หุ้นกู้ออกใหม่ เดือนกันยายน-ตุลาคม 2567 มีชุดไหนบ้างที่น่าสนใจ ให้ดอกเบี้ยสูง เสนอขายกับนักลงทุนทั่วไป (PO) มาเช็กข้อมูลกัน
การซื้อหุ้นกู้ เป็นการกระจายความเสี่ยงในการลงทุนอีกวิธีหนึ่ง เหมาะกับคนที่ต้องการรายได้จากดอกเบี้ยอย่างสม่ำเสมอ โดยไม่ต้องสนใจราคาขึ้น-ลงเหมือนกับหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ แต่ก็มีความเสี่ยงเรื่องการผิดนัดชำระหนี้อยู่บ้างเหมือนกัน ซึ่งเราต้องพิจารณาและประเมินให้ดีก่อนลงทุน โดยเฉพาะมือใหม่ทั้งหลาย หากสนใจลงทุนควรทราบอะไรบ้าง และในเดือนกันยายน-ตุลาคม 2567 มีหุ้นกู้ชุดใหม่ที่เปิดขายให้กับนักลงทุนทั่วไป (PO) มาศึกษาข้อมูลกัน
หุ้นกู้ คืออะไร
หุ้นกู้ คือ ตราสารหนี้ของบริษัทเอกชน เปรียบเสมือนสัญญาการกู้ยืมเงินระหว่างเรากับบริษัทเอกชน เพราะเมื่อเราซื้อหุ้นกู้ก็เท่ากับว่าเราได้ให้บริษัทนั้น ๆ กู้เงิน ซึ่งบริษัทจะจ่ายดอกเบี้ยให้ตามเวลาที่กำหนด และเมื่อครบกำหนดอายุของหุ้นกู้ บริษัทก็จะคืนเงินต้นมาให้
ทั้งนี้ บริษัทจะออกหุ้นกู้ก็ต่อเมื่อต้องการระดมเงินทุนไปใช้ขยายกิจการ ซื้อเครื่องจักร รวมถึงนำไปใช้ชำระหนี้หุ้นกู้รุ่นเดิม ในขณะที่ดอกเบี้ยที่เราได้รับมาจะต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 15% จากอัตราดอกเบี้ยที่ระบุไว้ในตอนเสนอขาย
หุ้นกู้ ซื้อยังไง
การลงทุนในหุ้นกู้สามารถซื้อได้ผ่านธนาคารที่เป็นผู้จัดจำหน่ายของหุ้นกู้ชุดนั้น เช่น ซื้อผ่านแอปพลิเคชันธนาคาร หรือติดต่อสาขาของธนาคารนั้น ๆ รวมถึงการซื้อผ่านบริษัทหลักทรัพย์ที่เป็นตัวแทนจำหน่ายหุ้นกู้
สิ่งที่ควรพิจารณาก่อนลงทุนหุ้นกู้
- อันดับความน่าเชื่อถือของผู้ออกหุ้นกู้ : อันดับความน่าเชื่อถือ หรือเครดิตเรตติ้ง จะบ่งบอกถึงความสามารถในการชำระหนี้ของผู้ออกหุ้นกู้ ยิ่งอันดับสูง เช่น A ขึ้นไป ยิ่งมีความเสี่ยงต่ำที่จะผิดนัดชำระหนี้
- อัตราดอกเบี้ย : อัตราดอกเบี้ยที่ได้รับจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับความเสี่ยงของบริษัท เช่น หุ้นกู้ที่มีเรตติ้งสูง เช่น A ขึ้นไป มักให้อัตราดอกเบี้ยน้อยกว่าหุ้นกู้ที่มีเรตติ้งต่ำกว่า
- ระยะเวลาครบกำหนด : หุ้นกู้แต่ละตัวจะมีระยะเวลาครบกำหนดที่แตกต่างกัน โดยส่วนใหญ่หุ้นกู้ระยะยาวมักให้อัตราดอกเบี้ยสูงกว่าหุ้นกู้ระยะสั้น (เมื่อเทียบกับหุ้นกู้ในเรตติ้งเดียวกัน)
- วัตถุประสงค์ในการระดมทุน : การทราบวัตถุประสงค์ในการระดมทุนของบริษัทจะช่วยให้ประเมินความเสี่ยงในการลงทุนได้ เพราะแม้ว่าหุ้นกู้จะมีความเสี่ยงน้อยกว่าหุ้น แต่ก็ยังมีความเสี่ยงที่บริษัทจะผิดนัดชำระหนี้ได้
- สภาพคล่อง : หากต้องการขายหุ้นกู้ก่อนครบกำหนด ควรเลือกหุ้นกู้ที่มีสภาพคล่องสูง
- ผู้มีสิทธิจองซื้อ : ในกรณีที่เราเป็นประชาชนทั่วไปก็ต้องซื้อหุ้นกู้ที่ระบุว่าเปิดขายให้นักลงทุนทั่วไป (Public Offering : PO) แต่ถ้าเราเป็นผู้ลงทุนรายใหญ่ (High Net Worth : HNW) ก็สามารถลงทุนได้ทั้งหุ้นกู้ที่เปิดขายให้กับผู้ลงทุนรายใหญ่และประชาชนทั่วไป
- ความเสี่ยงที่ยอมรับได้ : การลงทุนหุ้นกู้มีความเสี่ยงต่อการผิดนัดชำระหนี้ได้เหมือนกัน เท่ากับว่าอาจมีโอกาสที่จะไม่ได้รับเงินต้นคืนเลย ต่างจากการฝากเงินในธนาคารหรือซื้อสลากออมทรัพย์ที่เงินต้นยังอยู่ครบ จึงควรพิจารณาให้ดีว่าเราสามารถยอมรับความเสี่ยงในการลงทุนหุ้นกู้ได้หรือไม่
หุ้นกู้ออกใหม่ เดือนกันยายน 2567
สำหรับหุ้นกู้ที่เสนอขายให้กับนักลงทุนทั่วไป (PO) ในเดือนกันยายน 2567 ประกอบด้วย
1. บริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) (UNIQ)
บริษัทรับเหมาก่อสร้าง ให้บริการครบวงจรทั้งงานออกแบบและก่อสร้าง รับก่อสร้างตามแบบที่ผู้ว่าจ้างกำหนด โดยมุ่งเน้นงานสาธารณูปโภคขนาดกลางและขนาดใหญ่ นอกจากนั้นยังมีธุรกิจพัฒนาที่ดินและก่อสร้างอสังหาริมทรัพย์เพื่อขาย ได้แก่ โครงการที่อยู่อาศัยประเภทบ้านเดี่ยวและทาวน์เฮ้าส์ โดยเน้นในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เสนอขายหุ้นกู้ 1 ชุด ในเดือนกันยายน 2567 คือ
- ประเภทหุ้นกู้ : หุ้นกู้ระบุชื่อผู้ถือ ประเภทไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีประกัน และมีผู้แทนถือหุ้นกู้
- อายุ : 3 ปี
- อัตราดอกเบี้ย : คงที่ 5.50% ต่อปี
- ครบกำหนดไถ่ถอน : 5 กันยายน 2570
- จ่ายดอกเบี้ย : ทุก 3 เดือน
- อันดับความน่าเชื่อถือ : BBB- แนวโน้มลบ
- ระดับความเสี่ยง : 5 (จากทั้งหมด 8 ระดับ)
- การไถ่ถอนก่อนกำหนด : ไม่มี
- ผู้มีสิทธิ์จองซื้อ : ประชาชนทั่วไป
- ยอดขั้นต่ำในการจองซื้อ : 100,000 บาท ทวีคูณครั้งละ 100,000 บาท
- วันที่เปิดจอง : 2-4 กันยายน 2567
- ช่องทางการขาย : ธนาคารกรุงไทย, บริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า, บริษัทหลักกรุงไทย เอ็กซ์สปริง, บริษัทหลักทรัพย์ บลูเบลล์, บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส
- ข้อมูลเพิ่มเติม : สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
2. บริษัท เอสซีจี เจดับเบิ้ลยูดี โลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน) (SJWD)
บริษัทผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเชนแบบครบวงจรภายในภูมิภาคอาเซียน เช่น บริการจัดการคลังสินค้าและบริหารลานจอดพักรถยนต์ บริการขนส่งและกระจายสินค้า บริการโลจิสติกส์อื่น ๆ เสนอขายหุ้นกู้ 1 ชุด ในเดือนกันยายน 2567 คือ
- ประเภทหุ้นกู้ : หุ้นกู้ระบุชื่อผู้ถือ ประเภทไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีประกัน และมีผู้แทนถือหุ้นกู้
- อายุ : 3 ปี
- อัตราดอกเบี้ย : 4.04% ต่อปี
- ครบกำหนดไถ่ถอน : 19 กันยายน 2570
- จ่ายดอกเบี้ย : ทุก 3 เดือน
- อันดับความน่าเชื่อถือ : BBB+
- ระดับความเสี่ยง : 5 (จากทั้งหมด 8 ระดับ)
- การไถ่ถอนก่อนกำหนด : ไม่มี
- ผู้มีสิทธิ์จองซื้อ : ประชาชนทั่วไป
- ยอดขั้นต่ำในการจองซื้อ : 100,000 บาท ทวีคูณครั้งละ 100,000 บาท
- วันที่เปิดจอง : 16-18 กันยายน 2567
- ช่องทางการขาย : ธนาคารกสิกรไทย, ธนาคารไทยพาณิชย์, ธนาคารยูโอบี, ธนาคารเกียรตินาคินภัทร, บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส, บริษัทหลักทรัพย์ เกียรตินาคินภัทร, บริษัทหลักทรัพย์ บียอนด์, บริษัทหลักทรัพย์ กสิกรไทย, บริษัทหลักทรัพย์ อินโนเวสท์ เอกซ์
- ข้อมูลเพิ่มเติม : สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
3. บริษัท ปริญสิริ จำกัด (มหาชน) (PRIN)
บริษัทประกอบธุรกิจพัฒนาด้านการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ประเภทหมู่บ้านจัดสรร แบบบ้านสร้างเสร็จก่อนขาย และประเภทอาคารชุดพักอาศัยเพื่อจำหน่าย เสนอขายหุ้นกู้ 2 ชุด สำหรับประชาชนทั่วไป ดังนี้
- ประเภทหุ้นกู้ : หุ้นกู้ระบุชื่อผู้ถือ ประเภทไม่ด้อยสิทธิ มีประกัน และมีผู้แทนถือหุ้นกู้
- อายุและอัตราดอกเบี้ย :
- ชุดที่ 1 อายุ 2 ปี 6 เดือน อัตราดอกเบี้ย 5.90% ต่อปี ครบกำหนดไถ่ถอน 19 มีนาคม 2570
- ชุดที่ 2 อายุ 3 ปี อัตราดอกเบี้ย 6.00% ต่อปี ครบกำหนดไถ่ถอน 19 กันยายน 2570
- จ่ายดอกเบี้ย : ทุก 3 เดือน
- อันดับความน่าเชื่อถือ : BBB- แนวโน้มคงที่
- ระดับความเสี่ยง : 5 (จากทั้งหมด 8 ระดับ)
- การไถ่ถอนก่อนกำหนด : ไม่มี
- ผู้มีสิทธิ์จองซื้อ : ประชาชนทั่วไป
- ยอดขั้นต่ำในการจองซื้อ : 100,000 บาท ทวีคูณครั้งละ 100,000 บาท
- วันที่เปิดจอง : 16-18 กันยายน 2567
- ช่องทางการขาย : บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส, บริษัทหลักทรัพย์ บลูเบลล์, บริษัทหลักทรัพย์ บียอนด์, บริษัทหลักทรัพย์ ซีจีเอส อินเตอร์เนชั่นแนล, บริษัทหลักทรัพย์ โกลเบล็ก, บริษัทหลักทรัพย์ ดาโอ, บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี พัฒนสิน, บริษัทหลักทรัพย์ ยูโอบี เคย์เฮียน, บริษัทหลักทรัพย์ พาย
- ข้อมูลเพิ่มเติม : สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
4. บริษัท เสนาดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) (SENA)
บริษัทผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ เสนอขายหุ้นกู้ 1 ชุด ในเดือนกันยายน 2567 ดังนี้
- ประเภทหุ้นกู้ : หุ้นกู้ระบุชื่อผู้ถือ ประเภทไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีประกัน และมีผู้แทนถือหุ้นกู้
- อายุ : 2 ปี 6 เดือน
- อัตราดอกเบี้ย : 5.70% ต่อปี
- ครบกำหนดไถ่ถอน : 2 เมษายน 2570
- จ่ายดอกเบี้ย : ทุก 3 เดือน
- อันดับความน่าเชื่อถือ : BBB- แนวโน้มคงที่
- ระดับความเสี่ยง : 5 (จากทั้งหมด 8 ระดับ)
- การไถ่ถอนก่อนกำหนด : ไม่มี
- ผู้มีสิทธิ์จองซื้อ : ประชาชนทั่วไป
- ยอดขั้นต่ำในการจองซื้อ : 100,000 บาท ทวีคูณครั้งละ 100,000 บาท
- วันที่เปิดจอง : 27, 30 กันยายน และ 1 ตุลาคม 2567
- ช่องทางการขาย : บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส, บริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า, บริษัทหลักกรุงไทย เอ็กซ์สปริง, บริษัทหลักทรัพย์ โกลเบล็ก, บริษัทหลักทรัพย์ พาย, บริษัทหลักทรัพย์ ซีจีเอส อินเตอร์เนชั่นแนล, บริษัทหลักทรัพย์ ดาโอ, บริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์, บริษัทหลักทรัพย์ เคจีไอ, บริษัทหลักทรัพย์ บลูเบลล์, บริษัทหลักทรัพย์ ทรินิตี้, บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี, บริษัทหลักทรัพย์ เอเอสแอล
- ข้อมูลเพิ่มเติม : สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หุ้นกู้ออกใหม่ เดือนตุลาคม 2567
1. บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) (SCC)
ผู้ประกอบธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง ธุรกิจเคมิคอลส์ (SCGC) และธุรกิจแพ็กเกจจิ้ง (SCGP) เสนอขายหุ้นกู้ 1 ชุด สำหรับประชาชนทั่วไป ดังนี้
- ประเภทหุ้นกู้ : หุ้นกู้ระบุชื่อผู้ถือ ประเภทไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีประกัน และมีผู้แทนถือหุ้นกู้
- อายุ : 3 ปี 11 เดือน
- อัตราดอกเบี้ย : คงที่ 3.30% ต่อปี
- ครบกำหนดไถ่ถอน : 1 ตุลาคม 2571
- จ่ายดอกเบี้ย : ทุก 3 เดือน
- อันดับความน่าเชื่อถือ : A แนวโน้มคงที่
- ระดับความเสี่ยง : 3 (จากทั้งหมด 8 ระดับ)
- การไถ่ถอนก่อนกำหนด : ไม่มี
- ผู้มีสิทธิ์จองซื้อและวันเปิดจอง : แบ่งออกเป็น 3 รอบ ดังนี้
- วันที่ 1-7 ตุลาคม 2567 สำหรับประชาชนทั่วไปที่ถือหุ้นกู้บริษัท SCC24NA ครบกำหนดไถ่ถอนปี 2567 จองซื้อขั้นต่ำ 1,000 บาท ทวีคูณครั้งละ 1,000 บาท
- วันที่ 25-29 ตุลาคม 2567 สำหรับประชาชนทั่วไปที่ถือหุ้นกู้ของบริษัทปูนซีเมนต์ไทย ทุกรุ่น และ/หรือผู้ถือหุ้นกู้ของบริษัท เอสซีจี แพคเกจจิ้ง ทุกรุ่น และ/หรือผู้ถือหุ้นกู้ของบริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ ทุกรุ่น (ผู้ถือหุ้นกู้ปัจจุบัน) จองซื้อขั้นต่ำ 1,000,000 บาท ทวีคูณครั้งละ 100,000 บาท
- วันที่ 30-31 ตุลาคม 2567 สำหรับประชาชนทั่วไป ไม่ว่าจะถือหุ้นกู้ของบริษัทหรือไม่ จองซื้อขั้นต่ำ 1,000,000 บาท ทวีคูณครั้งละ 100,000 บาท
- ช่องทางการขาย : ธนาคารกรุงเทพ, ธนาคารกรุงไทย, ธนาคารกรุงศรีอยุธยา, ธนาคารกสิกรไทย, ธนาคารไทยพาณิชย์
- ข้อมูลเพิ่มเติม : สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
2. บริษัท เงินติดล้อ จำกัด (มหาชน) (TIDLOR)
เจ้าของธุรกิจบริการสินเชื่อ ให้บริการเช่าซื้อ และให้บริการนายหน้าประกันวินาศภัย นายหน้าประกันชีวิต และบริการที่เกี่ยวเนื่องอื่น ๆ เสนอขายหุ้นกู้ 3 ชุดในเดือนตุลาคม 2567 โดยชุดที่ 1 จำหน่ายให้กับประชาชนทั่วไป ตามรายละเอียดดังนี้
- ประเภทหุ้นกู้ : หุ้นกู้ชุดที่ 1 ระบุชื่อผู้ถือ ประเภทไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีประกัน และมีผู้แทนถือหุ้นกู้
- อายุ : 2 ปี 6 เดือน
- อัตราดอกเบี้ย : คงที่ 3.35% ต่อปี
- ครบกำหนดไถ่ถอน : 10 เมษายน 2570
- จ่ายดอกเบี้ย : ทุก 6 เดือน
- อันดับความน่าเชื่อถือ : A แนวโน้มคงที่
- ระดับความเสี่ยง : 3 (จากทั้งหมด 8 ระดับ)
- การไถ่ถอนก่อนกำหนด : ไม่มี
- ผู้มีสิทธิ์จองซื้อ : ประชาชนทั่วไป
- ยอดขั้นต่ำในการจองซื้อ : 100,000 บาท ทวีคูณครั้งละ 100,000 บาท
- วันที่เปิดจอง : 7-9 ตุลาคม 2567
- ช่องทางการขาย : ธนาคารกรุงศรีอยุธยา, ธนาคารกสิกรไทย, ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย, บริษัทหลักทรัพย์ เกียรตินาคินภัทร, บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส
- ข้อมูลเพิ่มเติม : สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
3. บริษัท เจ เอ็ม ที เน็ทเวอร์ค เซอร์วิสเซ็ส จำกัด (มหาชน) (JMT)
ผู้ประกอบธุรกิจให้บริการติดตามเร่งรัดหนี้ ธุรกิจบริหารหนี้ด้อยคุณภาพ ธุรกิจนายหน้าประกันภัย และธุรกิจประกันภัย เสนอขายหุ้นกู้ 2 ชุด ในเดือนตุลาคม 2567
- ประเภทหุ้นกู้ : หุ้นกู้ระบุชื่อผู้ถือ ประเภทไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีประกัน และมีผู้แทนถือหุ้นกู้
- อายุและอัตราดอกเบี้ย :
- ชุดที่ 1 อายุ 2 ปี อัตราดอกเบี้ยคาดว่า 4.70-4.90% ต่อปี ครบกำหนดไถ่ถอน 31 ตุลาคม 2569
- ชุดที่ 2 อายุ 4 ปี อัตราดอกเบี้ยคาดว่า 5.30-5.50% ต่อปี ครบกำหนดไถ่ถอน 31 ตุลาคม 2571
- จ่ายดอกเบี้ย : ทุก 3 เดือน
- อันดับความน่าเชื่อถือ : BBB+ แนวโน้มลบ
- ระดับความเสี่ยง : 5 (จากทั้งหมด 8 ระดับ)
- การไถ่ถอนก่อนกำหนด : ไม่มี
- ผู้มีสิทธิ์จองซื้อ : ประชาชนทั่วไป
- ยอดขั้นต่ำในการจองซื้อ : 100,000 บาท ทวีคูณครั้งละ 100,000 บาท
- วันที่เปิดจอง : 28-30 ตุลาคม 2567
- ช่องทางการขาย : บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส, บริษัทหลักทรัพย์ บลูเบลล์, บริษัทหลักทรัพย์ บียอนด์, บริษัทหลักทรัพย์ ซีจีเอส อินเตอร์เนชั่นแนล, บริษัทหลักทรัพย์ โกลเบล็ก, บริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์, บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี, บริษัทหลักทรัพย์ ยูโอบี เคย์เฮียน, บริษัทหลักทรัพย์ เมอร์ชั่น พาร์ทเนอร์, บริษัทหลักทรัพย์ ดาโอ, บริษัทหลักทรัพย์ เคจีไอ, บริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า, บริษัทหลักทรัพย์ กรุงไทยเอ็กซ์สปริง, บริษัทหลักทรัพย์ พาย, บริษัทหลักทรัพย์ แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์
- ข้อมูลเพิ่มเติม : สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
4. บริษัท เมืองไทย แคปปิตอล จำกัด (มหาชน) (MTC)
บริษัทผู้ให้บริการสินเชื่อทะเบียนรถ สินเชื่อโฉนดที่ดิน และสินเชื่อส่วนบุคคลแก่ลูกค้ารายย่อยที่เป็นบุคคลธรรมดาทั่วไป เสนอขายหุ้นกู้ 3 ชุด ประจำเดือนตุลาคม 2567 ได้แก่
- ประเภทหุ้นกู้ : หุ้นกู้ระบุชื่อผู้ถือ ประเภทไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีประกัน และมีผู้แทนถือหุ้นกู้
- อายุและอัตราดอกเบี้ย :
- ชุดที่ 1 อายุ 2 ปี 3 วัน อัตราดอกเบี้ย 3.50% ต่อปี ครบกำหนดไถ่ถอน 3 พฤศจิกายน 2569
- ชุดที่ 2 อายุ 3 ปี 2 วัน อัตราดอกเบี้ย 3.80% ต่อปี ครบกำหนดไถ่ถอน 2 พฤศจิกายน 2570
- ชุดที่ 3 อายุ 4 ปี 7 วัน อัตราดอกเบี้ย 4.00% ต่อปี ครบกำหนดไถ่ถอน 7 พฤศจิกายน 2571
- จ่ายดอกเบี้ย : ทุก 3 เดือน
- อันดับความน่าเชื่อถือ : A-
- ระดับความเสี่ยง : 3 (จากทั้งหมด 8 ระดับ)
- การไถ่ถอนก่อนกำหนด : ไม่มี
- ผู้มีสิทธิ์จองซื้อ : ประชาชนทั่วไป
- ยอดขั้นต่ำในการจองซื้อ : 100,000 บาท ทวีคูณครั้งละ 100,000 บาท
- วันที่เปิดจอง : 28-30 ตุลาคม 2567
- ช่องทางการขาย : ธนาคารกรุงเทพ, ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย, ธนาคารกสิกรไทย, บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส, บริษัทหลักทรัพย์ ดาโอ, บริษัทหลักทรัพย์ กรุงไทย เอ็กซ์สปริง, บริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์, บริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า, บริษัทหลักทรัพย์ ซีจีเอส อินเตอร์เนชั่นแนล, บริษัทหลักทรัพย์ พาย, บริษัทหลักทรัพย์ บลูเบลล์, บริษัทหลักทรัพย์ โกลเบล็ก, บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี, บริษัทหลักทรัพย์ ธนชาต, บริษัทหลักทรัพย์ เกียรตินาคินภัทร, บริษัทหลักทรัพย์ บียอนด์ และบริษัทหลักทรัพย์ ยูโอบีเคย์เฮียน
- ข้อมูลเพิ่มเติม : สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ความเสี่ยงเมื่อลงทุนหุ้นกู้
- ความเสี่ยงจากการผิดนัดชำระหนี้ : เกิดได้ในกรณีที่บริษัทที่ออกหุ้นกู้ประสบปัญหาทางการเงินจนไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนด นักลงทุนอาจสูญเสียเงินต้นทั้งหมดหรือบางส่วน หรืออาจถูกขอให้ขยายระยะเวลาชำระหนี้ออกไป
- ความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ย : หากอัตราดอกเบี้ยในตลาดสูงขึ้น มูลค่าของหุ้นกู้ที่มีอยู่จะลดลง แต่หากอัตราดอกเบี้ยตลาดลดลง นักลงทุนที่ต้องการขายหุ้นกู้ก่อนครบกำหนดอาจได้รับอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าตลาด
- ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง : หากหุ้นกู้ที่ลงทุนไปไม่น่าสนใจในตลาดรอง เมื่อต้องการขายก่อนครบกำหนดอาจขาดทุน ต้องยอมลดราคา หรืออาจต้องใช้เวลานานในการขาย
- ความเสี่ยงจากอัตราเงินเฟ้อ : หากอัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น พลังซื้อของเงินที่ได้รับจากดอกเบี้ยจะลดลง
- ความเสี่ยงด้านการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจ : บริษัทผู้ออกหุ้นกู้อาจประสบปัญหาทางธุรกิจ เพราะไม่สามารถปรับตัวได้ทัน อาจส่งผลต่อสภาพคล่องทางการเงิน หรือมีข่าวด้านลบออกมา ทำให้นักลงทุนไม่กล้าซื้อหุ้นกู้ชุดต่อไป บริษัทจึงไม่สามารถหาเงินมาจ่ายคืนให้นักลงทุนได้
- ความเสี่ยงทางกฎหมาย : การเปลี่ยนแปลงกฎหมายหรือระเบียบข้อบังคับบางอย่างอาจส่งผลกระทบต่อการชำระหนี้ของบริษัทผู้ออกหุ้นกู้
หุ้นกู้ เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการลงทุนที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่ต้องการสร้างรายได้สม่ำเสมอและกระจายความเสี่ยง แต่ก่อนตัดสินใจลงทุนควรศึกษาข้อมูลให้ละเอียด เพราะการลงทุนหุ้นกู้มีความเสี่ยง
บทความที่เกี่ยวข้องกับหุ้นกู้
ขอบคุณภาพจาก : เฟซบุ๊ก Thaibma : สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (1), (2), (3), (4), (5), (6), (7)
ขอบคุณข้อมูลจาก : สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (1), (2), (3), (4), (5), (6), (7)