ใครมีสิทธิรับเงินดิจิทัล 10,000 บาท
- สัญชาติไทย
- มีที่อยู่ในทะเบียนบ้าน
- มีอายุตั้งแต่ 16 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ณ วันที่ปิดรับลงทะเบียน (15 กันยายน 2567)
- ไม่เป็นผู้ที่มีรายได้พึงประเมินเกิน 840,000 บาทต่อปี ในปีภาษี 2566
- มีเงินฝากไม่เกิน 500,000 บาท นับยอดตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคม 2567 ซึ่งเงินฝากนั้นจะนับยอดในทุกบัญชีเงินฝากที่เป็นเงินสกุลบาท ทั้งเงินฝากกระแสรายวัน, เงินฝากออมทรัพย์, เงินฝากประจำ, บัตรออมทรัพย์, ใบรับเงินฝาก (ไม่นับสลากออมทรัพย์ พันธบัตรรัฐบาล กองทุนรวม หุ้น) ทั้งนี้ ไม่รวมถึงเงินฝากในบัญชีร่วม
- ไม่เป็นผู้ที่อยู่ระหว่างต้องโทษจำคุกในเรือนจำ
- ไม่เป็นผู้ที่ถูกระงับสิทธิหรือถูกเรียกเงินคืนในมาตรการหรือโครงการอื่น ๆ ของรัฐ
- ไม่เป็นผู้ฝ่าฝืนเงื่อนไขของมาตรการหรือโครงการอื่น ๆ ของรัฐ
แอปฯ ทางรัฐ คืออะไร
แอปพลิเคชัน "ทางรัฐ" เป็นศูนย์กลางที่ให้คนไทยเข้าถึงบริการต่าง ๆ จากภาครัฐได้ง่าย ๆ ทั้งการติดต่อหน่วยงานราชการ ติดตามสถานะการใช้บริการจากรัฐ รวมทั้งเช็กข้อมูลและสิทธิของตัวเองผ่านระบบออนไลน์ เปรียบเสมือนทางลัดในการติดต่อทำธุรกรรมภาครัฐ
โดยแอปพลิเคชันทางรัฐพัฒนาโดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.), สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ เช่น สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน), สำนักงานประกันสังคม, สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ, บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด เป็นต้น เปิดให้ดาวน์โหลดใช้งานมาตั้งแต่ปี 2564
แอปฯ ทางรัฐ ใช้ทำอะไรได้บ้าง
1. ตรวจสอบข้อมูลส่วนตัว
- ข้อมูลทะเบียนราษฎร / ใบขับขี่ / หนังสือเดินทาง
- เช็กความคุ้มครองกรมธรรม์ประกันภัย
- บริการหลักฐานแสดงตน และตรวจสอบข้อมูลประวัติกำลังพล เพื่องานด้านสิทธิและสวัสดิการของกองทัพบก
- ตรวจสอบรายละเอียดข้อมูลบัตรประจำตัวคนพิการ สิทธิประโยชน์สำหรับผู้ถือบัตรทราบก่อนวันที่บัตรจะหมดอายุ
- เช็กสิทธิเลือกตั้ง และแจ้งเหตุจำเป็นที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้ง สก. หรือผู้ว่าฯ กทม.
- เช็กเครดิตบูโร ข้อมูลเบื้องต้น แจ้งจำนวนบัญชีสินเชื่อ วงเงินสินเชื่อรวม ยอดหนี้คงเหลือ บัญชีที่เปิดอยู่
- ตรวจสอบข้อมูลอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านหรือชุมชน
2. ตรวจสอบข้อมูลสวัสดิการ
- ตรวจสอบเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด / เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ / เบี้ยความพิการ
- ตรวจสอบสิทธิ ส่งเงินสะสม คำนวณบำนาญของกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.)
- ตรวจสอบข้อมูลกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)
- ตรวจสอบข้อมูลผู้ประกันตนประกันสังคม ทั้งข้อมูลเงินสะสม เงินสมทบ และประวัติการใช้สิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตน
- ลงทะเบียนสมัครเป็นผู้ประกันตน มาตรา 40
- บริการที่สามารถค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับกองทุนสวัสดิการชุมชน
- บริการแจ้งเหตุด่วนเหตุร้าย แจ้งปัญหาสังคม และผู้ประสบพบเหตุ/ประสบปัญหาทางสังคม ขอรับบริการความช่วยเหลือจากกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.)
3. ตรวจสอบข้อมูลด้านสาธารณูปโภค
- ตรวจสอบประวัติการใช้ไฟฟ้า และชำระค่าไฟผ่าน QR Code ของการไฟฟ้านครหลวง, การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
- ตรวจสอบข้อมูลสำหรับผู้ใช้น้ำในเขตพื้นที่นครหลวง เป็นบริการที่แสดงข้อมูลของผู้ใช้น้ำ ประวัติการใช้น้ำ และข้อมูลค่าน้ำงวดปัจจุบัน
- ตรวจสอบข้อมูลประวัติการใช้น้ำ ชำระค่าน้ำผ่าน QR Code ของการประปาส่วนภูมิภาค
4. ตรวจสอบข้อมูลด้านการศึกษา
- ตรวจสอบข้อมูลยอดเงินกู้ยืมคงเหลือของกองทุนกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษา (กยศ.)
- ตรวจสอบหนังสือรับรองผล O-Net
5. ตรวจสอบข้อมูลด้านยานพาหนะ
- ตรวจสอบข้อมูลทะเบียนรถที่ถือครอง วันสิ้นภาษี วันที่จดทะเบียน ประเภทรถ ลักษณะมาตรฐาน ยี่ห้อ สี และระบบจะทำการแจ้งเตือนเมื่อภาษีใกล้หมดอายุ
- บริการอบรมออนไลน์ต่อใบขับขี่
- ตรวจสอบใบสั่งจราจรออนไลน์ของรถยนต์และรถจักรยานยนต์ รวมถึงชำระใบสั่งผ่าน QR Code โดยแจ้งเตือนและติดตามสถานะการชำระใบสั่งได้
6. ตรวจสอบข้อมูลด้านสุขภาพ
- ตรวจสิทธิการรักษาพยาบาล (สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ)
- ตรวจสอบข้อมูลการใช้ยา สแกน QR Code บนซองยา หรือสรุปรายการยาจากโรงพยาบาล พร้อมสาระข้อมูลการใช้ยาที่สำคัญ
- ติดตามข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ Covid-19
7. ตรวจสอบข้อมูลด้านที่ดิน/ที่อยู่
- ตรวจสอบเงื่อนไขการใช้ประโยชน์ที่ดินก่อนดำเนินการหรือจัดกิจกรรมต่าง ๆ ในการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ กทม.
- ตรวจสอบดิน น้ำ พืช ปุ๋ย และสิ่งปรับปรุง เพื่อให้ทราบถึงความอุดมสมบูรณ์ และปัญหาของดินในแปลงปลูกพืช พร้อมกับคำแนะนำในการแก้ไขปรับปรุงบำรุงดิน
- แสดงรูปแปลงที่ดิน, ค้นหาแปลงที่ดินนอกเหนือจากเลขที่โฉนดได้จากสถานที่สำคัญ หรือคลิกยังจุดที่สนใจบนแผนที่, สามารถเปิดผังเมืองได้ว่าเป็นผังเมืองประเภทใด, สามารถนำทางไปยังตำแหน่งที่ดินและสำนักงานที่ดิน, สามารถบันทึกแปลงที่ดินที่สนใจ
8. ตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับคดีและแจ้งเหตุ
- บริการ 1111 เป็นบริการรับเรื่องราวร้องทุกข์ของรัฐบาล รวมถึงติดตามเรื่องร้องเรียนได้ด้วย
- ตรวจสอบสถานะล้มละลายของบุคคลรวมถึงตนเอง และค้นหาข้อมูลบุคคลล้มละลายได้
- บริการขอรับความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้เสียหายและจำเลยในคดีอาญา
วิธีลงทะเบียนแอปฯ ทางรัฐ
1. ดาวน์โหลดแอปฯ ทางรัฐ
2. ลงทะเบียนใช้งานด้วยการสมัครสมาชิก
วิธียืนยันตัวตนแอปฯ ทางรัฐ
- ลงทะเบียนและยืนยันตัวตนผ่านตู้บริการอเนกประสงค์ภาครัฐ (ค้นหาได้ที่นี่)
- ลงทะเบียนและยืนยันตัวตนผ่านแอปฯ ThaID ของกรมการปกครอง
- ลงทะเบียนและยืนยันตัวตนผ่านตู้บุญเติม
- ลงทะเบียนและยืนยันตัวตนผ่านเคาน์เตอร์ไปรษณีย์ไทย
- ลงทะเบียนและยืนยันตัวตนผ่านเคาน์เตอร์เซอร์วิส 7-Eleven
ลงทะเบียนรับเงินดิจิทัลวอลเล็ตอย่างไร
เปิดแอปฯ ทางรัฐ
กด "ลงทะเบียนรับสิทธิโครงการ"
อ่านรายละเอียดการสมัคร
แล้วกด "ถัดไป"
อ่านข้อกำหนดและเงื่อนไข
ในการเข้าร่วมโครงการ
แล้วกด "ยอมรับ"
รอการตรวจสอบสิทธิจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
กรอกเลขบัตรประจำตัวประชาชน
แล้วกด "ตรวจสอบข้อมูล"
กรอกข้อมูลส่วนตัว
แล้วกด "ดำเนินการต่อ"
ทำการสแกนใบหน้า
เมื่อสแกนใบหน้าสำเร็จ ระบบจะปรากฏข้อความ "รับข้อมูลการลงทะเบียนของคุณเรียบร้อยแล้ว" โดยข้อมูลจะถูกส่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบต่อไป และจะแจ้งผลการตรวจสอบให้ทราบผ่านแอปฯ ทางรัฐ
บทความที่เกี่ยวข้องกับเงินดิจิทัลวอลเล็ต
- ลงทะเบียนดิจิทัลวอลเล็ตผ่านแอปฯ ทางรัฐ หาปุ่มสมัครสมาชิกไม่เจอ แก้ยังไงมีคำตอบ
- สแกนหน้าไม่ผ่าน แอปฯ ทางรัฐ เพื่อรับดิจิทัลวอลเล็ต ทำยังไงดี มีวิธีแก้ที่นี่ ไม่ยากเลย
- เปิดขั้นตอนการลงทะเบียนดิจิทัลวอลเล็ต รับเงิน 10,000 บาท ผ่านแอปฯ ทางรัฐ เริ่ม 1 ส.ค.
- เงินดิจิทัล 10,000 บาท กับรวมคำถามที่หลายคนสงสัย ลงทะเบียนเมื่อไร เงินฝาก 5 แสนนับจากวันไหน
ขอบคุณภาพประกอบจาก : แอปพลิเคชันทางรัฐ, ทางรัฐ.com
ขอบคุณข้อมูลจาก : ทางรัฐ.com, สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.), รัฐบาลไทย, กระทรวงการคลัง