ธ.ก.ส. เตรียมจัดสินเชื่อฉุกเฉินรายละ 5 หมื่นบาท และสินเชื่อฟื้นฟูและพัฒนาคุณภาพชีวิต ไม่เกินรายละ 5 แสน ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมภาคใต้
วันที่ 5 ธันวาคม 2563 กรุงเทพธุรกิจ รายงานว่า จากกรณีน้ำท่วมภาคใต้ ซึ่งทางกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
(ปภ.) รายงานว่า น้ำท่วมครอบคลุมไปแล้ว 11 จังหวัด มีประชาชนได้รับผลกระทบ
314,639 ครัวเรือน มีผู้เสียชีวิต 8 ราย
ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์น้ำท่วมขังใน 7 จังหวัด ได้แก่ สุราษฎร์ธานี
กระบี่ นครศรีธรรมราช ตรัง พัทลุง สงขลา และยะลา
รายงานข่าวระบุว่า ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ได้มอบหมายให้สาขา จัดถุงยังชีพช่วยเหลือแล้วกว่า 8,000 ถุง เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน และจัดเตรียมสินเชื่อฉุกเฉิน ช่วยเหลือภาระหนี้สินด้วยการขยายระยะเวลาการชำระหนี้และสินเชื่อฟื้นฟูหลังประสบภัย รองรับกรณีเกษตรกรต้องการเงินทุนหมุนเวียนเพื่อการประกอบอาชีพ การซ่อมแซมที่อยู่อาศัยและเครื่องมือทางการเกษตร วงเงินรวม 5,000 ล้านบาท
รายงานข่าวระบุว่า ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ได้มอบหมายให้สาขา จัดถุงยังชีพช่วยเหลือแล้วกว่า 8,000 ถุง เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน และจัดเตรียมสินเชื่อฉุกเฉิน ช่วยเหลือภาระหนี้สินด้วยการขยายระยะเวลาการชำระหนี้และสินเชื่อฟื้นฟูหลังประสบภัย รองรับกรณีเกษตรกรต้องการเงินทุนหมุนเวียนเพื่อการประกอบอาชีพ การซ่อมแซมที่อยู่อาศัยและเครื่องมือทางการเกษตร วงเงินรวม 5,000 ล้านบาท
ภาพจาก ธกส BAAC Thailand
สำหรับแนวทางในการช่วยเหลือผู้ประสบภัย มีดังนี้
- กรณีฉุกเฉินเร่งด่วน
- หลังสถานการณ์คลี่คลาย
- ความช่วยเหลือด้านภาระหนี้สิน
1. พิจารณาขยายระยะเวลาชำระหนี้ กรณีที่เกษตรกรได้รับความเสียหายด้านการผลิตและส่งผลกระทบต่อรายได้
3. สินเชื่อฟื้นฟูและพัฒนาคุณภาพชีวิตสำหรับเกษตรกรลูกค้าผู้ประสบภัยธรรมชาติ หรือภัยพิบัติ วงเงิน 5,000 ล้านบาท ตามความจำเป็น แต่ไม่เกินรายละ 500,000 บาท คิดอัตราดอกเบี้ย MRR-2 (ปัจจุบัน MRR เท่ากับร้อยละ 6.50 ต่อปี) กำหนดชำระคืนไม่เกิน 15 ปี
ทั้งนี้ เพื่อให้เกษตรกรนำไปใช้เป็นค่าลงทุนในการสร้างหรือซ่อมแซมที่อยู่อาศัยที่ได้รับความเสียหาย หรือลงทุนซ่อมแซมโรงเรือนการเกษตร เครื่องมือ เครื่องจักรกลการเกษตรหรือฟื้นฟูการประกอบอาชีพการเกษตรที่ได้รับความเสียหาย
ขอบคุณข้อมูลจาก กรุงเทพธุรกิจ