, มีคนถูกไล่ออกจากบ้านกว่า 273,000 ครอบครัว และมีคนอเมริกันกว่า 60% ถูกจัดว่าเป็นคนจนตามดัชนีชี้วัดของรัฐบาลกลางในขณะนั้น
แหล่งเงินทุน IMF มาจากไหน กับความรับผิดชอบอันยิ่งใหญ่
IMF มีบทบาทหน้าที่หลักในการดูแลเศรษฐกิจ ให้ความช่วยเหลือทางการเงิน และให้ความช่วยเหลือทางวิชาการแก่ประเทศสมาชิก เพื่อให้ระบบการเงินระหว่างประเทศมีเสถียรภาพ แต่ส่วนใหญ่ที่เราเห็นจากข่าวจะเป็นการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ปประเทศสมาชิกที่ประสบปัญหาดุลการชำระเงิน (ชำระหนี้ไม่ไหว) เพื่อช่วยฟื้นฟูเสถียรภาพและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจผ่านโครงการกู้เงินประเภทต่าง ๆ ซึ่งประเทศที่ขอความช่วยเหลือจะต้องดำเนินนโยบายหรือมาตรการต่าง ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาดุลการชำระเงินตามที่กำหนดในจดหมายแสดงเจตจำนง
ทั้งนี้เงินทุนของโครงการเงินกู้ของ IMF ได้มาจากการชำระเงินค่าโควตาของประเทศสมาชิกเป็นสำคัญ ดังนั้น ความสามารถในการให้กู้ของ IMF จึงกำหนดโดยโควตารวมของประเทศสมาชิกเป็นหลัก อย่างไรก็ตาม IMF สามารถกู้ยืมจากประเทศที่มีฐานะทางการเงินแข็งแกร่งจำนวนหนึ่งได้ภายใต้ความตกลงให้กู้แก่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ
ส่วนที่บอกว่า "โควตา" นั้น หมายถึงเมื่อมีประเทศใดก็ตามเข้าร่วมเป็นสมาชิกของ IMF ประเทศนั้นจะได้รับการจัดสรรโควตาสกุลสิทธิพิเศษถอนเงิน หรือ SDR ตามขนาดของเศรษฐกิจและความสำคัญของประเทศสมาชิกนั้น ๆ เทียบกับเศรษฐกิจโลก ซึ่งโควตามีบทบาทสำคัญในการกำหนดสิทธิและวงเงินกู้ของประเทศสมาชิก พูดง่าย ๆ ก็คือ ประเทศสมาชิก IMF จะได้รับคะแนนเสียงพื้นฐานเท่ากันเป็นจำนวน 250 คะแนน และจะเพิ่มอีก 1 คะแนนเสียงต่อโควตา 100,000 SDR
SDR (Special Drawing Right) คือ ทรัพย์สินสำรองระหว่างประเทศที่ IMF สร้างขึ้น เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนเงินสกุลดอลลาร์ในระบบเศรษฐกิจโลก ซึ่งมูลค่าของ SDR จะถูกคำนวณจากค่าเฉลี่ยตะกร้าเงินของเงินตรา 4 สกุลหลักของโลก ประกอบไปด้วย ดอลลาร์สหรัฐ, เยน ของญี่ปุ่น, ยูโร ของสหภาพยุโรป และปอนด์ ของอังกฤษ โดยการคำนวณมูลค่าของ SDR จะมีการคำนวณใหม่ทุก ๆ 5 ปีเพื่อให้แน่ใจว่าเงินแต่ละสกุลได้สะท้อนมูลค่าที่ถูกต้อง
ปัจจุบันจากข้อมูลของเว็บไซต์ IMF เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2561 เงิน 1 ดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับ 0.72 SDR และจากข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2561 เงิน 1 ดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับ 33.254 บาท (อ้างอิงจาก bot.or.th)
IMF มีจำนวนประเทศสมาชิกกี่ประเทศ
ในปี 2488 (1 ปีถัดจากการก่อตั้ง IMF) IMF มีสมาชิกเพียง 29 ประเทศ แต่ในปัจจุบัน (2561) IMF ก็มีสมาชิกเพิ่มจาก 29 ประเทศ เป็น 189 ประเทศ (รายชื่อประเทศสมาชิก IMF) ทั้งนี้การที่จะเป็นสมาชิกกองทุนการเงินระหว่างประเทศได้ จะต้องมีสถานะเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ (UN) ก่อน
IMF กับบทบาทที่มีต่อประเทศไทย
วันที่ 3 พฤษภาคม 2492 ประเทศไทย ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF ในลำดับที่ 44 โดยมีธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นตัวแทนของประเทศไทยในกองทุนการเงินฯ ตาม พ.ร.บ.ให้อำนาจปฏิบัติการเกี่ยวกับกองทุนการเงินและธนาคารระหว่างประเทศ พ.ศ. 2494 ปัจจุบันประเทศไทยมีโควตาเท่ากับ 1,440.5 ล้าน SDR หรือร้อยละ 0.60 ของจำนวนโควตาทั้งหมด เทียบเท่ากับ 15,143 คะแนนเสียง (อ้างอิงจาก imf.org)
ประเทศไทยเคยได้รับความช่วยเหลือทางการเงินจาก IMF ภายใต้โครงการเงินกู้ Stand-by3 รวมทั้งสิ้น 5 ครั้ง เป็นวงเงินรวมทั้งสิ้น 4,431 ล้าน SDR หรือประมาณ 209,806 ล้านบาท ดังนี้
- ครั้งแรก เมื่อเดือนกรกฎาคม ปี 2521 จำนวน 45.25 ล้าน SDR (ประมาณ 2,143 ล้านบาท)
- ครั้งที่ 2 เมื่อเดือนมิถุนายน ปี 2524 จำนวน 814.5 ล้าน SDR ประมาณ 38,566 ล้านบาท (เบิกถอนจริงจำนวน 345 ล้าน SDR หรือประมาณ 16,336 ล้านบาท)
- ครั้งที่ 3 เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2525 จำนวน 271.5 ล้าน SDR หรือประมาณ 12,855 ล้านบาท
- ครั้งที่ 4 เมื่อเดือนมิถุนายน 2528 จำนวน 400 ล้าน SDR ประมาณ 18,915 ล้านบาท (แต่เบิกจริงจำนวน 260 ล้าน SDR หรือประมาณ 12,310 ล้านบาท)
- และครั้งล่าสุดเมื่อเดือนกรกฎาคม 2546 จำนวน 2,900 ล้าน SDR ประมาณ 137,314 ล้านบาท (แต่เบิกจริงจำนวน 2,500 ล้าน SDR หรือประมาณ 118,374 ล้านบาท)
สำหรับโครงการ Stand-by นั้น เป็นโครงการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือประเทศสมาชิกที่ประสบปัญหาดุลการชำระเงินระยะสั้น และเป็นโครงการเงินกู้ที่ประเทศสมาชิกเข้าร่วมมากที่สุด โดยมีระยะเวลาการกู้ยืม 12–24 เดือน และระยะเวลาชำระคืน 2 ปี 3 เดือน จนถึง 4 ปี มีอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติมสำหรับวงเงินกู้ที่สูง
จากหนี้สินทั้งหมดที่ประเทศไทยได้กู้ยืมมาจาก IMF ประเทศไทยได้ทำการชำระคืนเงินกู้เสร็จสิ้นทั้งหมดเมื่อเดือนสิงหาคมปี 2546 โดยเป็นการชำระคืนก่อนกำหนดถึง 2 ปี ทำให้ปัจจุบันประเทศไทยไม่มีหนี้ค้างชำระกับ IMF แล้ว พร้อมกันนี้ไทยยังได้เข้าร่วมภาคีความตกลงให้กู้แก่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ซึ่งหมายความว่า ประเทศไทยอาจให้ IMF กู้ยืมเงินได้ในจำนวนไม่เกิน 340 ล้าน SDR ในกรณีที่ IMF ขาดสภาพคล่องทางการเงิน
***หมายเหตุ : อัปเดตข้อมูลล่าสุด วันที่ 14 สิงหาคม 2561
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
ธนาคารแห่งประเทศไทย, กองทุนการเงินระหว่างประเทศ