ไขปริศนา เครดิตบูโรทำให้ติดแบล็กลิสต์ได้จริงไหม ทำไมคนถึงยังขอสินเชื่อไม่ผ่าน หลังมีเคสลูกค้าติดเครดิตบูโร จากเครื่องกรองน้ำดัง จนต้องประกาศลาออกจากการเป็นสมาชิก
ภาพจาก เว็บไซต์ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ
จากกรณีที่ลูกค้าบางส่วนของ Coway ออกมาร้องเรียนเรื่องการมีชื่อติดเครดิตบูโร สาเหตุเพราะไม่ได้จ่ายเงินค่าน้ำรายเดือน และเมื่อตรวจพบ กลับพบว่า บริษัทไม่ได้ตัดบัตรเครดิตหรือพนักงานทำการจ่ายเงินเข้าบริษัทช้า จนลูกค้าได้รับผลกระทบ ถูกส่งชื่อเข้าเครดิตบูโร
ภายหลังโคเวย์ประกาศวิธีการแก้ไขปัญหาแก่ลูกค้าว่า บริษัทได้ลาออกจาการเป็นสมาชิกของบริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จํากัด (เครดิตบูโร) ซึ่งทำให้ลูกค้าที่ขอสินเชื่อของบริษัททุกราย จะไม่มีชื่อและข้อมูลที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของโคเวย์ในฐานข้อมูลเครดิตบูโรอีกต่อไป
อ่านข่าว : Coway ยุติดราม่า แถลงลาออกจากเครดิตบูโร แก้ปัญหาเรื่องข้อมูลสินเชื่อให้ลูกค้า
ล่าสุด วันที่ 9 พฤษภาคม 2567 เว็บไซต์ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ มีการลงบทความเรื่อง ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการติดแบล็กลิสต์เครดิตบูโรที่มักได้ยินบ่อย ๆ มีอะไรบ้าง
หลายคนเคยได้ยินว่า เครดิตบูโรมีการทำแบล็กลิสต์ ทำให้คนที่มีชื่อกู้เงินไม่ผ่าน ไม่ว่าจะปิดหนี้ไปนานแค่ไหนแล้วก็ตาม เรื่องนี้ไม่เป็นความจริง เพราะการเก็บข้อมูลของเครดิตบูโร ไม่ได้มีการทำแบล็กลิสต์ ไม่ได้มีการตัดสินใจร่วมในการให้สินเชื่อ
สิ่งที่เครดิตบูโรทำ คือ เก็บข้อมูลการชำระหนี้ตามความเป็นจริง และมีสถานะกำกับไว้ว่ามีการชำระปกติ หรือค้างชำระมาแล้วกี่วัน ซึ่งจะมีการเก็บข้อมูลย้อนหลังไม่เกิน 3 ปี ตามที่กฎหมายกำหนด หากชำระหนี้เก่าครบ และไม่มีการค้างชำระอีก ผ่านไป 3 ปี ประวัติการค้างชำระก็จะหายไป
1. ข้อมูลบ่งชี้ถึงตัวตนเจ้าของบัญชี
2. ข้อมูลเกี่ยวกับสินเชื่อที่ได้รับอนุมัติ ประวัติการชำระสินเชื่อ ประวัติการชำระสินค้าด้วยบัตรเครดิต สถานะบัญชี
เรื่องนี้ อาจจะเป็นหลายเหตุผลประกอบกันทำให้สถาบันการเงินไม่อนุมัติสินเชื่อ ได้แก่
- นโยบายการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินหรือผู้ประกอบการแต่ละแห่งแตกต่างกัน
- ประวัติการชำระหนี้ที่ผ่านมาของลูกหนี้
- โอกาสในการผิดนัดชำระหนี้มากหรือน้อย
- ภาระหนี้ที่มีอยู่เดิม และความสามารถในการชำระหนี้ของผู้ขอสินเชื่อ
- หลักประกันความเสี่ยง เช่น หลักทรัพย์ค้ำประกัน ผู้ค้ำประกัน
ถ้าหากถูกปฏิเสธสินเชื่อโดยมีการให้เหตุผลว่า เป็นเพราะข้อมูลในเครดิตบูโรหรือเกี่ยวข้องกับเครดิตบูโร จะมีการให้เหตุผลอย่างชัดเจนว่า ข้อมูลในเครดิตบูโรมีปัญหาตรงไหน เช่น มีประวัติการค้างชำระ มีหนี้หรือวงเงินสินเชื่อมากเกินไป เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม หากข้อมูลทักท้วงไม่ถูกต้อง สามารถนำหนังสือชี้แจงพร้อมบัตรประชาชนตัวจริง มายื่นตรวจสอบความถูกต้องได้ที่ศูนย์ตรวจเครดิตบูโรทุกแห่ง ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับหนังสือ
ภาพจาก เว็บไซต์ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ
จากกรณีที่ลูกค้าบางส่วนของ Coway ออกมาร้องเรียนเรื่องการมีชื่อติดเครดิตบูโร สาเหตุเพราะไม่ได้จ่ายเงินค่าน้ำรายเดือน และเมื่อตรวจพบ กลับพบว่า บริษัทไม่ได้ตัดบัตรเครดิตหรือพนักงานทำการจ่ายเงินเข้าบริษัทช้า จนลูกค้าได้รับผลกระทบ ถูกส่งชื่อเข้าเครดิตบูโร
ภายหลังโคเวย์ประกาศวิธีการแก้ไขปัญหาแก่ลูกค้าว่า บริษัทได้ลาออกจาการเป็นสมาชิกของบริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จํากัด (เครดิตบูโร) ซึ่งทำให้ลูกค้าที่ขอสินเชื่อของบริษัททุกราย จะไม่มีชื่อและข้อมูลที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของโคเวย์ในฐานข้อมูลเครดิตบูโรอีกต่อไป
อ่านข่าว : Coway ยุติดราม่า แถลงลาออกจากเครดิตบูโร แก้ปัญหาเรื่องข้อมูลสินเชื่อให้ลูกค้า
ล่าสุด วันที่ 9 พฤษภาคม 2567 เว็บไซต์ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ มีการลงบทความเรื่อง ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการติดแบล็กลิสต์เครดิตบูโรที่มักได้ยินบ่อย ๆ มีอะไรบ้าง
หลายคนเคยได้ยินว่า เครดิตบูโรมีการทำแบล็กลิสต์ ทำให้คนที่มีชื่อกู้เงินไม่ผ่าน ไม่ว่าจะปิดหนี้ไปนานแค่ไหนแล้วก็ตาม เรื่องนี้ไม่เป็นความจริง เพราะการเก็บข้อมูลของเครดิตบูโร ไม่ได้มีการทำแบล็กลิสต์ ไม่ได้มีการตัดสินใจร่วมในการให้สินเชื่อ
สิ่งที่เครดิตบูโรทำ คือ เก็บข้อมูลการชำระหนี้ตามความเป็นจริง และมีสถานะกำกับไว้ว่ามีการชำระปกติ หรือค้างชำระมาแล้วกี่วัน ซึ่งจะมีการเก็บข้อมูลย้อนหลังไม่เกิน 3 ปี ตามที่กฎหมายกำหนด หากชำระหนี้เก่าครบ และไม่มีการค้างชำระอีก ผ่านไป 3 ปี ประวัติการค้างชำระก็จะหายไป
ส่วนข้อมูลในเครดิตบูโร จะประกอบด้วย 2 ส่วน ดังนี้
1. ข้อมูลบ่งชี้ถึงตัวตนเจ้าของบัญชี
2. ข้อมูลเกี่ยวกับสินเชื่อที่ได้รับอนุมัติ ประวัติการชำระสินเชื่อ ประวัติการชำระสินค้าด้วยบัตรเครดิต สถานะบัญชี
ภาพจาก เว็บไซต์ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ
ทำไมผู้กู้ให้ข้อมูลครบหมด หนี้เสียไม่มี แต่ขอสินเชื่อไม่ผ่าน
เรื่องนี้ อาจจะเป็นหลายเหตุผลประกอบกันทำให้สถาบันการเงินไม่อนุมัติสินเชื่อ ได้แก่
- นโยบายการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินหรือผู้ประกอบการแต่ละแห่งแตกต่างกัน
- ประวัติการชำระหนี้ที่ผ่านมาของลูกหนี้
- โอกาสในการผิดนัดชำระหนี้มากหรือน้อย
- ภาระหนี้ที่มีอยู่เดิม และความสามารถในการชำระหนี้ของผู้ขอสินเชื่อ
- หลักประกันความเสี่ยง เช่น หลักทรัพย์ค้ำประกัน ผู้ค้ำประกัน
ถ้าหากถูกปฏิเสธสินเชื่อโดยมีการให้เหตุผลว่า เป็นเพราะข้อมูลในเครดิตบูโรหรือเกี่ยวข้องกับเครดิตบูโร จะมีการให้เหตุผลอย่างชัดเจนว่า ข้อมูลในเครดิตบูโรมีปัญหาตรงไหน เช่น มีประวัติการค้างชำระ มีหนี้หรือวงเงินสินเชื่อมากเกินไป เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม หากข้อมูลทักท้วงไม่ถูกต้อง สามารถนำหนังสือชี้แจงพร้อมบัตรประชาชนตัวจริง มายื่นตรวจสอบความถูกต้องได้ที่ศูนย์ตรวจเครดิตบูโรทุกแห่ง ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับหนังสือ