x close

ชี้เป้า วิธีรับเงินขาดรายได้ สำหรับคนติดโควิด อยู่ในประกันสังคม ม.33 ม.39 ม.40 ดูเลย


            ตรวจสอบเงินเยียวยาประกันสังคม ผู้ประกันตน ม.33 ม.39 ม.40 ติดโควิด-19 สามารถยื่นรับ เงินขาดรายได้ หลังหายป่วย เช็กรายละเอียดได้ที่นี่

ติดโควิดขอเงินชดเชยจากประกันสังคมได้

            จากการระบาดของ โควิด-19 ส่งผลให้มีตัวเลขผู้ติดเชื้อจำนวนมาก ซึ่งในส่วนของผู้ประกันตน ม.33, ม.39 และ ม.40 ที่รักษาตัวหายจากโควิด-19 แล้ว สามารถติดต่อขอรับเงินขาดรายได้ ภายในระยะเวลา 2 ปี โดยมีรายละเอียดดังนี้

ผู้ประกันตนตามมาตรา 33


            - จะพิจารณาตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน คือ ช่วงที่ 30 วันแรกที่ลาป่วยจะได้ค่าจ้างจากนายจ้าง แต่หากมีความจำเป็นต้องหยุดพักรักษาตัวนานเกินกว่า 30 วันจะสามารถเบิกสิทธิประโยชน์กรณีขาดรายได้จากสำนักงานประกันสังคมได้ ตั้งแต่วันที่ 31 ของการลาป่วยเป็นต้นไป ได้รับเงินทดแทนร้อยละ 50 ของค่าจ้างจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท ได้รับครั้งละไม่เกิน 90 วัน ปีละไม่เกิน 180 วัน

เอกสารในการรับเงินทดแทนการขาดรายได้ มาตรา 33

           1. แบบคำขอประโยชน์ทดแทน (สปส.2-01)

           2. บัตรประจำตัวประชาชน

           3. สำเนาบัตรประกันสังคม (ต่างชาติ/ต่างด้าว)

           4. สำเนาหนังสือเดินทาง (Passport) หรือสำเนาหนังสือเดินทางชั่วคราว หรือเอกสารรับรองบุคคลที่ทางราชการออกให้ (ต่างชาติ/ต่างด้าว)

           5. ใบรับรองแพทย์ตัวจริงที่ระบุวันหยุดงาน

           6. หนังสือรับรองของนายจ้าง เพื่อยืนยันว่าได้รับค่าจ้างในวันที่ลาป่วยครบ 30 วันใน 1 ปีปฏิทิน (ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน) และแพทย์มีคำสั่งให้หยุดงานต่ออีก

           7. สถิติวันลาป่วยที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี)

           8. กรณีเปลี่ยนชื่อ ชื่อ-สกุลให้แนบสำเนาเอกสารใบเปลี่ยนชื่อ ชื่อ-สกุล

           9. สำเนาสมุดบัญชีธนาคาร ประเภทออมทรัพย์หน้าแรก ที่มีชื่อและและเลขที่บัญชี มี 10 ธนาคาร โดยไม่มีค่าธรรมเนียม

ติดโควิดขอเงินชดเชยจากประกันสังคมได้

ผู้ประกันตนตามมาตรา 39


           - จะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ร้อยละ 50 โดยคิดจากฐานอัตราการนำส่งเงินสมทบของผู้ประกันตนมาตรา 39 (4,800 บาท) ครั้งละไม่เกิน 90 วัน ปีละไม่เกิน 180 วัน ทั้งนี้ พิจารณาจากเอกสารหลักฐาน และใบรับรองแพทย์ และผู้ประกันตน ม.33 และ ม.39 ต้องมีการนำส่งเงินสมทบ 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนใช้สิทธิ์ ตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขฯ

เงื่อนไขการได้รับสิทธิ เงินทดแทนการขาดรายได้ มาตรา 39

           1. แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน (สปส.2-01)

           2. บัตรประจำตัวประชาชน

           3. สำเนาบัตรประกันสังคม (เฉพาะต่างชาติ/ต่างด้าว)

           4. สำเนาหนังสือเดินทาง (Passport) หรือสำเนาหนังสือเดินทางชั่วคราว หรือเอกสารรับรองบุคคลที่ทางราชการออกให้ (เฉพาะต่างชาติ/ต่างด้าว)

           5. ใบรับรองแพทย์ตัวจริง ที่ระบุวันหยุดงาน

           6. กรณีเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุลให้แนบสำเนาเอกสารใบเปลี่ยนชื่อ ชื่อ-สกุล ด้วย

           7. สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร ประเภทออมทรัพย์หน้าแรก ซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชี ใช้ได้ 10 ธนาคาร โดยไม่มีค่าธรรมเนียม

ติดโควิดขอเงินชดเชยจากประกันสังคมได้

ผู้ประกันตนตามมาตรา 40


           - จะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ ตามทางเลือก 1-2-3 โดยพิจารณาจากเอกสารหลักฐาน และใบรับรองแพทย์ และมีการนำส่งเงินสมทบ 3 เดือน ภายในระยะเวลา 4 เดือนก่อนใช้สิทธิ์ ตามหลักเกณฑ์เงื่อนไข

เงื่อนไขการรับเงินทดแทนการขาดรายได้ ผู้ประกันตนมาตรา 40

           1. แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนผู้ประกันตนมาตรา 40 (สปส. 2-01/ม.40)

           2. บัตรประจำตัวประชาชนตัวจริง พร้อมสำเนา

           3. ใบรับรองแพทย์ตัวจริง หรือสำเนาเวชระเบียน (ต้องให้เจ้าหน้าที่เวชระเบียนเซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง พร้อมประทับตราสถานพยาบาล)

           4. สำเนาสมุดบัญชีธนาคาร ประเภทออมทรัพย์

           ทั้งนี้ ยื่นเรื่องได้ที่สำนักงานประกันสังคมพื้นที่ (ยกเว้นสำนักงานใหญ่ภายในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข)
ขอบคุณข้อมูลจาก สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน, กรุงเทพธุรกิจ

เรื่องที่คุณอาจสนใจ
ชี้เป้า วิธีรับเงินขาดรายได้ สำหรับคนติดโควิด อยู่ในประกันสังคม ม.33 ม.39 ม.40 ดูเลย อัปเดตล่าสุด 18 มีนาคม 2565 เวลา 13:05:56 37,543 อ่าน
TOP