เปิดเงื่อนไขการขอเงินสงเคราะห์บุตร 1,000 บาท เริ่มอัตราใหม่ 1 มกราคม 2568 ใช่ว่าจะได้เงินก้อนนี้กันทุกคน ต้องเตรียมเอกสารทำเรื่องด้วย
ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2568 เป็นต้นไป
จะมีการปรับอัตราเงินสงเคราะห์บุตร จาก 800 บาท เป็น 1,000
บาทต่อคน ให้แก่ผู้ประกันตน ประกันสังคมมาตรา 33 และ 39
เพื่อบรรเทาภาระในการเลี้ยงดูบุตร สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน
อย่างไรก็ตาม ใช่ว่าผู้ประกันตนทุกคนจะได้เงินก้อนนี้ เพราะทางสำนักงานประกันสังคม มีการกำหนดหลักเกณฑ์เอาไว้เบื้องต้น ดังนี้
- ต้องเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 หรือ 39
- จ่ายเงินสมทบไม่น้อยกว่า 12 เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือน ก่อนเดือนที่มีสิทธิได้รับผลประโยชน์
- ต้องเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ยกเว้นบุตรบุญธรรม หรือบุตรที่ยกให้เป็นบุตรของบุคคลอื่น
- ได้รับเงินจำนวนคราวละไม่เกิน 3 คน ตั้งแต่เด็กแรกเกิดจนถึงอายุ 6 ปี
วิธีสมัครเพื่อขอรับเงินสงเคราะห์บุตร
แม้จะเป็นผู้ประกันตน แต่เมื่อมีบุตรก็ต้องยื่นเอกสารทำเรื่องขอรับประโยชน์ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ สำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสาขาที่สะดวก ยกเว้นสำนักงานใหญ่ที่กระทรวงสาธารณสุข โดยต้องใช้เอกสารดังนี้
1. แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกองทุนประกันสังคม (สปส. 2-01)
2. สำเนาสูติบัตรบุตร (กรณีคลอดบุตรแฝดให้แนบสำเนาสูติบัตรของคู่แฝดด้วย) จำนวน 1 ชุด
3. กรณีมีการเปลี่ยนชื่อนามสกุล ให้แนบสำเนาเอกสารเปลี่นยชื่อ - สกุล 1 ชุด
4. สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรกที่มีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ยื่นคำขอ 1 ฉบับ
5. เอกสารประกอบการยื่นคำขอฯ ที่เป็นสำเนาให้รับรองความถูกต้องของสำเนาทุกฉบับ
6. สำหรับผู้ประกันตนชาย ต้องมีสำเนาทะเบียนสมรสหรือสำเนาทะเบียนหย่าพร้อมบันทึกแนบท้ายผู้ประกันตนหรือสำเนาทะเบียนรับรองบุตร หรือสำเนาคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลให้เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย จำนวน 1 ชุด แนบมาเพิ่มเติมด้วย
7. กรณีผู้ประกันตนต่างชาติห้ใช้สำเนาบัตรประกันสังคม และสำเนาหนังสือเดินทาง (passport) หรือสำเนาหนังสือเดินทางชั่วคราวหรือเอกสารรับรองบุคคลที่ทางราชการออกให้ จำนวน 1 ชุด
เหตุผลที่จะไม่ได้เงินสงเคราะห์บุตร
- บุตรอายุครบ 6 ปีบริบูรณ์
- บุตรเสียชีวิต
- ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง
- ยกบุตรให้เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่น