ดอกเบี้ยบัตรเครดิต คิดยังไง มาดูวิธีคำนวณเมื่อจ่ายขั้นต่ำ

          ดอกเบี้ยบัตรเครดิต เรื่องสำคัญที่คนใช้บัตรเครดิตต้องรู้ว่าคำนวณอย่างไร จะได้ไม่ช้อปเพลินแล้วเป็นหนี้ตามมาทีหลัง

บัตรเครดิต

           บัตรเครดิต เป็นตัวช่วยทางการเงินที่มีติดกระเป๋ากันแทบทุกคนในยุคนี้ แต่สิ่งที่ต้องระวังมากที่สุดก็คือ หากจ่ายไม่ทันกำหนด หรือมีการแบ่งจ่าย จะถูกคิดดอกเบี้ยตามมา และยิ่งจ่ายขั้นต่ำมากเท่าไร ดอกเบี้ยจะพอกเป็นหางหมู จนสุดท้ายก็ตกอยู่ในวังวน "หนี้บัตรเครดิต" ทบไปไม่รู้จบ ดังนั้นลองศึกษาวิธีดอกเบี้ยบัตรเครดิตกันหน่อย จะได้ยับยั้งชั่งใจก่อนหยิบบัตรเครดิตขึ้นมารูดซื้อสินค้าครั้งต่อไป

ดอกเบี้ยบัตรเครดิต เกิดขึ้นได้อย่างไร ?

          ถ้าเราใช้จ่ายด้วยบัตรเครดิตแล้วชำระเงินเต็มจำนวนตรงเวลา จะไม่ต้องเสียดอกเบี้ยเลย เพราะดอกเบี้ยจะเกิดขึ้นใน 2 กรณีต่อไปนี้

1. ชำระคืนค่าสินค้าหรือบริการขั้นต่ำ หรือบางส่วน (Interest on Revolving Credit)

          นั่นก็คือ การที่เราชำระเงินไม่เต็มจำนวน เลือกชำระขั้นต่ำ หรือการทยอยผ่อนชำระที่ไม่ได้อยู่ภายใต้เงื่อนไขปลอดดอกเบี้ย หรือดอกเบี้ย 0%

2. เบิกเงินสดล่วงหน้า (Interest on Cash Advance)

          กรณีต้องการใช้เงินด่วนแล้วกดเงินสดจากวงเงินบัตรเครดิตที่เราได้รับ เงินส่วนนี้จะถูกคิดดอกเบี้ยทันที

ดอกเบี้ยบัตรเครดิต คิดเท่าไร ?

          เพดานอัตราดอกเบี้ยบัตรเครดิตสูงสุด เดิมอยู่ที่ 20% ต่อปี ก่อนที่ธนาคารแห่งประเทศไทยจะปรับลดเพดานลงให้เหลือไม่เกิน 18% ต่อปี

          อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่ลูกหนี้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ธนาคารแห่งประเทศไทยก็ได้ออกมาตรการช่วยเหลือเพิ่มเติม โดยให้ปรับเพดานดอกเบี้ยบัตรเครดิตจาก 18% เป็น 16% มีผลตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2563 เป็นต้นไป

          นอกจากนี้ยังมีการเปลี่ยนแปลงจำนวนเงินที่ให้ชำระขั้นต่ำ จากเดิม 10% เป็น
          - 5% ในปี 2563-2564
          - 8% ในปี 2565
          - 10% ตั้งแต่ปี 2566 เป็นต้นไป

          แต่หากเป็นการเบิกเงินสดล่วงหน้าจะมีค่าธรรมเนียมการกดอีกไม่เกิน 3% ของจำนวนเงินสดที่เบิกถอน

**วิธีคิดดอกเบี้ยบัตรเครดิต กรณีจ่ายขั้นต่ำ**

          เมื่อจ่ายขั้นต่ำ จะแยกคำนวณดอกเบี้ยออกเป็น 3 ส่วน คือ

          ส่วนที่ 1 : คิดจากค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นทั้งหมด (แยกทีละรายการ) ในวันบันทึกรายการ จนถึงวันสรุปยอดบัญชีครั้งที่ 1
         
          ส่วนที่ 2 : คิดจากค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นทั้งหมด ในวันถัดจากวันที่สรุปยอด จนถึง 1 วันก่อนชำระขั้นต่ำ

          ส่วนที่ 3 : คิดจากยอดคงค้างที่ยังไม่ได้ชำระ ตั้งแต่วันที่ชำระขั้นต่ำ จนถึงวันสรุปยอดบัญชีถัดไป  

ตัวอย่างเช่น

          ในรอบบิลวันที่ 6 สิงหาคม - 5 กันยายน ได้ใช้บัตรเครดิต B รูดซื้อสินค้า 2 รายการ ดังนี้
             - วันที่ 24 สิงหาคม ซื้อสินค้า 8,000 บาท ระบบบันทึกรายการวันที่ 26 สิงหาคม
             - วันที่ 1 กันยายน ซื้อสินค้า 2,000 บาท ระบบบันทึกรายการวันที่ 1 กันยายน

         * วันสรุปยอดบิล คือ วันที่ 5 กันยายน และมีกำหนดชำระเงินวันที่ 25 กันยายน
         * อัตราดอกเบี้ย 16% ต่อปี

          หากเราชำระ 10,000 บาท ในวันที่ 25 กันยายน จะไม่ถูกคิดดอกเบี้ยในรอบบิลถัดไป (วันที่ 5 ตุลาคม)

          แต่ถ้าวันที่ 25 กันยายน เราเลือกชำระขั้นต่ำ 10% คือ จ่ายเพียง 1,000 บาท ยอดค่าใช้จ่ายทั้งหมดจะถูกคิดดอกเบี้ยในรอบบิลวันที่ 5 ตุลาคม ดังนี้


ส่วนที่ 1 : คิดจากยอดค่าใช้จ่ายทั้งหมด นับตั้งแต่วันที่บันทึกรายการ (แยกทีละรายการ) จนถึงวันสรุปยอด (5 กันยายน) โดยใช้สูตร

ดอกเบี้ยบัตรเครดิต
 
          ดังนั้น จะคิดดอกเบี้ยแต่ละรายการได้ ดังนี้

ดอกเบี้ยบัตรเครดิต


ส่วนที่ 2 : คิดจากค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นทั้งหมด (10,000 บาท) ในวันถัดจากวันที่สรุปยอด (วันที่ 6 กันยายน) จนถึง 1 วันก่อนชำระขั้นต่ำ (24 กันยายน)

ดอกเบี้ยบัตรเครดิต

          จึงคำนวณดอกเบี้ยส่วนที่ 2 ได้ดังนี้

ดอกเบี้ยบัตรเครดิต

          หากวันที่ 25 กันยายน ชำระขั้นต่ำไป 1,000 บาท จะมียอดเงินคงเหลือค้างชำระอีก 9,000 บาท ซึ่งจะถูกคิดดอกเบี้ย (ส่วนที่ 3) และต้องชำระในรอบบิลถัดไปคือ วันที่ 5 ตุลาคม


ส่วนที่ 3 : คิดจากยอดคงค้างที่ยังไม่ได้ชำระ ตั้งแต่วันที่ชำระขั้นต่ำ (25 กันยายน) จนถึงวันสรุปยอดบัญชีถัดไป (5 ตุลาคม)

ดอกเบี้ยบัตรเครดิต

          จึงคำนวณดอกเบี้ยส่วนที่ 3 ได้ดังนี้

 ดอกเบี้ยบัตรเครดิต

          เมื่อรวมดอกเบี้ยทั้ง 3 ส่วน เท่ากับว่าหากมียอดใช้จ่าย 10,000 บาท และเลือกชำระ 10% คือ 1,000 บาท จะต้องเสียดอกเบี้ยรวม 169.642 บาท ในวันที่ 25 ตุลาคม ซึ่งเป็นวันครบกำหนดชำระ

ดอกเบี้ยบัตรเครดิต
          หากในวันที่ 25 ตุลาคม เราชำระเงินคงค้างและดอกเบี้ยครบทั้งหมด ดอกเบี้ยจะถูกหยุดคิดทันที แต่ถ้าในวันที่ 25 ตุลาคม ยังเลือกชำระขั้นต่ำต่อไปอีก ก็จะต้องวนกลับมาคิดดอกเบี้ยใหม่ไปเรื่อย ๆ


**วิธีคิดดอกเบี้ยบัตรเครดิต กรณีเบิกเงินสดล่วงหน้า**



          จะเห็นว่าการใช้บัตรเครดิตรูดซื้อสินค้าในรอบบิล 6 สิงหาคม - 5 กันยายน และเลือกชำระขั้นต่ำ เราจะไม่ได้จ่ายดอกเบี้ยทันทีในวันที่ 25 กันยายน แต่ต้องไปจ่ายในรอบบิลถัดไป คือครบกำหนดชำระวันที่ 25 ตุลาคม

          ตรงข้ามกับการเบิกเงินสดล่วงหน้าที่จะต้องดอกเบี้ยในรอบบิลนั้นทันที ตัวอย่างเช่น

          - กดเงินสดจากบัตรเครดิต C จำนวน 10,000 บาท ในวันที่ 27 มีนาคม
          - วันสรุปยอดบัญชีตรงกับวันที่ 20 ของทุกเดือน
          - วันครบกำหนดชำระเงินตรงกับวันที่ 10 ของทุกเดือน
          - อัตราดอกเบี้ย 16%
          - ค่าธรรมเนียมการเบิกถอนเงินสดล่วงหน้า 3%

          คำนวณดอกเบี้ยได้ดังนี้

          ดอกเบี้ยส่วนที่ 1 : คิดตั้งแต่วันที่เบิกถอนเงินสด (27 มีนาคม) จนถึงวันสรุปยอดบัญชีครั้งที่ 1 (20 เมษายน)

          ดอกเบี้ยส่วนที่ 2 : คิดตั้งแต่วันถัดจากวันสรุปยอดบัญชีครั้งที่ 1 (21 เมษายน) จนถึงวันก่อนครบกำหนดชำระ (9 พฤษภาคม)

ดอกเบี้ยบัตรเครดิต

          - ถ้าเราชำระเต็มจำนวนก็จะเสียดอกเบี้ยรวมค่าธรรมเนียม 492.88 บาท

          - แต่หากวันที่ 10 พฤษภาคม เราเลือกจ่ายขั้นต่ำ จะถูกคิดดอกเบี้ยส่วนที่ 3 เพิ่ม คือนำยอดเงินคงเหลือค้างจ่ายมาคิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่ 10 พฤษภาคม จนถึงวันสรุปยอดบัญชีถัดไป เป็นแบบนี้จนกว่าจะชำระครบทั้งหมด


          ทั้งนี้ เงื่อนไขการคิดดอกเบี้ยบัตรเครดิตของแต่ละผู้ให้บริการอาจมีรายละเอียดที่แตกต่างกัน แนะนำให้ตรวจสอบด้านหลังใบแจ้งยอดค่าใช้จ่ายบัตรเครดิตที่ได้รับทุกเดือน ซึ่งจะมีรายละเอียดและวิธีคิดดอกเบี้ยบอกอย่างชัดเจน
 


* หมายเหตุ : อัปเดตข้อมูลล่าสุดวันที่ 17 ธันวาคม 2563


เรื่องที่คุณอาจสนใจ
ดอกเบี้ยบัตรเครดิต คิดยังไง มาดูวิธีคำนวณเมื่อจ่ายขั้นต่ำ อัปเดตล่าสุด 28 มกราคม 2564 เวลา 11:52:04 257,979 อ่าน
TOP
x close