บอร์ดแพทย์ ประกันสังคม เคาะเพิ่มสิทธิทันตกรรม จ่ายผ่าฟันคุด 2,500 บาท แยกจ่ายจากค่าทำฟัน 900 บาท รักษาได้ทุกที่ แต่ส่วนเกินต้องจ่ายเอง ชงเสนอบอร์ดใหญ่ ส.ค. นี้
วันที่ 15 กรกฎาคม 2568 เดลินิวส์ รายงานว่า นพ.สุรเดช วลีอิทธิกุล ประธานกรรมการคณะกรรมการการแพทย์ กองทุนประกันสังคม เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการการแพทย์ ที่สำนักงานประกันสังคม (สปส.) ระบุว่า ที่ประชุมได้พิจารณาเห็นชอบให้ปรับสิทธิประโยชน์กรณีทันตกรรมเพิ่มเติม โดยให้แยกสิทธิในการผ่าฟันคุด ออกจากสิทธิ์ทันตกรรมปีละ 900 บาท
พร้อมกำหนดอัตราการจ่ายค่าผ่าฟันคุดใหม่ เป็น 2 กรณี โดยอิงตามอัตราจ่ายของกรมบัญชีกลาง คือ
1. กรณีผ่าฟันคุดแบบง่าย อัตราการจ่ายอยู่ที่ 1,500 บาท
2. การผ่าฟันคุดแบบยาก (มีการกรอกระดูกด้วย) อัตราการจ่ายอยู่ที่ 2,500 บาท
นอกจากนี้จะปรับเพิ่มจ่ายค่าตรวจสุขภาพช่องปากให้กับสถานพยาบาลด้วย แต่ทางสถานพยาบาลต้องมีการจัดทำข้อมูลสุขภาพช่องปากของผู้ประกันตน และส่งให้ สปส. ว่ามีการตรวจอะไร เบิกจ่ายอะไรบ้าง ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ประกันตนทราบว่าตัวเองมีปัญหาสุขภาพในช่องปาก และจำเป็นจะต้องไปรักษาในสถานพยาบาลอื่น ๆ อย่างไรต่อไป
สำหรับสิทธิทันตกรรม 900 บาทต่อปี มีการพิจารณาว่า หากผู้ประกันตนมีความจำเป็นต้องรักษาทางทันตกรรม แล้วมีค่าใช้จ่ายสูงกว่านี้ จะแบ่งเป็น 2 กรณี คือ
- รักษาที่โรงพยาบาลรัฐ สำนักงานประกันสังคมจะตามไปจ่ายค่ารักษาให้ โดยไม่ได้กำหนดเพดานว่าต้องไม่เกินเท่าไหร่ เพราะจะจ่ายให้ตามเรตค่ารักษาของโรงพยาบาลรัฐ
- รักษาที่สถานพยาบาลเอกชน ยังจ่ายให้ในอัตรา 900 บาท ส่วนที่เกินจากนี้ ผู้ประกันตนต้องจ่ายเอง
ทั้งนี้ จะทำให้ผู้ประกันตนได้รับการรักษาที่จำเป็น โดยขณะนี้อยู่ระหว่างศึกษาว่าคิวของโรงพยาบาลรัฐนั้นยาวแค่ไหน เพื่อให้ผู้ประกันตนได้รับสิทธิและเข้าถึงบริการโดยสะดวก
สามารถใช้บริการที่ไหนก็ได้ เพียงแค่หากค่าใช้จ่ายเกินอัตราที่ตั้งไว้ ผู้ประกันตนก็ต้องจ่ายเพิ่มส่วนต่าง
ทางบอร์ดการแพทย์อนุมัติแล้ว คาดว่าประมาณเดือนสิงหาคม ก็พร้อมที่จะเสนอเข้าคณะกรรมการประกันสังคม (บอร์ด สปส.) เพื่อพิจารณา และหากเห็นชอบก็จะมีขั้นตอนทางกฎหมายอีกนิดหน่อย
ขอบคุณข้อมูลจาก เดลินิวส์

วันที่ 15 กรกฎาคม 2568 เดลินิวส์ รายงานว่า นพ.สุรเดช วลีอิทธิกุล ประธานกรรมการคณะกรรมการการแพทย์ กองทุนประกันสังคม เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการการแพทย์ ที่สำนักงานประกันสังคม (สปส.) ระบุว่า ที่ประชุมได้พิจารณาเห็นชอบให้ปรับสิทธิประโยชน์กรณีทันตกรรมเพิ่มเติม โดยให้แยกสิทธิในการผ่าฟันคุด ออกจากสิทธิ์ทันตกรรมปีละ 900 บาท
พร้อมกำหนดอัตราการจ่ายค่าผ่าฟันคุดใหม่ เป็น 2 กรณี โดยอิงตามอัตราจ่ายของกรมบัญชีกลาง คือ
1. กรณีผ่าฟันคุดแบบง่าย อัตราการจ่ายอยู่ที่ 1,500 บาท
2. การผ่าฟันคุดแบบยาก (มีการกรอกระดูกด้วย) อัตราการจ่ายอยู่ที่ 2,500 บาท
นอกจากนี้จะปรับเพิ่มจ่ายค่าตรวจสุขภาพช่องปากให้กับสถานพยาบาลด้วย แต่ทางสถานพยาบาลต้องมีการจัดทำข้อมูลสุขภาพช่องปากของผู้ประกันตน และส่งให้ สปส. ว่ามีการตรวจอะไร เบิกจ่ายอะไรบ้าง ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ประกันตนทราบว่าตัวเองมีปัญหาสุขภาพในช่องปาก และจำเป็นจะต้องไปรักษาในสถานพยาบาลอื่น ๆ อย่างไรต่อไป
สำหรับสิทธิทันตกรรม 900 บาทต่อปี มีการพิจารณาว่า หากผู้ประกันตนมีความจำเป็นต้องรักษาทางทันตกรรม แล้วมีค่าใช้จ่ายสูงกว่านี้ จะแบ่งเป็น 2 กรณี คือ
- รักษาที่โรงพยาบาลรัฐ สำนักงานประกันสังคมจะตามไปจ่ายค่ารักษาให้ โดยไม่ได้กำหนดเพดานว่าต้องไม่เกินเท่าไหร่ เพราะจะจ่ายให้ตามเรตค่ารักษาของโรงพยาบาลรัฐ
- รักษาที่สถานพยาบาลเอกชน ยังจ่ายให้ในอัตรา 900 บาท ส่วนที่เกินจากนี้ ผู้ประกันตนต้องจ่ายเอง
ทั้งนี้ จะทำให้ผู้ประกันตนได้รับการรักษาที่จำเป็น โดยขณะนี้อยู่ระหว่างศึกษาว่าคิวของโรงพยาบาลรัฐนั้นยาวแค่ไหน เพื่อให้ผู้ประกันตนได้รับสิทธิและเข้าถึงบริการโดยสะดวก
ค่าผ่าฟันคุด 2,500 บาท จำเป็นต้องใช้เฉพาะโรงพยาบาลรัฐไหม ?
สามารถใช้บริการที่ไหนก็ได้ เพียงแค่หากค่าใช้จ่ายเกินอัตราที่ตั้งไว้ ผู้ประกันตนก็ต้องจ่ายเพิ่มส่วนต่าง
สิทธิข้างต้น สามารถใช้ได้เมื่อไหร่ ?
ทางบอร์ดการแพทย์อนุมัติแล้ว คาดว่าประมาณเดือนสิงหาคม ก็พร้อมที่จะเสนอเข้าคณะกรรมการประกันสังคม (บอร์ด สปส.) เพื่อพิจารณา และหากเห็นชอบก็จะมีขั้นตอนทางกฎหมายอีกนิดหน่อย
ขอบคุณข้อมูลจาก เดลินิวส์