อั้นต่อไม่ไหว ภาคเอกชนจ่อขึ้นราคาสินค้า ใน 1 - 2 เดือน มองปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบ รวมถึงราคาน้ำมันแพง ทำให้ของแพงขึ้น คาดต้องทนภาวะสินค้าแพง ลากยาวอีก 3 - 6 เดือน หรือถึงสิ้นปี
เป็นสถานการณ์ความเดือดร้อนที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของคนทั่วประเทศ สำหรับภาวะของแพง ที่ไม่ว่าจะเป็นเนื้อสัตว์อย่างเนื้อหมู เนื้อไก่ ไข่สด หรือแม้กระทั่งวัตถุดิบอื่น ๆ พาก็พากันขึ้นราคาสินค้าในช่วงเวลาที่ผ่านมา ซึ่งก่อนหน้านี้ทางรัฐบาลได้ออกมาให้ความมั่นใจ ว่าสถานการณ์สินค้าแพงนี้เป็นเพียงการชั่วคราว
อย่างไรก็ตาม ล่าสุด (7 กุมภาพันธ์ 2565) เฟซบุ๊ก สรยุทธ สุทัศนะจินดา กรรมกรข่าว รายงานว่า นายวิรัตน์ เอื้อนฤมิต รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เผยผลสำรวจความคิดเห็นของผู้บริหาร ส.อ.ท. หรือ CEO Survey ในเดือนกุมภาพันธ์ เรื่อง สินค้าแพง ค่าครองชีพพุ่ง จะช่วยเหลือประชาชนได้อย่างไร
โดยผู้บริหาร ส.อ.ท. ชี้ว่าปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบ
และต้นทุนการผลิตที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น รวมถึง
ราคาพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว
เป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบทำให้ราคาสินค้าปรับตัวสูงขึ้น รวมถึงมองว่า
ภาวะราคาสินค้าแพง จะลากยาว 3 - 6 เดือน หรือ อาจยาวไปจนถึงสิ้นปีนี้
หากราคาพลังงานยังทรงตัวอยู่ในระดับสูง
ทั้งนี้ ภาคเอกชนส่วนใหญ่จะทนตรึงราคาสินค้า โดยไม่ปรับขึ้นราคาได้อีกแค่ 1 - 2 เดือนเท่านั้น
โดยภาคเอกชน เห็นว่า รัฐควรลดค่าสาธารณูปโภค เช่น ค่าไฟฟ้า, ค่าน้ำประปา, ค่าเดินทาง รวมถึงการลดภาษีสรรพสามิตน้ำมัน และสินค้าจำเป็นต่อการดำรงชีพอื่น ๆ เพื่อช่วยลดภาระค่าครองชีพให้แก่ประชาชน
ขอบคุณข้อมูลจาก เฟซบุ๊ก สรยุทธ สุทัศนะจินดา กรรมกรข่าว
อย่างไรก็ตาม ล่าสุด (7 กุมภาพันธ์ 2565) เฟซบุ๊ก สรยุทธ สุทัศนะจินดา กรรมกรข่าว รายงานว่า นายวิรัตน์ เอื้อนฤมิต รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เผยผลสำรวจความคิดเห็นของผู้บริหาร ส.อ.ท. หรือ CEO Survey ในเดือนกุมภาพันธ์ เรื่อง สินค้าแพง ค่าครองชีพพุ่ง จะช่วยเหลือประชาชนได้อย่างไร
ทั้งนี้ ภาคเอกชนส่วนใหญ่จะทนตรึงราคาสินค้า โดยไม่ปรับขึ้นราคาได้อีกแค่ 1 - 2 เดือนเท่านั้น
โดยภาคเอกชน เห็นว่า รัฐควรลดค่าสาธารณูปโภค เช่น ค่าไฟฟ้า, ค่าน้ำประปา, ค่าเดินทาง รวมถึงการลดภาษีสรรพสามิตน้ำมัน และสินค้าจำเป็นต่อการดำรงชีพอื่น ๆ เพื่อช่วยลดภาระค่าครองชีพให้แก่ประชาชน
ขอบคุณข้อมูลจาก เฟซบุ๊ก สรยุทธ สุทัศนะจินดา กรรมกรข่าว