สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้การลงทุนในช่วงนี้ค่อนข้างยาก เพราะหากเราฝากเงินในธนาคารที่มีความเสี่ยงต่ำ แต่ก็ได้รับดอกเบี้ยน้อยไปด้วย ขณะที่การลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ ทองคำ และอื่น ๆ ก็มีความผันผวนสูงมาก ดังนั้นการซื้อพันธบัตรออมทรัพย์ หรือพันธบัตรรัฐบาล ที่มีความเสี่ยงต่ำเหมือนกับเงินฝากออมทรัพย์แต่ได้ดอกเบี้ยสูงกว่า อาจเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับคนที่มีเงินเย็น และต้องการเก็บออมเงินในระยะยาว
โดยช่วงนี้กระทรวงการคลังได้ออกพันธบัตรออมทรัพย์พิเศษ รุ่น "เราไม่ทิ้งกัน" เพื่อระดมทุนบรรเทาผลกระทบและแก้ไขปัญหา เยียวยา ฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 ใครอยากรู้ว่าพันธบัตรเราไม่ทิ้งกันจะให้ผลตอบแทนเท่าไร ซื้อได้อย่างไร เรารวบรวมข้อมูลมาบอกแล้ว
ตัวอย่างสมุดพันธบัตรรัฐบาล (ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา)
พันธบัตรออมทรัพย์เราไม่ทิ้งกัน มีแบบไหนบ้าง ?
พันธบัตรออมทรัพย์เราไม่ทิ้งกัน ให้ดอกเบี้ยเท่าไร ?
- พันธบัตรอายุ 5 ปี จะเหลือผลตอบแทน 2.04% ต่อปี
- พันธบัตรอายุ 10 ปี จะเหลือผลตอบแทน 2.55% ต่อปี
ใครซื้อได้บ้าง ?
ผู้มีสิทธิ์ซื้อ : บุคคลธรรมดาที่ถือสัญชาติไทย หรือมีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย สภากาชาดไทย มูลนิธิ สมาคม สหกรณ์ วัด สถานศึกษาของรัฐ โรงพยาบาลของรัฐ และนิติบุคคลอื่นที่ไม่มีวัตถุประสงค์ในการแสวงหากำไร
ผู้ไม่มีสิทธิ์ซื้อ : ธนาคาร บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน บริษัทประกัน กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนส่วนบุคคลที่บริหารโดยสถาบันการเงิน กองทุนรวม คณะบุคคลหรือห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่ใช่นิติบุคคล บรรษัท สำนักงาน ประกันสังคม รัฐวิสาหกิจ บริษัท ห้างร้าน นิติบุคคลอาคารชุด นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร โรงพยาบาลเอกชน สถานศึกษาเอกชน และนิติบุคคลที่แสวงหากำไร
วงเงินซื้อขั้นต่ำ
- สำหรับบุคคลธรรมดา กำหนดวงเงินขั้นต่ำการซื้ออยู่ที่ 1,000 บาท (1 หน่วย)
- ซื้อได้สูงสุดไม่เกิน 2 ล้านบาท/ต่อราย/ต่อธนาคาร แต่ไม่จำกัดจำนวนครั้งที่เข้าซื้อ ซึ่งพันธบัตรรุ่นนี้มีธนาคาร 4 แห่งเปิดจำหน่าย เท่ากับว่าเราสามารถซื้อรวมกันได้สูงสุด 8 ล้านบาท/ราย
- ต้องซื้อเพิ่มเป็นหน่วยทวีคูณของ 1,000 บาท เช่น 2,000 บาท 10,000 บาท 150,000 บาท เป็นต้น ไม่สามารถซื้อ 1,500 บาท หรือ 25,900 บาท ได้
เปิดขายเมื่อไร ?
- ช่วงที่ 1 เปิดจำหน่ายตั้งแต่เวลา 08.30 น. ของวันที่ 14 พฤษภาคม 2563 ถึงเวลา 24.00 น. ของวันที่ 20 พฤษภาคม 2563
- ช่วงที่ 2 เปิดจำหน่ายตั้งแต่เวลา 08.30 น. ของวันที่ 21 พฤษภาคม 2563 ถึงเวลา 24.00 น. ของวันที่ 27 พฤษภาคม 2563
- ช่วงที่ 3 เปิดจำหน่ายตั้งแต่เวลา 08.30 น. ของวันที่ 28 พฤษภาคม 2563 ถึงเวลา 15.00 น. ของวันที่ 10 มิถุนายน 2563 หรือเมื่อจำหน่ายครบวงเงิน
ซื้อได้ที่ไหน ?
- แอปพลิเคชัน Bond Direct ของสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (ผู้ซื้อต้องมีบัญชีออมทรัพย์ของธนาคารกรุงไทย)
- เคาน์เตอร์ทุกสาขา ของธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกสิกรไทย และธนาคารไทยพาณิชย์
- ตู้ ATM, Internet Banking และ Mobile Application ของธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกสิกรไทย และธนาคารไทยพาณิชย์ (หากเป็นการซื้อครั้งแรก ผู้ซื้อต้องติดต่อสาขาเพื่อลงทะเบียนพันธบัตรก่อน แต่หากเคยซื้อพันธบัตร หรือเคยลงทะเบียนพันธบัตรแล้ว สามารถทำรายการซื้อผ่านช่องทางนี้ได้)
วิธีลงทะเบียนซื้อพันธบัตรออมทรัพย์ (กรณีซื้อครั้งแรก)
หากเราไม่เคยซื้อพันธบัตรออมทรัพย์กับธนาคารมาก่อน จะต้องลงทะเบียนซื้อพันธบัตรและเปิดบัญชีฝากหลักทรัพย์ที่สาขาธนาคาร โดยใช้หลักฐาน ดังนี้
1. บัตรประจำตัวประชาชนตัวจริง (กรณีบุคคลธรรมดา) หรือเอกสารหลักฐานการแสดงตนที่ออกโดยหน่วยงานราชการ (กรณีนิติบุคคล) และสำเนาเอกสารดังกล่าว พร้อมลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง
2. สำเนาหน้าแรกสมุดบัญชีเงินฝาก (ยกเว้นบัญชีเงินฝากออมทรัพย์พิเศษและบัญชีเงินฝากประจำ) ของผู้ซื้อที่เปิดบัญชีไว้กับธนาคารนั้น พร้อมลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง ในกรณีที่ไม่มีบัญชีเงินฝาก ผู้ซื้อต้องเปิดบัญชีใหม่ ซึ่งต้องเป็นบัญชีของธนาคารที่ทำรายการซื้อเท่านั้น
ตัวอย่างสมุดพันธบัตรรัฐบาล (ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา)
วิธีชำระเงินการซื้อพันธบัตร
- ซื้อผ่าน BOND DIRECT Application : ชำระเงินผ่าน Mobile Application และเคาน์เตอร์ ธนาคารกรุงไทย
- ซื้อผ่านเครื่อง ATM ระบบอินเทอร์เน็ต และ Mobile Application : ธนาคารผู้จัดจำหน่ายจะหักเงินจากบัญชีเงินฝากของผู้ซื้อทันทีเมื่อสิ้นสุดการทำรายการซื้อ
- ซื้อผ่านเคาน์เตอร์ : สามารถชำระได้ทั้งเงินสด หักบัญชีเงินฝาก หรือเช็ค (วันที่ 10 มิถุนายน 2563 ไม่รับชำระด้วยเช็ค) โดยสั่งจ่าย "บัญชีจองซื้อพันธบัตรออมทรัพย์พิเศษของกระทรวงการคลัง รุ่นอายุ 5 ปี" หรือ "บัญชีจองซื้อพันธบัตรออมทรัพย์พิเศษของกระทรวงการคลัง รุ่นอายุ 10 ปี"
- กรณีชำระด้วยเงินสดหรือหักบัญชีเงินฝาก หากชำระก่อนเวลา 15.00 น. ของวันทำการ ดอกเบี้ยจะเริ่มนับตั้งแต่วันที่ซื้อ หากชำระหลังเวลา 15.00 น. ของวันทำการ หรือในวันเสาร์-อาทิตย์ หรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ดอกเบี้ยจะเริ่มนับในวันทำการถัดไป
- กรณีชำระด้วยเช็ค ดอกเบี้ยจะเริ่มนับในวันทำการที่ทราบว่าผลเช็คสามารถเรียกเก็บได้
วันที่ครบกำหนดไถ่ถอน
- พันธบัตรรุ่นอายุ 5 ปี ครบกำหนดไถ่ถอนวันที่ 14 พฤษภาคม 2568
- พันธบัตรรุ่นอายุ 10 ปี ครบกำหนดไถ่ถอนในวันที่ 14 พฤษภาคม 2573
จ่ายดอกเบี้ยอย่างไร ?
เสียภาษีเท่าไร ?
ขายพันธบัตรก่อนครบกำหนดได้ไหม ?
โอนกรรมสิทธิ์-โอนมรดกได้หรือไม่ ?
- โอนกรรมสิทธิ์ คือ การขายพันธบัตรก่อนวันที่ครบกำหนดไถ่ถอน สามารถทำรายการได้ตั้งแต่วันที่ 14 พฤศจิกายน 2563 เป็นต้นไป
- โอนทางมรดก เช่น การแบ่งทรัพย์สินอันเนื่องมาจากการหย่า การล้มละลาย การชำระบัญชี การใช้เป็นหลักประกัน ทำได้หลังจากวันที่ทำรายการซื้อ 15 วันทำการ
ใช้พันธบัตรออมทรัพย์เป็นหลักประกันได้ไหม ?
ช่องทางสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
- ธนาคารกรุงเทพ โทร. 1333 หรือคลิก
- ธนาคารกรุงไทย โทร. 0 2111 1111 หรือคลิก
- ธนาคารกสิกรไทย โทร. 0 2888 8888 กด 819 หรือคลิก
- ธนาคารไทยพาณิชย์ โทร. 0 2777 7777 หรือคลิก
- สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ โทร. 0 2265 8050 ต่อ 5322, 5313, 5315 หรือ 0 2271 7999 ต่อ 5809
- ธนาคารแห่งประเทศไทย
- สำนักงานใหญ่ ฝ่ายการชำระเงินและพันธบัตร โทร. 1213
- สำนักงานภาคใต้ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา โทร. 0 7427 2000 ต่อ 4422-3, 4425, 0 7423 8475
- สำนักงานภาคเหนือ จ.เชียงใหม่ โทร. 0 5393 1077-8
- สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.ขอนแก่น โทร. 0 4391 3424-5