การบินไทย ปิดงบปี 2563 แทบกระอักขาดทุน 1.4 แสนล้านบาท แจงรายได้ละเอียดยิบ หาเงินเพิ่ม - ลดค่าใช้จ่าย แต่ยังไม่ดีขึ้น เตรียมส่งแผนฟื้นฟูกิจการ ภายใน 1 มีนาคม 2564
![การบินไทย การบินไทย]()
ภาพจาก Vytautas Kielaitis / Shutterstock.com
วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2564 กรุงเทพธุรกิจ รายงานว่า นายชาย เอี่ยมศิริ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่สายการเงินและการบัญชี บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า การแพร่ระบาดโควิด 19 กระทบอุตสาหกรรมการบินโลกอย่างรุนแรง โดยเฉพาะในเส้นทางบินระหว่างประเทศ ส่งผลให้ การบินไทยและบริษัทย่อยมีผู้โดยสารลดลง
ปริมาณการผลิตด้านผู้โดยสาร (ASK) ลดลง 73.7%
มีจำนวนผู้โดยสารที่ทำการขนส่งรวมทั้งสิ้น 5.87 ล้านคน ลดลงจากปีก่อน 76.1%
![การบินไทย การบินไทย]()
ภาพจาก supakitswn / Shutterstock.com
ด้านการขนส่งสินค้า อัตราส่วนการขนส่งพัสดุภัณฑ์ (Freight Load Factor) เฉลี่ยเท่ากับ 58.6% สูงกว่าปีก่อนซึ่งเฉลี่ย 53.8%
ในปี 2563 การบินไทยและบริษัทย่อย มีรายได้รวมทั้งสิ้น 48,311 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายรวมทั้งสิ้น 96,430 ล้านบาท ส่งผลให้ผลขาดทุน 48,119 ล้านบาท และมีผลขาดทุนสุทธิ จำนวน 141,180 ล้านบาท
โดยบริษัท มีค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นครั้งเดียวและส่วนใหญ่เป็นตัวเลขทางบัญชีที่ไม่มีผลกระทบกับกระแสเงินสด จำนวน 91,978 ล้านบาท ซึ่งประกอบด้วย
- ผลขาดทุนจากการด้อยค่าของเครื่องบินและสินทรัพย์สิทธิการใช้และอุปกรณ์การบินหมุนเวียน จำนวน 82,703 ล้านบาท
- ผลขาดทุนสำหรับการป้องกันความเสี่ยงของกลุ่มรายการของฐานะสุทธิจำนวน 5,227 ล้านบาท
- สำรองเงินชดเชยพนักงานในโครงการร่วมใจจากองค์กร Mutual Separation Plan (“MSP A”) จำนวน 3,098 ล้านบาท
- ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ จำนวน 895 ล้านบาท
- ผลขาดทุนจากการด้อยค่าซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 9 จำนวน 261 ล้านบาท
- กำไรจากการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนเงินลงทุนในบริษัท สายการบินนกแอร์ จำกัด (มหาชน) จำนวน 206 ล้านบาท
ทั้งนี้ บริษัทได้ลดค่าใช้จ่ายเพื่อบรรเทาผลกระทบจากโควิด 19 ได้แก่ ลดค่าใช้จ่ายบุคลากร โดยขอความร่วมมือสมัครใจลาหยุดโดยไม่รับเงินเดือน และโครงการอื่น ๆ ประกอบกับการชะลอการลงทุน การจัดซื้อจัดจ้าง และอื่น ๆ ทำให้ลดค่าใช้จ่ายจากปีก่อนได้กว่า 15,000 ล้านบาท นอกจากนี้ บริษัทยังหารายได้จากการให้บริการเที่ยวบินขนส่งสินค้า การจัดเที่ยวบินพิเศษนำคนไทยกลับบ้าน และรายได้จากฝ่ายครัวการบิน
ส่วนคำสั่งให้บริษัทฟื้นฟูกิจการ ขณะนี้คณะผู้ทำแผนอยู่ระหว่างจัดทำแผนฟื้นฟูกิจการ โดยศาลล้มละลายกลางอนุญาตให้ผู้ทำแผนยื่นส่งแผนฟื้นฟูกิจการต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ภายในวันที่ 2 มีนาคม 2564 และเมื่อได้ยื่นส่งแผนฟื้นฟูกิจการแล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะจัดประชุมเจ้าหนี้ เพื่อพิจารณาแผนฟื้นฟูกิจการของบริษัท และศาลล้มละลายกลางจะพิจารณาแผนฟื้นฟูกิจการต่อไป
ขอบคุณข้อมูลจาก กรุงเทพธุรกิจ

ภาพจาก Vytautas Kielaitis / Shutterstock.com
วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2564 กรุงเทพธุรกิจ รายงานว่า นายชาย เอี่ยมศิริ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่สายการเงินและการบัญชี บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า การแพร่ระบาดโควิด 19 กระทบอุตสาหกรรมการบินโลกอย่างรุนแรง โดยเฉพาะในเส้นทางบินระหว่างประเทศ ส่งผลให้ การบินไทยและบริษัทย่อยมีผู้โดยสารลดลง
ปริมาณการผลิตด้านผู้โดยสาร (ASK) ลดลง 73.7%
ปริมาณการขนส่งผู้โดยสาร (RPK) ลดลง 78.5%

ภาพจาก supakitswn / Shutterstock.com
ด้านการขนส่งสินค้า อัตราส่วนการขนส่งพัสดุภัณฑ์ (Freight Load Factor) เฉลี่ยเท่ากับ 58.6% สูงกว่าปีก่อนซึ่งเฉลี่ย 53.8%
ในปี 2563 การบินไทยและบริษัทย่อย มีรายได้รวมทั้งสิ้น 48,311 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายรวมทั้งสิ้น 96,430 ล้านบาท ส่งผลให้ผลขาดทุน 48,119 ล้านบาท และมีผลขาดทุนสุทธิ จำนวน 141,180 ล้านบาท
โดยบริษัท มีค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นครั้งเดียวและส่วนใหญ่เป็นตัวเลขทางบัญชีที่ไม่มีผลกระทบกับกระแสเงินสด จำนวน 91,978 ล้านบาท ซึ่งประกอบด้วย
- ผลขาดทุนจากการด้อยค่าของเครื่องบินและสินทรัพย์สิทธิการใช้และอุปกรณ์การบินหมุนเวียน จำนวน 82,703 ล้านบาท
- ผลขาดทุนสำหรับการป้องกันความเสี่ยงของกลุ่มรายการของฐานะสุทธิจำนวน 5,227 ล้านบาท
- สำรองเงินชดเชยพนักงานในโครงการร่วมใจจากองค์กร Mutual Separation Plan (“MSP A”) จำนวน 3,098 ล้านบาท
- ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ จำนวน 895 ล้านบาท
- ผลขาดทุนจากการด้อยค่าซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 9 จำนวน 261 ล้านบาท
- กำไรจากการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนเงินลงทุนในบริษัท สายการบินนกแอร์ จำกัด (มหาชน) จำนวน 206 ล้านบาท
ทั้งนี้ บริษัทได้ลดค่าใช้จ่ายเพื่อบรรเทาผลกระทบจากโควิด 19 ได้แก่ ลดค่าใช้จ่ายบุคลากร โดยขอความร่วมมือสมัครใจลาหยุดโดยไม่รับเงินเดือน และโครงการอื่น ๆ ประกอบกับการชะลอการลงทุน การจัดซื้อจัดจ้าง และอื่น ๆ ทำให้ลดค่าใช้จ่ายจากปีก่อนได้กว่า 15,000 ล้านบาท นอกจากนี้ บริษัทยังหารายได้จากการให้บริการเที่ยวบินขนส่งสินค้า การจัดเที่ยวบินพิเศษนำคนไทยกลับบ้าน และรายได้จากฝ่ายครัวการบิน
ส่วนคำสั่งให้บริษัทฟื้นฟูกิจการ ขณะนี้คณะผู้ทำแผนอยู่ระหว่างจัดทำแผนฟื้นฟูกิจการ โดยศาลล้มละลายกลางอนุญาตให้ผู้ทำแผนยื่นส่งแผนฟื้นฟูกิจการต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ภายในวันที่ 2 มีนาคม 2564 และเมื่อได้ยื่นส่งแผนฟื้นฟูกิจการแล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะจัดประชุมเจ้าหนี้ เพื่อพิจารณาแผนฟื้นฟูกิจการของบริษัท และศาลล้มละลายกลางจะพิจารณาแผนฟื้นฟูกิจการต่อไป
ขอบคุณข้อมูลจาก กรุงเทพธุรกิจ