ก่อนซื้อหุ้นสักตัวควรเข้าใจให้ชัดเจนก่อนว่า "หุ้น" คืออะไร ? สมมติว่า เราใฝ่ฝันอยากเป็นเจ้าของบริษัท แต่ไม่มีเงินทุนที่จะสร้างกิจการด้วยมือของตัวเอง การใช้เงินเริ่มต้นแค่หลักร้อย หลักพัน เข้าไปซื้อหุ้นของบริษัทระดับประเทศแล้วเติบโตไปกับกิจการนั้น ก็เหมือนได้ร่วมลงทุนและเป็นเจ้าของร่วมในบริษัทไปโดยปริยาย และอาจได้รับผลตอบแทนในรูปแบบกำไรจากส่วนต่างของราคา (Capital Gain) หรือเงินปันผล (Dividend) ตามนโยบายของแต่ละบริษัท แต่หากผลการดำเนินงานของบริษัทนั้นมีปัญหา ผู้ถือหุ้นอย่างเราก็ต้องร่วมรับภาระและอาจสูญเสียเงินลงทุนไปด้วยเช่นกัน นี่คือความเสี่ยงของการลงทุนในหุ้นนั่นเอง
1. เปิดบัญชีหลักทรัพย์
ถ้าจะซื้อหุ้นต้องเปิดบัญชีหลักทรัพย์ หรือ “พอร์ตหุ้น” กับบริษัทหลักทรัพย์ (โบรกเกอร์) โดยมือใหม่แนะนำให้เลือกแบบบัญชีเงินฝาก Cash Balance หรือ Cash Deposit ซึ่งจะซื้อหุ้นได้ไม่เกินจำนวนเงินที่เรานำฝากเข้าโบรกเกอร์ ป้องกันการซื้อหุ้นเกินวงเงินที่ตัวเองมี โดยเตรียมเอกสาร เช่น สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาสมุดเงินฝากธนาคารหน้าแรก หลักฐานทางการเงินย้อนหลัง (Statement) 3-6 เดือน ฯลฯ ยื่นกับโบรกเกอร์ หรือเปิดบัญชีผ่านระบบออนไลน์
ทั้งนี้ ปัจจุบันมีโบรกเกอร์อยู่หลายบริษัท ต่างกันที่เครื่องมือในการเทรด การให้ข้อมูลและบทวิเคราะห์หุ้น การดูแลอำนวยความสะดวกของเจ้าหน้าที่การตลาด (Marketing) สิทธิพิเศษต่าง ๆ รวมทั้งอัตราค่าธรรมเนียมซื้อ-ขายหุ้นที่ไม่เท่ากัน ลองศึกษาข้อมูลของโบรกเกอร์ต่าง ๆ ได้ที่เว็บไซต์ settrade.com
2. ศึกษาเครื่องมือซื้อ-ขายหุ้น
ภาพจาก settrade.com
ตัวอย่างกระดานเทรด Streaming บนเว็บไซต์
3. ศึกษาข้อมูลหุ้นและจัดพอร์ต
4. โอนเงินเข้าพอร์ต
คนที่เปิดบัญชีแบบ Cash Balance จะต้องโอนเงินเข้าพอร์ตก่อนเทรด (ศึกษาวิธีโอนเงินเข้าพอร์ตได้จากโบรกเกอร์ที่สมัครไว้) โดยมือใหม่อาจเริ่มลงทุนสัก 5-10% ของเงินลงทุนทั้งหมดที่เราเตรียมไว้ เพื่อฝึกฝนดูก่อน หากขาดทุนไปจะได้ไม่เสียหายมากนัก
แล้วต้องมีเงินเท่าไรถึงจะซื้อหุ้นได้ ? คำตอบขึ้นอยู่กับราคาและจำนวนหุ้นที่ต้องการซื้อ โดยการเทรดในกระดานหลักต้องซื้อขั้นต่ำ 100 หุ้น บวกค่าธรรมเนียมให้ตลาดหลักทรัพย์ฯ 0.007% ของมูลค่าซื้อ-ขาย, ค่าธรรมเนียมโบรกเกอร์ ประมาณ 0.15-0.25% หรือค่าธรรมเนียมการเทรดขั้นต่ำ 50 บาท (บางโบรกเกอร์) และค่าธรรมเนียมทั้งหมดยังต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) อีก 7% ดังนั้น ถ้าเราอยากซื้อหุ้นราคา 10 บาท จำนวน 100 หุ้น ก็ควรมีเงินในพอร์ตเผื่อเหลือเผื่อขาดไว้สัก 1,100 บาท5. ซื้อ-ขายหุ้น
เราสามารถซื้อ-ขายหุ้นได้ในช่วงเวลาที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ เปิดทำการ 2 ช่วง คือ ช่วงเช้า ระหว่างเวลา 09.55-10.00 น. ถึง 12.30 น. และช่วงบ่าย ระหว่างเวลา 14.25-14.30 น. ถึง 16.35-16.40 น. ในวันทำการตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย
สิ่งสำคัญในการซื้อ-ขายหุ้นเองก็คือ ต้องพิมพ์ชื่อหุ้น ราคาและจำนวนหุ้นที่ต้องการซื้อ-ขายให้ดี เพื่อไม่ให้ผิดพลาด และเมื่อส่งคำสั่งซื้อ-ขายไปเรียบร้อย ต้องรอให้คำสั่งถูกจับคู่ (Matched) ก่อนถึงจะสำเร็จ และเงินจะถูกตัดออกจากพอร์ต หรือกรณีขายหุ้นได้ เงินก็จะเข้าพอร์ต สามารถใช้ซื้อหุ้นต่อได้ทันที
ตัวอย่างการใช้แอปพลิเคชัน Streaming ส่งคำสั่งซื้อ-ขายหุ้น
ปัญหาของมือใหม่คือ ยังไม่มีข้อมูลเลยไม่รู้ว่าจะเลือกหุ้นตัวไหนดี งั้นถามตัวเองดูก่อนว่าเราต้องการลงทุนเพื่อจุดประสงค์ใด จะได้เลือกหุ้นที่เหมาะสม ซึ่งหลายคนมักเริ่มต้นเล่นหุ้นปันผลหรือหุ้นที่มีโอกาสสร้างผลตอบแทนได้ในระยะยาว ใครมาทางสายนี้ลองดูเทคนิคการเลือกหุ้นต่อไปนี้กัน
- เลือกหุ้นจากดัชนี SET50 หรือ SET100 : โดยรวบรวม 50-100 อันดับหุ้นที่ดีที่สุดของตลาดหุ้นไทยไว้ หุ้นเหล่านี้จะมีมูลค่าตามราคาตลาดสูง และมีสภาพคล่องการซื้อ-ขายที่ดี
- เลือกหุ้นจากธุรกิจที่คุ้นเคยในชีวิตประจำวัน : ลองสังเกตดูว่าสินค้าประเภทไหนที่คนจำเป็นต้องใช้ ขาดไม่ได้ หรือเป็นกิจการผูกขาด มีคู่แข่งในตลาดไม่มาก
- เลือกหุ้นจากธุรกิจที่เป็นผู้นำในตลาด : เนื่องจากการมีส่วนแบ่งทางการตลาดมาก สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อมั่นของผู้ใช้บริการ จึงมีโอกาสเติบโตสูง
- เลือกหุ้นของบริษัทใหญ่ที่มีความมั่นคง : เพราะส่วนใหญ่มีโครงสร้างทางการเงินแข็งแรง มีปัจจัยพื้นฐานแข็งแกร่ง ผลประกอบการดี และจ่ายเงินปันผลอย่างสม่ำเสมอ
โดยถ้าดูจากข้อมูลมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด หรือ มาร์เกตแคป (Market Capitalization) จะพบว่า หุ้นตระกูล ปตท. มีมาร์เกตแคปสูงถึง 2.5 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 13.75% ของมูลค่าหุ้นไทยทั้งหมด (อ้างอิงจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ณ วันที่ 26 สิงหาคม 2564) นั่นแปลว่า กลุ่ม ปตท. ได้รับความเชื่อมั่นจากนักลงทุนสูงมากทีเดียว และการขยับขึ้น-ลงของราคาหุ้นในกลุ่มย่อมมีผลต่อ SET INDEX หรือดัชนีตลาดหุ้นของไทยทั้งกระดานได้เลย ว่าแต่ หุ้นในกลุ่ม ปตท. มีอะไรบ้างนะ ลองมาศึกษาธุรกิจของหุ้นแต่ละตัวกันหน่อย1. PTT : บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
ภาพจาก บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
ธุรกิจด้านพลังงานและสาธารณูปโภคอันดับ 1 ของไทย ที่ไม่ได้ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับก๊าซธรรมชาติ น้ำมันและปิโตรเคมี ทั้งในและต่างประเทศเพียงอย่างเดียว แต่ทาง ปตท. ก็ยังให้ความสำคัญกับธุรกิจเทคโนโลยีและวิศวกรรม รวมถึงการพัฒนาธุรกิจ New Business S-Curve เช่น ธุรกิจไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน ธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้า ธุรกิจยา Nutrition และอุปกรณ์ทางการแพทย์ เป็นต้น เพื่อรองรับการเติบโตในประเทศและต่างประเทศด้วย
สำหรับหุ้น PTT มีกระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ถึง 51% ถือเป็นหุ้นที่มีมาร์เกตแคปขนาดใหญ่ที่สุดในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย อีกทั้งยังเป็นบริษัทที่มีรายได้และกำไรสูงสุดของประเทศ โดยใน 6 เดือนแรกของปี 2564 ทำรายได้รวม 1 ล้านล้านบาท และมีกำไรสุทธิกว่า 5.7 หมื่นล้านบาท หรือคิดเป็นอัตรากำไรสุทธิที่ 7.86% (ศึกษาข้อมูลหุ้น PTT ได้ที่ pttplc.com)2. PTTEP : บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)
ภาพจาก บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)
3. OR : บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน)
ภาพจาก บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน)
4. PTTGC : บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
ภาพจาก บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
5. GPSC : บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน)
ภาพจาก บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน)
6. TOP : บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน)
ภาพจาก บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน)
7. IRPC : บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน)
ภาพจาก บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน)
8. GGC : บริษัท โกลบอลกรีนเคมิคอล จำกัด (มหาชน)
ภาพจาก บริษัท โกลบอลกรีนเคมิคอล จำกัด (มหาชน)
สุดท้ายแล้วสิ่งที่ต้องเน้นย้ำเมื่อคิดจะเข้ามาแสวงหาผลตอบแทนจากตลาดหุ้นก็คือ ทุกการลงทุนล้วนมีความเสี่ยง โดยเฉพาะหุ้น ที่มีความเสี่ยงสูงและผลตอบแทนไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายด้าน ทั้งตัวของบริษัท นโยบายภาครัฐ หรือสภาวะเศรษฐกิจทั้งในและนอกประเทศ แม้จะมีโอกาสทำกำไรงาม ๆ แต่ก็ต้องเตรียมรับมือกับสภาวะขาดทุนไว้ด้วย
ดังนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องวิเคราะห์ข้อมูลของบริษัท และติดตามข่าวสารบ้านเมืองอย่างรอบด้าน ตลอดจนศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับการลงทุนก่อนตัดสินใจเก็บหุ้นตัวไหนเข้าพอร์ต ถึงจะสามารถเอาตัวรอดจากตลาดหุ้นได้
ขอบคุณข้อมูลจาก
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (1), ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (2), ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (3), บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน), บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน), บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน), บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน), บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน), บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน), บริษัท โกลบอลกรีนเคมิคอล จำกัด (มหาชน), บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน), ธนาคารไทยพาณิชย์