สรุปจบกระทู้เดียว มาตรการช่วยเหลือเยียวยานายจ้าง - ลูกจ้าง ใครได้บ้าง แต่ละส่วนได้เงินกันเท่าไร ใช้เกณฑ์การแบ่งแยกยังไง สูงสุดได้รับถึง 9,500 บาท ถ้าเป็นลูกจ้างในระบบประกันสังคม เพราะได้เงิน 2 ส่วน

สรุปแนวทางการช่วยเหลือเบื้องต้นให้เข้าใจง่าย
- รัฐบาลจะมีการช่วยเหลือทั้งนายจ้างและลูกจ้าง
- จำนวนเงินการช่วยทั้งหมดจะได้รับต่างกันไป ขึ้นอยู่กับว่าสถานประกอบการนั้น ๆ อยู่ในระบบประกันสังคมหรือไม่
- กลุ่มธุรกิจที่ได้รับการเยียวยา มี 4 ประเภท ได้แก่ ก่อสร้าง, ที่พักโรงแรม, บริการด้านอาหาร, ความบันเทิงและสันทนาการ
- พื้นที่ที่ได้รับการช่วยเหลือ 10 จังหวัด กรุงเทพฯ, นครปฐม, นนทบุรี, ปทุมธานี, สมุทรปราการ, สมุทรสาคร, นราธิวาส, ปัตตานี, ยะลา และสงขลา

อยู่ในระบบประกันสังคม จะได้รับการช่วยเหลือ ดังนี้
1. นายจ้าง จะได้รับเงินช่วยเหลือคนละ 3,000 บาท เป็นการจ่ายรายหัวให้กับลูกจ้างที่อยู่ในสถานประกอบการจริง ไม่เกิน 200 คน เป็นเวลา 1 เดือน
- รับค่าจ้างในสัดส่วน 50% แต่ไม่เกิน 7,500 บาทต่อคนต่อเดือน ซึ่งส่วนนี้จะได้เฉพาะลูกจ้างที่อยู่ในระบบประกันสังคมเท่านั้น
- รัฐบาลจ่ายให้อีก 2,000 บาทต่อคน กรณีลูกจ้างถูกลดเงินเดือน หรือบางธุรกิจไม่จ่ายเงินเดือน

ไม่ได้อยู่ในระบบประกันสังคม จะได้รับการช่วยเหลือ ดังนี้
1. นายจ้าง จะได้รับเงินช่วยเหลือคนละ 3,000 บาท เป็นการจ่ายรายหัวให้กับลูกจ้างที่อยู่ในสถานประกอบการจริง ไม่เกิน 200 คน เป็นเวลา 1 เดือน แต่การที่จะได้รับเงิน ต้องทำเรื่องส่งข้อมูลเข้าประกันสังคมภายใน 1 เดือนเพื่อขอรับความช่วยเหลือ
2. ลูกจ้าง จะได้รับเงินเพียงส่วนเดียวคือ เงินช่วยเหลือจากรัฐบาล 2,000 บาทต่อคน สำหรับลูกจ้างถูกลดเงินเดือนหรือบางธุรกิจไม่จ่ายเงินเดือน
3. ผู้ประกอบการไม่มีลูกจ้าง ไม่สามารถเข้าระบบประกันสังคมได้ ก็สามารถรับความช่วยเหลือได้คือ ลงทะเบียนผ่านแอปฯ ถุงเงิน ในส่วนมาตรการคนละครึ่ง เพื่อรับเงินเยียวยา 3,000 บาท ผ่านแอปฯ