ธปท. เปิดมหกรรมไกล่เกลี่ยสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ออนไลน์ ช่วยลูกหนี้เดือดร้อนจากโควิด 19 โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่ม 3 แนวทางช่วยเหลือ ลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ วันนี้ - 31 ก.ค. 64
วันที่ 31 พฤษภาคม 2564 ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท. จัดงานมหกรรมไกล่เกลี่ยสินเชื่อบัตรเครดิต และสินเชื่อส่วนบุคคลออนไลน์ ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน ถึง 31 กรกฎาคม 2564 เพื่อเป็นช่องทางช่วยลดภาระของลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด 19 ระลอกใหม่ ในการชำระหนี้ของสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์
มหกรรมไกล่เกลี่ยสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ครั้งนี้ ครอบคลุมลูกหนี้เช่าซื้อบุคคลธรรมดาทุกกลุ่ม ได้แก่
- 1. กลุ่มที่ยังไม่เป็นหนี้เสีย (NPL) หรือกลุ่มที่เป็น NPL แต่รถยังไม่ถูกยึด
- 2. กลุ่มลูกหนี้ที่รถถูกยึดแล้วแต่ยังไม่ถูกขายทอดตลาด
- 3. กลุ่มลูกหนี้ที่รถถูกขายทอดตลาดแล้ว แต่ยังมีหนี้เช่าซื้อส่วนขาด
ภาพจาก ธนาคารแห่งประเทศไทย
เกณฑ์การช่วยเหลือถูกแบ่งตามความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้ ประกอบด้วย
ลูกหนี้ที่ยังไม่เป็น NPL หรือเป็น NPL แล้วแต่รถยังไม่ถูกยึด
จะได้รับการปรับโครงสร้างหนี้ ลดค่างวด ขยายระยะเวลาชำระหนี้ สำหรับลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบรุนแรง สามารถขอพักชำระค่างวดได้ 3 เดือน หรือตามผลกระทบที่ลูกหนี้ได้รับ คำนวณดอกเบี้ยในช่วงพักชำระหนี้จากฐานของค่างวดที่ได้พักชำระหนี้ตามเกณฑ์ของ สคบ. ซึ่งจะทำให้ดอกเบี้ยในช่วงที่พักชำระหนี้ถูกลงอย่างมาก
สำหรับลูกหนี้ที่เคยพักชำระค่างวดหรือปรับปรุงโครงสร้างหนี้ และได้รับผลกระทบรุนแรงจนไม่สามารถชำระหนี้ต่อไปได้ สามารถคืนรถยนต์เพื่อลดภาระหนี้ได้ และหากราคาขายรถทอดตลาดที่ได้รับต่ำกว่าภาระหนี้คงค้าง ลูกหนี้สามารถขอผ่อนปรนเพิ่มเติมได้โดยผู้ให้บริการทางการเงินพิจารณายกหนี้ส่วนที่เหลือให้ตามความเหมาะสม
ลูกหนี้ที่รถถูกยึดแล้ว แต่ยังไม่ถูกขายทอดตลาด
ลูกหนี้สามารถใช้ช่องทางของงานมหกรรมไกล่เกลี่ยสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ในครั้งนี้ เจรจากับเจ้าหนี้เพื่อขอรถที่ถูกยึดไปคืน โดยเจ้าหนี้จะชะลอการขายทอดตลาดและปรับโครงสร้างหนี้ ช่วยให้ลูกหนี้มีโอกาสนำรถกลับไปประกอบอาชีพหรือใช้ในชีวิตประจำวันได้
ลูกหนี้ที่รถถูกขายทอดตลาดแล้วแต่ยังมีมูลหนี้เช่าซื้อส่วนที่ขาด
กรณีรถถูกขายทอดตลาดแล้ว แต่เงินที่ได้รับน้อยกว่ายอดหนี้เช่าซื้อคงเหลือ ทำให้มียอดหนี้ส่วนขาด หรือติ่งหนี้ โดยลูกหนี้ที่มีปัญหานี้สามารถเข้าไกล่เกลี่ยเจ้าหนี้ ทั้งในส่วนที่ยังไม่มีการฟ้อง หรือฟ้องแล้ว เปิดโอกาสให้เจ้าหนี้และลูกหนี้เช่าซื้อสามารถตกลงกันได้ง่ายขึ้นและตรงไปตรงมา
ภาพจาก ธนาคารแห่งประเทศไทย
ช่องทางร่วมมหกรรมไกล่เกลี่ยสินเชื่อเช่าซื้อ ประกอบด้วย
ผ่านเว็บไซต์ของรัฐ เช่น กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ, กระทรวงยุติธรรม, สำนักงานศาลยุติธรรม, สคบ., ธปท. และศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.) หรือกดที่นี่
ผ่านเว็บไซต์ของผู้ให้บริการทางการเงินที่เข้าร่วมมหกรรม เช่น ธนาคารกรุงศรีอยุธยา, ธนาคารทหารไทยธนชาต, ธนาคารไทยพาณิชย์, ซีไอเอ็มบี ไทย ออโต้, ลีสซิ่งกสิกรไทย, อยุธยา แคปปิตอล ออโต้ ลีส, กรุงไทยธุรกิจลีสซิ่ง, เงินติดล้อ, บ.ชยภาค, ตะวันออกพาณิชย์ลีสซิ่ง, อิออน ธนสินทรัพย์, เฮงลิสซิ่ง แอนด์ แคปปิตอล
วิธีลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์
- เข้าไปที่เว็บไซต์หลัก คือ 1213.or.th
- กรอกชื่อ นามสกุล เลือกรหัสอ้างอิงบุคคล กรอกหมายเลขบัตรประชาชน หรือเลขหนังสือเดินทาง กดดำเนินการ
- กรอกหมายเลขโทรศัพท์มือถือสำหรับเจ้าหนี้ติดต่อกลับ อีเมล ที่อยู่
- เลือกคำตอบ ช่องทางที่ลูกค้าทราบถึงการไกล่เกลี่ย
- เลือกคำตอบ อาชีพ
- เลือกคำตอบ ผลกระทบ
- กดดำเนินการ
- ทั้งนี้ ขอให้ลูกหนี้ศึกษาวิธีการกรอกข้อมูลอย่างละเอียด และกรอกข้อมูลให้ถูกต้องครบถ้วน เพราะข้อมูลที่ไม่ถูกต้องจะทำให้คำขอไกล่เกลี่ยของท่านไม่ได้รับการพิจารณาช่วยเหลือ
หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติม ทำอย่างไร
ประชาชนที่ไม่ถนัดในการกรอกข้อมูลผ่านช่องทางออนไลน์ หรือต้องการความช่วยเหลือเพิ่มเติม สามารถติดต่อ ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.) โทรศัพท์ 1213 เพื่อขอคำแนะนำและความช่วยเหลือในการกรอกข้อมูล ในวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 08.30-16.30 น. หากนอกเวลาทำการสามารถฝากชื่อและเบอร์โทรศัพท์ได้ตลอด 24 ชั่วโมง หรือส่งอีเมลมาที่ Debtfair@bot.or.th เพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับไป
ขอบคุณข้อมูลจาก bot.or.th
วันที่ 31 พฤษภาคม 2564 ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท. จัดงานมหกรรมไกล่เกลี่ยสินเชื่อบัตรเครดิต และสินเชื่อส่วนบุคคลออนไลน์ ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน ถึง 31 กรกฎาคม 2564 เพื่อเป็นช่องทางช่วยลดภาระของลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด 19 ระลอกใหม่ ในการชำระหนี้ของสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์
มหกรรมไกล่เกลี่ยสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ครั้งนี้ ครอบคลุมลูกหนี้เช่าซื้อบุคคลธรรมดาทุกกลุ่ม ได้แก่
- 1. กลุ่มที่ยังไม่เป็นหนี้เสีย (NPL) หรือกลุ่มที่เป็น NPL แต่รถยังไม่ถูกยึด
- 2. กลุ่มลูกหนี้ที่รถถูกยึดแล้วแต่ยังไม่ถูกขายทอดตลาด
- 3. กลุ่มลูกหนี้ที่รถถูกขายทอดตลาดแล้ว แต่ยังมีหนี้เช่าซื้อส่วนขาด
ภาพจาก ธนาคารแห่งประเทศไทย
เกณฑ์การช่วยเหลือถูกแบ่งตามความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้ ประกอบด้วย
ลูกหนี้ที่ยังไม่เป็น NPL หรือเป็น NPL แล้วแต่รถยังไม่ถูกยึด
จะได้รับการปรับโครงสร้างหนี้ ลดค่างวด ขยายระยะเวลาชำระหนี้ สำหรับลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบรุนแรง สามารถขอพักชำระค่างวดได้ 3 เดือน หรือตามผลกระทบที่ลูกหนี้ได้รับ คำนวณดอกเบี้ยในช่วงพักชำระหนี้จากฐานของค่างวดที่ได้พักชำระหนี้ตามเกณฑ์ของ สคบ. ซึ่งจะทำให้ดอกเบี้ยในช่วงที่พักชำระหนี้ถูกลงอย่างมาก
สำหรับลูกหนี้ที่เคยพักชำระค่างวดหรือปรับปรุงโครงสร้างหนี้ และได้รับผลกระทบรุนแรงจนไม่สามารถชำระหนี้ต่อไปได้ สามารถคืนรถยนต์เพื่อลดภาระหนี้ได้ และหากราคาขายรถทอดตลาดที่ได้รับต่ำกว่าภาระหนี้คงค้าง ลูกหนี้สามารถขอผ่อนปรนเพิ่มเติมได้โดยผู้ให้บริการทางการเงินพิจารณายกหนี้ส่วนที่เหลือให้ตามความเหมาะสม
ลูกหนี้ที่รถถูกยึดแล้ว แต่ยังไม่ถูกขายทอดตลาด
ลูกหนี้สามารถใช้ช่องทางของงานมหกรรมไกล่เกลี่ยสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ในครั้งนี้ เจรจากับเจ้าหนี้เพื่อขอรถที่ถูกยึดไปคืน โดยเจ้าหนี้จะชะลอการขายทอดตลาดและปรับโครงสร้างหนี้ ช่วยให้ลูกหนี้มีโอกาสนำรถกลับไปประกอบอาชีพหรือใช้ในชีวิตประจำวันได้
ลูกหนี้ที่รถถูกขายทอดตลาดแล้วแต่ยังมีมูลหนี้เช่าซื้อส่วนที่ขาด
กรณีรถถูกขายทอดตลาดแล้ว แต่เงินที่ได้รับน้อยกว่ายอดหนี้เช่าซื้อคงเหลือ ทำให้มียอดหนี้ส่วนขาด หรือติ่งหนี้ โดยลูกหนี้ที่มีปัญหานี้สามารถเข้าไกล่เกลี่ยเจ้าหนี้ ทั้งในส่วนที่ยังไม่มีการฟ้อง หรือฟ้องแล้ว เปิดโอกาสให้เจ้าหนี้และลูกหนี้เช่าซื้อสามารถตกลงกันได้ง่ายขึ้นและตรงไปตรงมา
ภาพจาก ธนาคารแห่งประเทศไทย
ช่องทางร่วมมหกรรมไกล่เกลี่ยสินเชื่อเช่าซื้อ ประกอบด้วย
ผ่านเว็บไซต์ของรัฐ เช่น กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ, กระทรวงยุติธรรม, สำนักงานศาลยุติธรรม, สคบ., ธปท. และศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.) หรือกดที่นี่
ผ่านเว็บไซต์ของผู้ให้บริการทางการเงินที่เข้าร่วมมหกรรม เช่น ธนาคารกรุงศรีอยุธยา, ธนาคารทหารไทยธนชาต, ธนาคารไทยพาณิชย์, ซีไอเอ็มบี ไทย ออโต้, ลีสซิ่งกสิกรไทย, อยุธยา แคปปิตอล ออโต้ ลีส, กรุงไทยธุรกิจลีสซิ่ง, เงินติดล้อ, บ.ชยภาค, ตะวันออกพาณิชย์ลีสซิ่ง, อิออน ธนสินทรัพย์, เฮงลิสซิ่ง แอนด์ แคปปิตอล
วิธีลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์
- เข้าไปที่เว็บไซต์หลัก คือ 1213.or.th
- กรอกชื่อ นามสกุล เลือกรหัสอ้างอิงบุคคล กรอกหมายเลขบัตรประชาชน หรือเลขหนังสือเดินทาง กดดำเนินการ
- กรอกหมายเลขโทรศัพท์มือถือสำหรับเจ้าหนี้ติดต่อกลับ อีเมล ที่อยู่
- เลือกคำตอบ ช่องทางที่ลูกค้าทราบถึงการไกล่เกลี่ย
- เลือกคำตอบ อาชีพ
- เลือกคำตอบ ผลกระทบ
- กดดำเนินการ
- ทั้งนี้ ขอให้ลูกหนี้ศึกษาวิธีการกรอกข้อมูลอย่างละเอียด และกรอกข้อมูลให้ถูกต้องครบถ้วน เพราะข้อมูลที่ไม่ถูกต้องจะทำให้คำขอไกล่เกลี่ยของท่านไม่ได้รับการพิจารณาช่วยเหลือ
หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติม ทำอย่างไร
ประชาชนที่ไม่ถนัดในการกรอกข้อมูลผ่านช่องทางออนไลน์ หรือต้องการความช่วยเหลือเพิ่มเติม สามารถติดต่อ ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.) โทรศัพท์ 1213 เพื่อขอคำแนะนำและความช่วยเหลือในการกรอกข้อมูล ในวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 08.30-16.30 น. หากนอกเวลาทำการสามารถฝากชื่อและเบอร์โทรศัพท์ได้ตลอด 24 ชั่วโมง หรือส่งอีเมลมาที่ Debtfair@bot.or.th เพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับไป