ธนาคารแห่งประเทศไทย เตรียมพิจารณาประกาศควบคุมค่าธรรมเนียมการทวงหนี้ หลังประชาชนประสบภาวะเศรษฐกิจย่ำแย่ แต่ยังมีเสียงค้านจากผู้ประกอบการสินเชื่อ
ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูล
จากสถานการณ์ประเทศไทยตอนนี้ ประชาชนทุกหย่อมหญ้าล้วนได้รับผลกระทบกันหมด สืบเนื่องจากปัญหาการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ที่ดูท่าจะยังไม่คลี่คลายได้เร็ว ๆ นี้ ส่งผลให้คนได้รับผลกระทบจากมาตรการต่าง ๆ ของภาครัฐ อย่างการล็อกดาวน์พื้นที่สีแดงเข้ม ทำให้คนขาดรายได้ แต่ภาระหรือหนี้สินที่ยังมีอยู่ และยังคงต้องใช้จ่ายกันนั้น
วันที่ 11 สิงหาคม 2564 กรุงเทพธุรกิจ รายงานว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท. จะมีการควบคุมค่าธรรมเนียมการทวงหนี้ให้ลดลงไปเหลือ 50 บาทต่อรอบบัญชี ในกรณีค้างไม่เกิน 1 งวด หรือค้างชำระ 2 งวดขึ้นไป ต้องไม่เกิน 100 บาท และค่าติดตามจากการลงพื้นที่ 400 บาท สืบเนื่องจากตัวเลขหนี้ครัวเรือนของไทยในไตรมาส 1 ปี 2564 สูงถึง 14 ล้านล้านบาท ส่งผลทำให้สัดส่วนหนี้ครัวเรือนมาแตะ 90.5 เปอร์เซ็นต์ของจีดีพี
ทั้งนี้ ประกาศดังกล่าวยังไม่ได้บทสรุป คาดว่าอยู่ระหว่าง ธปท. พิจารณา หลังยังมีเสียงแตกจากทางฝั่งผู้ประกอบการ ที่ต้องรับความเสี่ยงปล่อยสินเชื่อประเภทนี้ เพราะแต่ละบริษัทมีต้นทุนที่แตกต่างกัน
ก่อนหน้านี้ ธปท. ออกมาตรการแก้ปัญหามาอย่างต่อเนื่อง อย่าง คลินิกแก้หนี้ ทางด่วนแก้หนี้ มหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้ มาตรการลดเพดานดอกเบี้ย สินเชื่อบัตรเครดิต และสินเชื่อส่วนบุคคลลงอีก 2 - 4 เปอร์เซ็นต์ และมาตรการดูแลในสถานการณ์โควิดตั้งแต่ปี 2563 จนล่าสุดมาตรการระยะ 3 ในช่วง พ.ศ. 2564
โดยประเทศไทยมี พ.ร.บ.การทวงถามหนี้ พ.ศ. 2558 เกิดขึ้นหลังจากมีการทวงถามหนี้ต่อลูกหนี้ที่ไม่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นการใช้ถ้อยคำที่เป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลอย่างรุนแรง คุกคาม ขู่เข็ญ ใช้กำลังประทุษร้าย หรือกระทำการให้ลูกหนี้เสียชื่อเสียงและการสร้างความเดือดร้อนรำคาญให้กับบุคคลอื่น ซึ่งอาศัยช่องโหว่ที่ไม่ใช่สถาบันการเงินภายใต้ควบคุมของ ธปท.
ล่าสุดเมื่อปี 2563 มีการกำหนดค่าธรรมเนียมคือ หากค้างชำระ 1 เดือน จะคิดค่าธรรมเนียมที่ 80 บาท ที่เหลือค้างชำระ 2 - 3 เดือน คิดค่าธรรมเนียม 100 บาทเท่ากัน แต่ก็ยังปฏิบัติจริงไม่ได้ทั้งหมด เพราะผู้ประกอบการเช่าซื้อหรือลิสซิ่ง มากกว่า 50 ราย มีการคิดค่าธรรมเนียมที่แตกต่างกัน
ขอบคุณข้อมูลจาก กรุงเทพธุรกิจ
ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูล
จากสถานการณ์ประเทศไทยตอนนี้ ประชาชนทุกหย่อมหญ้าล้วนได้รับผลกระทบกันหมด สืบเนื่องจากปัญหาการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ที่ดูท่าจะยังไม่คลี่คลายได้เร็ว ๆ นี้ ส่งผลให้คนได้รับผลกระทบจากมาตรการต่าง ๆ ของภาครัฐ อย่างการล็อกดาวน์พื้นที่สีแดงเข้ม ทำให้คนขาดรายได้ แต่ภาระหรือหนี้สินที่ยังมีอยู่ และยังคงต้องใช้จ่ายกันนั้น
วันที่ 11 สิงหาคม 2564 กรุงเทพธุรกิจ รายงานว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท. จะมีการควบคุมค่าธรรมเนียมการทวงหนี้ให้ลดลงไปเหลือ 50 บาทต่อรอบบัญชี ในกรณีค้างไม่เกิน 1 งวด หรือค้างชำระ 2 งวดขึ้นไป ต้องไม่เกิน 100 บาท และค่าติดตามจากการลงพื้นที่ 400 บาท สืบเนื่องจากตัวเลขหนี้ครัวเรือนของไทยในไตรมาส 1 ปี 2564 สูงถึง 14 ล้านล้านบาท ส่งผลทำให้สัดส่วนหนี้ครัวเรือนมาแตะ 90.5 เปอร์เซ็นต์ของจีดีพี
ทั้งนี้ ประกาศดังกล่าวยังไม่ได้บทสรุป คาดว่าอยู่ระหว่าง ธปท. พิจารณา หลังยังมีเสียงแตกจากทางฝั่งผู้ประกอบการ ที่ต้องรับความเสี่ยงปล่อยสินเชื่อประเภทนี้ เพราะแต่ละบริษัทมีต้นทุนที่แตกต่างกัน
ก่อนหน้านี้ ธปท. ออกมาตรการแก้ปัญหามาอย่างต่อเนื่อง อย่าง คลินิกแก้หนี้ ทางด่วนแก้หนี้ มหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้ มาตรการลดเพดานดอกเบี้ย สินเชื่อบัตรเครดิต และสินเชื่อส่วนบุคคลลงอีก 2 - 4 เปอร์เซ็นต์ และมาตรการดูแลในสถานการณ์โควิดตั้งแต่ปี 2563 จนล่าสุดมาตรการระยะ 3 ในช่วง พ.ศ. 2564
โดยประเทศไทยมี พ.ร.บ.การทวงถามหนี้ พ.ศ. 2558 เกิดขึ้นหลังจากมีการทวงถามหนี้ต่อลูกหนี้ที่ไม่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นการใช้ถ้อยคำที่เป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลอย่างรุนแรง คุกคาม ขู่เข็ญ ใช้กำลังประทุษร้าย หรือกระทำการให้ลูกหนี้เสียชื่อเสียงและการสร้างความเดือดร้อนรำคาญให้กับบุคคลอื่น ซึ่งอาศัยช่องโหว่ที่ไม่ใช่สถาบันการเงินภายใต้ควบคุมของ ธปท.
ล่าสุดเมื่อปี 2563 มีการกำหนดค่าธรรมเนียมคือ หากค้างชำระ 1 เดือน จะคิดค่าธรรมเนียมที่ 80 บาท ที่เหลือค้างชำระ 2 - 3 เดือน คิดค่าธรรมเนียม 100 บาทเท่ากัน แต่ก็ยังปฏิบัติจริงไม่ได้ทั้งหมด เพราะผู้ประกอบการเช่าซื้อหรือลิสซิ่ง มากกว่า 50 ราย มีการคิดค่าธรรมเนียมที่แตกต่างกัน
ขอบคุณข้อมูลจาก กรุงเทพธุรกิจ