
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ภาษีที่ดิน เรื่องที่เจ้าของที่ดินควรรู้และทำความเข้าใจในการถือครองที่ดิน ทั้ง ภาษีบำรุงท้องที่, ภาษีโรงเรือนและที่ดิน รวมถึงภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
การมีที่ดินไว้ในครอบครอง นอกเหนือจากถือครองแล้ว ยังมีข้อควรรู้เกี่ยวกับ ภาษีที่ดิน ซึ่งเจ้าของที่ดินควรรู้และทำความเข้าใจ ซึ่งภาษีที่เกี่ยวข้องกับที่ดินมีอยู่หลายประเภท เช่น ภาษีบำรุงท้องที่, ภาษีโรงเรือนและที่ดิน รวมถึงภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งในปัจจุบันมีการเรียกจัดเก็บเพียงภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเท่านั้น และยกเลิกการจัดเก็บภาษีที่ดินแบบเดิม เนื่องจากมีความไม่สอดคล้องกันเกิดขึ้น ซึ่งก่อนจะไปเตรียมตัวเสียภาษีที่ดิน มาทำความรู้จักกับประเภทต่าง ๆ กันก่อนดีกว่าค่ะ
ภาษีบำรุงท้องที่
คือ ภาษีที่จัดเก็บตามราคาปานกลางของที่ดิน โดยเรียกเก็บจากที่ดินทุกประเภท ไม่ว่าจะมีการใช้พื้นที่ทำอะไรอยู่ก็ตาม แต่จะมีที่ดินบางประเภทที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีกรณีนี้

1. ที่ดินที่เป็นที่ตั้งพระราชวังอันเป็นส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
2. ที่ดินที่เป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดินหรือที่ดินของรัฐที่ใช้โดยมิได้หาผลประโยชน์
3. ที่ดินของราชการส่วนท้องถิ่นที่ใช้ในกิจการของราชการส่วนท้องถิ่นหรือสาธารณะโดยมิได้หาผลประโยชน์
4. ที่ดินที่ใช้เฉพาะการพยาบาลสาธารณะ การศึกษา หรือการกุศลสาธารณะ
5. ที่ดินที่ใช้เฉพาะศาสนกิจศาสนาใดศาสนาหนึ่ง ที่ดินที่เป็นกรรมสิทธิ์ของวัดไม่ว่าจะใช้ประกอบ ศาสนกิจศาสนาใดศาสนาหนึ่งหรือไม่ หรือที่ศาลเจ้าโดยมิได้หาผลประโยชน์
6. ที่ดินที่ใช้เป็นสุสานและฌาปนสถานสาธารณะ โดยมิได้รับประโยชน์ตอบแทน
7. ที่ดินที่ใช้ในการรถไฟ การประปา การไฟฟ้า หรือการท่าเรือของรัฐ หรือที่ใช้เป็นสนามบินของรัฐ
8. ที่ดินที่ใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือนที่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินอยู่แล้ว
9. ที่ดินของเอกชนเฉพาะส่วนที่เจ้าของที่ดินยินยอมให้ทางราชการจัดใช้เพื่อสาธารณประโยชน์ โดยเจ้าของที่ดินมิได้ใช้หรือหาผลประโยชน์ในที่ดินเฉพาะส่วนนั้น
10. ที่ดินที่เป็นที่ตั้งที่ทำการขององค์การสหประชาชาติ ทบวงการชำนัญพิเศษของสหประชาชาติ หรือ องค์การระหว่างประเทศอื่น ในเมื่อประเทศไทยมีข้อผูกพันให้ยกเว้นตามอนุสัญญาหรือความตกลง
11. ที่ดินที่เป็นที่ตั้งที่ทำการของสถานทูต หรือสถานกงสุล ทั้งนี้ให้เป็นไปตามหลักถ้อยทีถ้อยปฏิบัติต่อกัน
12. ที่ดินตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

เจ้าของที่ดินผู้ต้องเสียภาษี ต้องไปยื่นแบบแสดงรายการ (ภ.บ.ท.5) ทุก ๆ 4 ปี เริ่มตั้งแต่ 1 มกราคม-30 เมษายน ของทุกปี ที่สำนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตที่ตั้งอยู่ แต่หากมีการเปลี่ยนแปลงเจ้าของที่ดิน เช่น ซื้อที่ดินใหม่ หรือโอนเปลี่ยนเจ้าของ ต้องยื่นแบบแสดงรายการที่ดินภายใน 30 วัน นับจากวันที่มีการเปลี่ยนแปลง





คือราคาปานกลางของที่ดิน ซึ่งถูกกำหนดโดยคณะกรรมการที่แต่งตั้งขึ้น โดยปกติให้เสียภาษีตามบัญชีอัตราภาษีบำรุงท้องที่ท้ายพระราชบัญญัติ หากเป็นที่ดินใช้ประกอบกสิกรรมปลูกไม้ล้มลุกให้เสียแค่กึ่งอัตรา หากเจ้าของที่ดินประกอบกสิกรรมไม้ล้มลุกด้วยตัวเองให้เสียสูงสุดไม่เกินไร่ละ 5 บาท และหากเป็นที่ดินเปล่าไม่ได้ใช้ประโยชน์ให้เสียเพิ่มขึ้นอีก 1 เท่า












ผู้เสียภาษีจะต้องเสียค่าปรับอีกร้อยละ 10 จากจำนวนเงินค่าภาษี และหากไม่ชำระตามกำหนด จะต้องเสียค่าปรับร้อยละ 2 ต่อเดือนจากจำนวนเงินค่าภาษี

ยื่นแบบ (ภ.บ.ท.5) ภายในวันที่ 1 มกราคม-30 เมษายน ทุก ๆ 4 ปี







หากค่าภาษีที่ต้องชำระมีจำนวนมากกว่า 3,000 บาทขึ้นไป ผู้เสียภาษีสามารถขอผ่อนชำระออกเป็น 3 งวดเท่า ๆ กันได้ โดยต้องแจ้งให้พนักงานทราบก่อนครบกำหนดการชำระภาษี และให้ชำระงวดแรกก่อนครบกำหนด งวดที่สองภายใน 1 เดือนนับจากงวดแรก และงวดที่สามภายใน 1 เดือนนับจากงวดที่ 2
ภาษีโรงเรือนและที่ดิน
เป็นภาษีที่ถูกจัดเก็บจากโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างอื่น ๆ เช่น บ้าน, ตึกแถว, อาคาร, ร้านค้า, สำนักงาน, บริษัท, ธนาคาร, โรงแรม, โรงภาพยนตร์, โรงพยาบาล, โรงเรียน, แฟลต, อพาร์ทเม้นท์, คอนโดมิเนียม, หอพัก, สนามม้า, สนามมวย, คลังสินค้า, เรือนแพ และสิ่งปลูกสร้างอื่นที่ติดกับที่ดินแบบถาวร เช่น ท่าเรือ, สะพาน, อ่างเก็บน้ำ และรวมถึงบริเวณที่ต่อเนื่องกับที่ดินด้วย

1. พระราชวังอันเป็นส่วนของแผ่นดิน
2. ทรัพย์สินของรัฐบาลที่ใช้ในกิจการของรัฐบาลหรือสาธารณะ และทรัพย์สินของการรถไฟแห่งประเทศไทยที่ใช้ในกิจการรถไฟโดยตรง
3. ทรัพย์สินของโรงพยาบาลสาธารณะและโรงเรียนสาธารณะ ซึ่งกระทำกิจการอันมิใช่เพื่อเป็นผลกำไรส่วนบุคคล และใช้เฉพาะในการรักษาพยาบาลและในการศึกษา
4. ทรัพย์สินซึ่งเป็นศาสนสมบัติอันใช้เฉพาะในศาสนกิจอย่างเดียว หรือเป็นที่อยู่ของสงฆ์
5. โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ซึ่งปิดไว้ตลอดปีไม่มีคนอยู่ นอกจากคนเฝ้าในโรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น หรือในที่ดินซึ่งใช้ต่อเนื่องกัน
6. โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างของการเคหะแห่งชาติที่ผู้เช่าซื้ออาศัยอยู่เองโดยมิได้ใช้เป็นที่เก็บสินค้าหรือประกอบการอุตสาหกรรม หรือประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้ ยกเว้นพื้นที่อ่างเก็บน้ำ เขื่อนต่าง ๆ ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต ซึ่งเป็นที่ต่อเนื่อง

เจ้าของที่ดินผู้ต้องเสียภาษี ให้ยื่นแบบ (ภ.ร.ด.2) โดยสามารถขอแบบได้ที่สำนักงานเขตซึ่งที่ดินนั้นตั้งอยู่ โดยต้องกรอกข้อมูลและลงลายชื่อให้เรียบร้อย จากนั้นส่งคืนที่สำนักงานเขตด้วยตัวเอง หรือจะส่งไปรษณีย์ก็ได้ โดยจะนับวันที่ส่งไปรษณีย์เป็นวันยื่นแบบ และให้ยื่นแบบได้ไม่เกินเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี

ฐานภาษี เป็นค่ารายปีจากจำนวนเงินที่ทรัพย์สินนั้นสมควรให้เช่าได้ในแต่ละปี โดยให้เทียบเคียงกับทรัพย์สินให้เช่าซึ่งมีขนาดพื้นที่ และทำเลที่ตั้ง ใกล้เคียงกัน ส่วนอัตราภาษีคิดเป็น ร้อยละ 12.5 ของค่ารายปี

ภาษีโรงเรือนและที่ดิน สามารถขอลดหย่อน, ยกเว้น, ปลดภาษี, และลดภาษี ได้ จากกรณีต่อไปนี้


























จะมีการส่งใบแจ้งรายการประเมิน (ภ.ร.ด.8) ให้ชำระเงินภายใน 30 วัน นับจากวันที่ได้รับ และสามารถนำไปชำระเงินได้ที่สำนักงานเขตซึ่งที่ดินนั้นตั้งอยู่ หรือกองการเงิน กระทรวงการคลัง ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร หรือส่งธนาณัติและเช็คจากธนาคารก็ได้ โดยถือวันที่ส่งเป็นวันชำระภาษี

หากจำนวนเงินค่าภาษีตั้งแต่ 9,000 บาทขึ้นไป ผู้เสียภาษีสามารถขอผ่อนชำระภาษีได้ 3 งวด โดยให้แจ้งต่อพนักงานภายใน 30 วัน นับจากวันที่ได้รับใบแจ้งประเมิน ซึ่งต้องยื่นแบบภายในเดือนกุมภาพันธ์ปีนั้น ๆ ด้วย

หากมีการชำระภาษีล่าช้าจากวันที่กำหนด จะมีการคิดค่าปรับตามเกณฑ์ ดังนี้
1. หากชำระหลังวันที่กำหนดไม่เกิน 1 เดือน เสียค่าปรับ ร้อยละ 2.5 ของค่าภาษี
2. หากเกิน 1 เดือน แต่ไม่เกิน 2 เดือน เสียค่าปรับ ร้อยละ 5 ของค่าภาษี
3. หากเกิน 2 เดือน แต่ไม่เกิน 3 เดือน เสียค่าปรับ ร้อยละ 7.5 ของค่าภาษี
4. หากเกิน 3 เดือน แต่ไม่เกิน 4 เดือน เสียค่าปรับ ร้อยละ 10 ของค่าภาษี
5. หากเกิน 4 เดือนขึ้นไป อาจถูกคำสั่งยึดทรัพย์ อายัดทรัพย์ หรือขายทอดตลาด
6. หากมีการเปลี่ยนเจ้าของและยังไม่ได้ชำระภาษี ให้ถือว่าเจ้าของเก่าและเจ้าของใหม่ต้องเสียภาษีร่วมกัน
ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
แต่เดิมกฎหมายการจัดเก็บภาษี มีการแบ่งออกเป็น 2 ประเภทด้วยกัน คือ “ภาษีบำรุงท้องที่” กับ “ภาษีโรงเรือนและที่ดิน” ซึ่งกฎหมายทั้ง 2 ฉบับมีความไม่สอดคล้องกันในการจัดเก็บ และไม่เหมาะสมกับสภาวการณ์ในปัจจุบัน จึงได้มีการออกกฎหมาย “ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง” มาทดแทน โดยใช้วิธีประเมินจากมูลค่าทั้งหมดของที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง และให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทำหน้าที่จัดเก็บและดำเนินการต่าง ๆ

1. ทรัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
2. ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ที่ไม่ได้ใช้หาผลประโยชน์
3. ทรัพย์สินของรัฐซึ่งใช้ในกิจการของรัฐหรือสาธารณะ โดยไม่ได้ใช้หาผลประโยชน์
4. ทรัพย์สินที่เป็นขององค์กรสหประชาชาติ หรือองค์กรระหว่างประเทศอื่น ๆ ซึ่งมีข้อผูกพันยกเว้นภาษีตามอนุสัญญา
5. ทรัพย์สินที่เป็นของสถานทูต หรือสถานกงสุลของต่างประเทศ โดยให้เป็นไปตามหลักถ้อยทีถ้อยอาศัย
6. ทรัพย์สินของสภากาชาดไทย
7. ทรัพย์สินที่เป็นศาสนสมบัติ ที่ใช้ในการประกอบกิจทางศาสนา หรือเป็นที่อยู่ของนักบวชไม่ว่าศาสนาใด โดยไม่ได้ใช้หาผลประโยชน์
8. ทรัพย์สินที่ใช้เป็นสุสาน หรือฌาปนสถานสาธารณะ โดยไม่ได้รับประโยชน์ตอบแทน
9. ทรัพย์สินของเอกชนหรือรัฐวิสาหกิจ เฉพาะส่วนที่ยินยอมให้ราชการหรือประชาชนใช้ประโยชน์
10. ทรัพย์สินตามกำหนดในพระราชกฤษฎีกา

หากที่ดินไม่มีสิ่งปลูกสร้างให้ใช้ราคาประเมินที่ดินเป็นฐานภาษี หากมีสิ่งปลูกสร้างให้คิดรวมกัน ส่วนห้องชุดให้ใช้ราคาประเมินทุนทรัพย์ห้องชุด โดยอัตราภาษีทั่วไปสำหรับที่ดินและสิ่งปลูกสร้างคิดเป็นไม่เกินร้อยละ 0.5 ของฐานภาษี หากเป็นที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเพื่ออยู่อาศัยโดยไม่ใช่เชิงพาณิชย์ คิดไม่เกินร้อยละ 0.1 ของฐานภาษี สำหรับที่ดินเกษตรกรรมคิดไม่เกิน ร้อยละ 0.05 โดยต้องชำระทุก ๆ 4 ปี ภายในเดือนเมษายน







เจ้าหน้าที่จะส่งแบบภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้ภายในเดือนมกราคมของปีที่ต้องชำระภาษี จากนั้นกรอกข้อมูลให้ครบแล้วนำแบบไปยื่นภายในเดือนเมษายน โดยจะมีการเรียกเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างทุก ๆ 4 ปี









และนี่คือข้อมูลคร่าว ๆ เกี่ยวกับภาษีที่ดินซึ่งเป็นเรื่องใกล้ตัวสำหรับคนที่มีที่ดินไว้ในครอบครอง แต่อาจจะยังไม่ทราบวิธีการเสียภาษีที่ดินให้ถูกต้อง ซึ่งรายละเอียดดังกล่าวควรตรวจสอบกับเจ้าหน้าที่ในเขตซึ่งที่ดินตั้งอยู่อีกครั้ง เพื่อความครบถ้วนและความชัดเจนในการเตรียมตัวเสียภาษีค่ะ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
account.friend.co.th, account.friend.co.th, fpo.go.th, nmt.or.th