
ภาษีบ้านและที่ดินสำหรับอยู่อาศัย กลายเป็นประเด็นถกเถียงในสังคมวงกว้าง มีทั้งคนที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย เพราะมีข่าว พ.ร.บ.การจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ออกมาให้เห็นบ่อย ๆ ในช่วงนี้ แต่สำหรับคนที่ยังไม่เคยรู้และไม่เข้าใจว่า ภาษีบ้านและที่ดิน ที่เขาพูด ๆ กันคืออะไร วันนี้กระปุกดอทคอมจะมาไขความกระจ่างแบบง่าย ๆ ให้เข้าใจกันค่ะ
ภาษีบ้าน
คือการจัดเก็บภาษีแบบใหม่ที่ถูกร่างขึ้น โดยตั้งใจจะนำมาใช้แทน พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 และ พ.ร.บ.ภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ. 2508 เนื่องจากของเดิมอาจมีการเหลื่อมล้ำเกิดขึ้นทำให้จัดเก็บได้น้อย ซึ่งแต่เดิมที่ดินมูลค่าสูงกลับเสียภาษีในราคาต่ำ แต่ที่ดินราคาถูกกลับจ่ายภาษีแพงกว่า โดยของเดิมแบ่งรายละเอียดในการจัดเก็บดังนี้


จึงมีการร่าง พ.ร.บ.การจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ขึ้นมาใหม่และเตรียมพิจารณา เพื่อเรียกเก็บภาษีเป็นรายปีของบ้านที่อยู่อาศัยทุกหลัง โดยมีการยกเว้นเฉพาะบ้านที่ราคาต่ำกว่า 1 ล้านบาทลงไป ส่วนรายละเอียดของการจัดเก็บมีดังนี้ ..



ตัวอย่างการเสียภาษีบ้าน
ราคาประเมินบ้าน | เสียภาษี | ค่าภาษีต่อปี |
บ้านราคาไม่เกิน 1,000,000 บาท | ไม่เสีย | 0 บาท |
บ้านราคา 1,000,001 - 3,000,000 บาท | 50% | 1,250 - 5,000 บาท |
บ้านราคา 3,000,001 บาทขึ้นไป | 100% | 10,000 บาทขึ้นไป |
*หมายเหตุ : เป็นการคำนวณโดยประมาณ และยังไม่ได้มีการประกาศใช้จริง
ภาษีที่ดิน
ส่วนที่ดินสำหรับอยู่อาศัยก็มีการปรับลดภาษีเป็นบางประเภท ให้จัดเก็บไม่เกิน 0.5% ของราคาประเมิน ซึ่งลดลงจากเดิมครึ่งหนึ่ง (เดิมเก็บ 1%) และมีการเรียกเก็บภาษีเพิ่มด้วย ดังนี้..




ในส่วนของข้อ 4 คือการเรียกเก็บภาษีที่ดินซึ่งเพิ่มเข้ามา ทำให้คนที่ถือที่ดินไว้ในครอบครองถึงแม้จะเป็นที่ดินเปล่าไม่ได้ใช้งาน แต่ก็ต้องเสียภาษีรายปีด้วยเช่นกัน