นับตั้งแต่โควิด 19 แพร่ระบาดไปทั่วโลก ไม่เพียงทำให้ผู้คนเจ็บป่วยและเสียชีวิตจำนวนมาก แต่ยังส่งผลให้เจ้าของธุรกิจ มนุษย์เงินเดือน คนหาเช้ากินค่ำ ต่างตกอยู่ในสถานะลำบาก เพราะสถานการณ์นี้เกิดขึ้นในช่วงที่เศรษฐกิจโลกกำลังเริ่มเข้าสู่ภาวะถดถอย หลายกิจกรรมต้องหยุดชะงัก หลายกิจการต้องปิดตัวลง ประชาชนนับล้านขาดรายได้ในการดำรงชีวิต เป็นเหตุให้รัฐบาลแต่ละประเทศต้องยื่นมือเข้าช่วยพยุงระบบเศรษฐกิจ ด้วยการออกมาตรการเยียวยาให้ผู้ที่ได้รับผลกระทบ
เราจะพาไปดูกันว่า แต่ละประเทศมีมาตรการช่วยเหลือประชาชนของเขาในรูปแบบไหนออกมาบ้าง และมีรายละเอียดเป็นอย่างไร (ข้อมูล ณ วันที่ 17 เมษายน 2563)

ภาพจาก ANTHONY WALLACE / AFP
ประชาชนทั่วไป
- รัฐบาลเมืองฝอซาน ประกาศอุดหนุนการซื้อรถคันแรกเป็นเวลา 1 ปี
- แจกคูปองส่วนลดให้ประชาชนมาเที่ยวในมณฑลเจียงสี
คนว่างงาน
- จัดตั้งบริษัทหางานออนไลน์ที่มีตำแหน่งงานรองรับกว่า 10 ล้านตำแหน่ง จัดหางานระหว่างวันที่ 20 มีนาคม - 30 มิถุนายน 2563 เพื่อสนับสนุนการจ้างงานและให้ภาคธุรกิจกลับมาดำเนินงานได้ตามปกติ
ลูกจ้าง-มนุษย์เงินเดือน
ภาคธุรกิจ
- ลดค่าเช่าให้ SMEs ที่ต้องหยุดการผลิตตามคำสั่งของรัฐ ภายใต้เงื่อนไขต้องไม่เลิกจ้างพนักงาน
- ยกเว้นการส่งเงินสมทบ (เช่น กองทุน เงินบำนาญ เงินช่วยเหลือคนว่างงานและพนักงานที่ได้รับบาดเจ็บ) ให้แก่บริษัทขนาดใหญ่ เป็นเวลาไม่เกิน 5 เดือน และยกเว้นให้ SMEs เป็นเวลาไม่เกิน 3 เดือน
- ลดการเก็บเงินทุนสำรองเพื่อเป็นค่ารักษาพยาบาลของพนักงานบริษัทเอกชนลง 50% (ไม่เกิน 5 เดือน)
- ผ่อนผันระยะเวลาชำระหนี้ให้บริษัททุกแห่งในมณฑลหูเป่ย์ ปักกิ่ง ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด 19 โดยไม่คิดดอกเบี้ยเพิ่มเติมจากการผิดนัดชำระหนี้
- ลด VAT 5% ให้ธุรกิจขนาดเล็กในมณฑลหูเป่ย์ ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม ถึงปลายเดือนพฤษภาคม 2563
- ลดค่าธรรมเนียมให้กับผู้ส่งออก อาทิ ค่าปรับจากการสำแดงสินค้าล่าช้า และชำระค่าธรรมเนียมล่าช้า

ภาพจาก lev radin/ Shutterstock.com
ประชาชนทั่วไป
- คนมีครอบครัว ที่มีรายได้น้อยกว่า 150,000 ดอลลาร์สหรัฐ/ปี (ประมาณ 4.8 ล้านบาท) ได้รับเงิน 2,400 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 38,400 บาท)
- บ้านไหนมีลูกอายุต่ำกว่า 17 ปี จะได้รับเพิ่ม 500 ดอลลาร์สหรัฐ/คน (ประมาณ 16,000 บาท)
- คนว่างงาน จะได้รับเพิ่มอีก 600 ดอลลาร์สหรัฐ/สัปดาห์ เป็นเวลา 4 เดือน (ประมาณ 19,200 บาท/สัปดาห์)
- แจกเงิน 1,500 ดอลลาร์สหรัฐ/คน (ประมาณ 48,000 บาท) ให้กับทุกคนที่มีหมายเลขประจำตัวผู้เสียภาษี โดย 1 ครอบครัว จะได้รวมกันสูงสุดไม่เกิน 5 คน หรือไม่เกิน 7,500 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 240,000 บาท)
- เจ้าของบ้าน/อสังหาฯ ให้เช่า ที่มีเงินกู้ค้ำประกันกับรัฐ จะได้รับการเลื่อนชำระนาน 90 วัน โดยมีข้อแม้ว่า ต้องไม่ขับไล่ผู้เช่า หากไม่ได้ค่าเช่าหรือค่าธรรมเนียม เพื่อช่วยเหลือประชาชนให้มีที่อยู่อาศัย
- พักชำระหนี้เพื่อการศึกษาได้ถึงวันที่ 30 กันยายน 2563
ลูกจ้าง-มนุษย์เงินเดือน
- ขยายระยะเวลาการชำระภาษีเงินได้ประจำปี 2562 ออกไป 3 เดือน จากวันที่ 15 เมษายน 2563 เป็น 15 กรกฎาคม 2563 สำหรับยอดการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ไม่เกิน 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ไม่เกิน 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ภาคธุรกิจ
- เพิ่มสภาพคล่องทางการเงินสำหรับบริษัทขนาดใหญ่ เพื่อให้บริษัทเหล่านี้สามารถออกหุ้นกู้ หรือ rollover ของบริษัทออกไปได้ผ่านตลาดตราสารหนี้
- นำโครงการเข้าซื้อตราสารหนี้ระยะสั้นที่ใช้ในสมัยวิกฤตการเงินปี 2551 มาใช้ใหม่ เพื่อเพิ่มสภาพคล่องในธุรกิจและหล่อเลี้ยงสภาพคล่องให้กับสินเชื่อประเภทต่าง ๆ
- รับซื้อตราสารหนี้ภาคเอกชนระยะสั้นที่มีอายุน้อยกว่า 270 วัน (Commercial Paper) เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้

ภาพจาก CARLO BRESSAN / AFP
ประชาชนทั่วไป
ลูกจ้าง-มนุษย์เงินเดือน
- แจกคูปองให้ลูกจ้างในภาคการท่องเที่ยว คนละ 600 ยูโร (ประมาณ 21,300 บาท)
- ลดหย่อนภาษีและเลื่อนการจ่ายเบี้ยประกันให้กับผู้มีรายได้รวมต่ำกว่า 2 ล้านยูโรต่อปี รวมถึงผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการปิดเมือง โดยให้มีผลถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2563
ภาคธุรกิจ
- อนุญาตให้พักชำระหนี้ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยถึงวันที่ 30 กันยายน 2563
- จัดสรรงบประมาณมูลค่ากว่า 4 พันล้านยูโร ให้แก่หน่วยงาน SACE (state-owned export credit agency) เพื่อสนับสนุนธุรกิจส่งออกและขาดสภาพคล่อง

ภาพจาก JOSEP LAGO / AFP
ประชาชนทั่วไป
- กำลังพิจารณาจ่ายเงินเดือนพื้นฐาน ให้ประชาชน 47 ล้านคน
ลูกจ้าง-มนุษย์เงินเดือน
- จ่ายเงินให้พนักงานของบริษัทที่ได้รับผลกระทบ จำนวน 75% ของเงินเดือน
ภาคธุรกิจ
- รัฐบาลสเปนช่วยจ่ายเงินสมทบประกันสังคมให้พนักงานแทนบริษัทที่เป็น SMEs เต็มจำนวน แต่กรณีที่เป็นบริษัทขนาดใหญ่กว่า SMEs รัฐบาลจะจ่ายให้ในสัดส่วน 75%
- จัดสรรงบประมาณมูลค่ากว่า 4 พันล้านยูโร ให้แก่หน่วยงาน SACE (state-owned export credit agency) เพื่อสนับสนุน SMEs ที่เป็นธุรกิจส่งออกและขาดสภาพคล่อง

ภาพจาก YANN SCHREIBER / AFP
ลูกจ้าง-มนุษย์เงินเดือน
ภาคธุรกิจ
- รัฐบาลท้องถิ่น (state government) อาทิ แคว้นบาวาเรีย มีแผนการจ่ายเงินโดยตรงให้แก่ SMEs รายเล็ก เพื่อเยียวยาผลกระทบอย่างเร่งด่วน เป็นจำนวนเงิน 5,000-30,000 ยูโรต่อราย (ประมาณ 178,000-1,070,000 บาท)
- ปรับกฎเกณฑ์ทางภาษีให้ยืดหยุ่นขึ้น อาทิ อนุมัติให้บริษัทเอกชนที่ได้รับผลกระทบเลื่อนการจ่ายภาษีออกไปได้ และไม่คิดเบี้ยปรับภาษีจนถึงสิ้นปี 2563
- สนับสนุนสภาพคล่องให้กับบริษัทเอกชน โดยผ่อนคลายกฎเกณฑ์ของโครงการปล่อยสินเชื่อให้กับบริษัทเอกชน และโครงการปล่อยสินเชื่อให้กับ Start-up ที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี

ประชาชนทั่วไป
- ครอบครัวที่ได้รับเงินช่วยเหลือเกี่ยวกับที่พักอาศัย หรือเงินช่วยเหลือผู้พิการ จะได้รับเงินช่วยเหลือเพิ่มเติมอีก 100 ยูโร (ประมาณ 3,500 บาท)
ลูกจ้าง-มนุษย์เงินเดือน
ภาคธุรกิจ
- บริษัทที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจ สามารถแสดงความจำนงเพื่อขอภาษีคืนได้
- อนุญาตให้บริษัทที่ได้รับผลกระทบ สามารถปรับปรุงโครงสร้างหนี้ โดยได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงการคลังและรัฐบาลฝรั่งเศส โดย BPI France (หน่วยงานที่สนับสนุนการเข้าถึงแหล่งเงินทุนให้กับบริษัทต่าง ๆ ในฝรั่งเศส) เป็นผู้ค้ำประกันสินเชื่อ
- ไม่มีบทลงโทษสำหรับบริษัทที่ได้รับผลกระทบ หากเกิดการผิดนัดชำระหนี้กับคู่สัญญาที่เป็นรัฐ

ภาพจาก Stock Pixels / Shutterstock.com
ประชาชนทั่วไป
- หากกู้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย สามารถขอยกเว้นการผ่อนชำระได้ 3 เดือน
ลูกจ้าง-มนุษย์เงินเดือน
- ชดเชยรายได้ให้ลูกจ้างที่ต้องกักตัว 14 วัน หรือป่วยโควิด 19 สัปดาห์ละ 95.85 ปอนด์ (ประมาณ 3,900 บาท) สูงสุด 28 สัปดาห์
- เลื่อนการจ่ายภาษีให้บุคคลที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19
- หากยื่นภาษีจะได้รับคืนภาษีเพิ่มขึ้นสัปดาห์ละ 20 ปอนด์ (1,040 ปอนด์ต่อปี)
ภาคธุรกิจ
- ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ จากเดิม 1% เป็น 0% เพื่อให้ธนาคารพาณิชย์มีความสามารถในการปล่อยสินเชื่อมากยิ่งขึ้น
- ช่วยเหลือภาคธุรกิจขนาดเล็ก โดยการยกเว้นค่าธรรมเนียม 1 ปี, ให้เงิน 3,000 ปอนด์ (ประมาณ 120,000 บาท) กับธุรกิจขนาดเล็กประมาณ 7 แสนบริษัท
- จ่ายเงินชดเชยให้กับธุรกิจ SMEs ที่มีพนักงานไม่เกิน 250 คน และให้กับผู้ติดเชื้อหรือผู้ที่ต้องกักกันตัวเองเพื่อรอดูอาการ โดยจะได้รับเงินชดเชยเป็นเวลา 2 สัปดาห์
- ธุรกิจขนาดใหญ่สามารถขอสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยต่ำจากธนาคารกลางอังกฤษได้
- ยกเว้นเก็บ Business rate tax เป็นเวลา 1 ปี
- เลื่อนการจ่ายภาษี VAT ของภาคธุรกิจและภาษีรายได้ออกไป

ประชาชนทั่วไป
- แจกเงิน 550 ดอลลาร์ออสเตรเลีย (ประมาณ 11,000 บาท) ทุก 15 วัน ให้กับคนตกงาน เกษตรกร ฯลฯ เป็นระยะเวลา 6 เดือน
ลูกจ้าง-มนุษย์เงินเดือน
- ผ่อนคลายเกณฑ์กองทุนสำรองเลี้ยงชีพและประกันสังคม
- รัฐบาลช่วยจ่ายเงินเดือนให้พนักงานคนละ 1,500 ดอลลาร์ออสเตรเลีย (ประมาณ 30,000 บาท) ทุก 2 สัปดาห์ สูงสุด 6 เดือน โดยบริษัทนั้นต้องมีรายได้ไม่เกิน 1,000 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย และต้องมีรายได้ลดลงอย่างน้อย 30% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว แต่หากเป็นบริษัทที่มีรายได้เกิน 1,000 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย จะต้องมีรายได้ลดลงอย่างน้อย 50%
ภาคธุรกิจ
- ค้ำประกันสินเชื่อ SMEs ให้ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากโควิด 19 จำนวน 50% ของวงเงินสินเชื่อ พร้อมทั้งเร่งกระบวนการพิจารณาสินเชื่อให้เร็วขึ้น
- ให้เงินช่วยเหลืออุตสาหกรรมการบิน (สายการบินและสนามบิน)
- จัดงบประมาณช่วยเหลือเพิ่มเติมแก่กลุ่มธุรกิจที่ได้รับผลกระทบรุนแรง ได้แก่ ท่องเที่ยว เกษตร และการศึกษา โดยยกเว้นค่าธรรมเนียมและช่วยหาตลาดใหม่

ภาพจาก lusia83 / Shutterstock.com
ประชาชนทั่วไป
- ให้ประชาชนสามารถกู้เงินฉุกเฉินได้คนละ 100,000-200,000 เยน (ประมาณ 30,000-60,000 บาท) โดยไม่คิดดอกเบี้ย
- คืนเงินอาหารกลางวันให้ผู้ปกครองภายหลังการปิดโรงเรียน จนถึงเดือนเมษายน 2563 และดูแลธุรกิจที่เกี่ยวข้อง
ลูกจ้าง-มนุษย์เงินเดือน
ภาคธุรกิจ
- ธนาคารแห่งชาติญี่ปุ่น (BOJ) ประกาศใช้ "Special Funds-Supplying Operations" (Special Operations) เพื่อช่วยเหลือภาคธุรกิจให้สามารถเข้าถึงสินเชื่อได้ โดยไม่มีการคิดอัตราดอกเบี้ย เป็นเวลา 1 ปี

ภาพจาก YONHAP / AFP
ประชาชนทั่วไป
- ลดภาษีรถยนต์ส่วนตัว 70%
- แจกบัตรของขวัญจำนวน 3.5 ล้านล้านวอน ให้ประชาชน เพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจท้องถิ่น
- กระตุ้นการใช้จ่ายเพิ่มเติม เช่น แจกเงินผ่าน paychecks
- ให้วันหยุดเลี้ยงดูเด็กในแต่ละครัวเรือน จำนวน 5 วัน โดยอุดหนุนเงินให้ 50,000 วอนต่อวัน (ประมาณ 1,300 บาท)
กลุ่มผู้มีรายได้น้อย
- บ้านไหนที่เลี้ยงดูลูกเองที่บ้านแทนการใช้บริการสถานเลี้ยงเด็ก จะได้รับงบประมาณการเลี้ยงดูเด็กเพิ่ม
- คืนเงินที่ใช้ซื้ออุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้าน 10% หากเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีฉลากประหยัดไฟ
- เพิ่มเบี้ยยังชีพสำหรับผู้หางานอายุน้อย และรื้อฟื้นการให้เบี้ยยังชีพแก่ผู้หางานที่มาจากครัวเรือนรายได้ต่ำ รวมทั้งส่งเสริม job training
ลูกจ้าง-มนุษย์เงินเดือน
ภาคธุรกิจ
- ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่ธุรกิจขนาดเล็ก
- ให้เงินอุดหนุนผู้ประกอบการรายย่อยจ่ายเงินเดือนพนักงาน
- ช่วยเหลือร้านค้าขนาดเล็กที่มีผู้ติดเชื้อแวะเข้าไปในพื้นที่ เมื่อกลับมาเปิดทำการเป็นปกติ
- ให้การอุดหนุนค่าใช้จ่ายในการป้องกันเพลิงสำหรับเจ้าของที่ หรือผู้ให้เช่าตลาดพื้นเมือง (traditional market) หากผู้ให้เช่าลดค่าเช่าอย่างน้อย 20% ของทั้งพื้นที่
- ช่วยเหลือทางการเงินให้ธุรกิจส่งออก

ภาพจาก ANTHONY WALLACE / AFP
ประชาชนทั่วไป
- ผู้เช่าที่อยู่อาศัยในอสังหาฯ ที่เป็นของรัฐ จะได้รับส่วนลดค่าเช่า 75%
- สร้างงาน 30,000 ตำแหน่ง รวมถึงงานราชการและฝึกงาน
- เพิ่มเบี้ยเลี้ยงรายเดือนให้ครอบครัวผู้มีรายได้น้อยเป็น 2 เท่า
- ลดค่าโดยสารรถไฟฟ้า MTR 20% เป็นเวลา 6 เดือน
ลูกจ้าง-มนุษย์เงินเดือน
- เลื่อนจ่ายภาษีออกไปอีก 3 เดือน
ภาคธุรกิจ
- สนับสนุนสินเชื่อให้แก่ธุรกิจ SMEs โดยรัฐบาลเป็นผู้ค้ำประกันเต็มจำนวน เพื่อใช้ในการดำเนินธุรกิจ ไม่เกินจำนวน 2 ล้านดอลลาร์ฮ่องกงต่อธุรกิจ, ลดค่าใช้จ่ายด้านภาษีนิติบุคคล และยกเว้นค่าธรรมเนียมต่าง ๆ และค่าเช่าในการเช่าสินทรัพย์ของรัฐ
- เยียวยาผู้ประกอบการของท่าอากาศยานฮ่องกงที่ได้รับผลกระทบจากโควิด 19 เนื่องจากผู้โดยสารปรับลดลง โดยเฉพาะร้านค้าปลีกและร้านอาหาร ด้วยการลดค่าเช่าสถานที่ และค่าบริการสนามบินอื่น ๆ เป็นต้น

ภาพจาก travelwild / Shutterstock.com
สภานิติบัญญัติแห่งไต้หวันประกาศใช้นโยบายการคลัง สนับสนุนเงินเป็นจำนวน 6 หมื่นล้านดอลลาร์ไต้หวัน เพื่อใช้กักกันควบคุมโรคและกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยงบประมาณพิเศษนี้จะใช้ย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม 2563 - 30 มิถุนายน 2564 สำหรับมาตรการที่ออกมา อาทิ
ประชาชนทั่วไป
- ให้เงินช่วยเหลือผู้ที่ขาดรายได้จากการกักกันตัวเอง
ภาคธุรกิจ
- ให้เงินช่วยเหลือเพื่อส่งเสริมสถานที่ทางศิลปวัฒนธรรม และจูงใจให้ลดราคาค่าชมและสินค้าในสถานที่นั้น ๆ รวมทั้งจัดงานเพื่อฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรม
- ให้เงินช่วยเหลือผู้ให้บริการรถโดยสารสาธารณะและธุรกิจท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบ รวมถึงพัฒนาสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ ให้พร้อมสำหรับการดึงดูดนักท่องเที่ยวเมื่อการระบาดสิ้นสุดลง
- ให้เงินช่วยเหลือผ่าน Council of Agriculture เพื่อส่งเสริมการส่งออกผลผลิตทางการเกษตร อาหารทะเล เนื้อสัตว์เพิ่มเติม รวมทั้งช่วยเหลือชาวนา ชาวสวน ชาวประมง

ภาพจาก MOHD RASFAN / AFP
ประชาชนทั่วไป
- ลดค่าไฟฟ้า น้ำประปา
- ให้ใช้อินเทอร์เน็ตฟรี ตลอดช่วงการ Lockdown
- ขยายเวลาชำระหนี้สินเชื่อต่าง ๆ รวมถึงสัญญาจำนองและสัญญาเช่าซื้อให้แก่ลูกหนี้รายบุคคลและผู้ประกอบการ SMEs เป็นเวลา 6 เดือน
- ขยายระยะเวลาการชำระคืนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาเป็นระยะเวลา 6 เดือน ตั้งแต่เดือนเมษายน 2563
- แจกเงิน 600 ริงกิต (ประมาณ 4,500 บาท) ให้คนขับแท็กซี่ คนขับรถทัวร์ คนขับสามล้อที่ขึ้นทะเบียน และไกด์ท่องเที่ยว
- แจกเงินให้ผู้มีรายได้น้อยตามโครงการ Bantuan Sara Hidup (BSH) จำนวน 200 ริงกิต (ประมาณ 1,500 บาท) ในเดือนมีนาคม 2563, จ่ายอีก 100 ริงกิต (ประมาณ 750 บาท) ในเดือนพฤษภาคม 2563 และให้เงินเพิ่มเติมอีก 50 ริงกิต (ประมาณ 378 บาท) สำหรับผู้รับเงินผ่านกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์
- มอบเงินช่วยเหลือ 1,600 ริงกิต (ราว 12,000 บาท) ให้ครอบครัวที่มีรายได้ไม่เกิน 4,000 ริงกิต (ราว 30,000 บาท) โดยจ่ายก้อนแรก 1,000 ริงกิต (ราว 7,500 บาท) ในเดือนเมษายน และอีก 600 ริงกิต (ราว 4,500 บาท) ในเดือนพฤษภาคม
- มอบเงินช่วยเหลือ 800 ริงกิต (ราว 6,000 บาท) แก่คนโสดอายุ 21 ปีขึ้นไป ที่มีรายได้ไม่เกิน 2,000 ริงกิต (ราว 15,000 บาท) โดยจ่ายก่อน 500 ริงกิต (ราว 3,700 บาท) ในเดือนเมษายน และอีก 300 ริงกิต (ราว 2,300 บาท) ในเดือนพฤษภาคม
- มอบเงินช่วยเหลือ 1,000 ริงกิต แก่ครอบครัวที่มีรายได้ 4,001-8,000 ริงกิต (ราว 30,000-60,000 บาท) โดยจ่ายก่อน 500 ริงกิต (ราว 3,700 บาท) ในเดือนเมษายน และจ่ายส่วนที่เหลือในเดือนถัดไป
- มอบเงินช่วยเหลือ 500 ริงกิต (ราว 3,750 บาท) แก่คนโสดอายุ 21 ปีขึ้นไป ที่มีรายได้ 2,001-4,000 ริงกิต (ราว 15,000-30,000 บาท)
ลูกจ้าง-มนุษย์เงินเดือน
- แรงงานที่ต้องหยุดพักงานโดยไม่ได้รับค่าจ้างตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2563 และได้ขึ้นทะเบียนประกันการว่างงาน จะได้รับเงินช่วยเหลือ 600 ริงกิตต่อเดือน (ประมาณ 4,500 บาท) เป็นระยะเวลาสูงสุด 6 เดือน
- เพิ่มเบี้ยเลี้ยงพิเศษให้บุคลากรทางสาธารณสุข จากเดิม 400 ริงกิต/เดือน เป็น 600 ริงกิต/เดือน (ประมาณ 4,380 บาท)
- จ่ายเบี้ยเลี้ยงพิเศษให้กับทหาร ตำรวจ เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง เจ้าหน้าที่ป้องกันพลเรือน พนักงานดับเพลิง และอาสาสมัคร 200 ริงกิต/เดือน (ประมาณ 1,460 บาท)
- ข้าราชการและข้าราชการเกษียณ ได้รับเงิน 500 ริงกิต (ราว 3,700 บาท)
- ลดอัตราการส่งเงินสมทบในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เป็นจำนวน 4% สำหรับลูกจ้างบริษัท (จาก 11% เหลือ 7%) ทั้งนี้ ลูกจ้างสามารถเลือกได้ว่าจะเข้าโครงการหรือจะจ่ายในอัตราเดิม (เริ่มตั้งแต่เดือนเมษายน-ธันวาคม 2563)
- ลดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สูงสุด 1,000 ริงกิต (ประมาณ 7,500 บาท) เมื่อใช้จ่ายเพื่อการท่องเที่ยวในประเทศ (ตั้งแต่เดือนมีนาคม-สิงหาคม 2563)
ภาคธุรกิจ
- จัดสรรสินเชื่อ 1 พันล้านริงกิต ให้กับธุรกิจ SMEs ในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารและการเกษตร (agrofood) มูลค่า 5 ล้านริงกิต ต่อ SME 1 ราย มีระยะเวลา 8 ปี
- Bank Simpanan Nasional (BSN) จัดสรรสินเชื่อให้แก่ microcredit สำหรับภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบ โดยคิดดอกเบี้ย 4%
- ขยายระยะเวลาการจ่ายภาษีรายเดือนสำหรับธุรกิจท่องเที่ยว ได้แก่ บริษัทท่องเที่ยว โรงแรม และสายการบิน (เริ่มตั้งแต่เดือนเมษายน-กันยายน 2563)
- ลดค่าไฟฟ้า 15% ต่อเดือน สำหรับธุรกิจโรงแรม บริษัทท่องเที่ยว สายการบิน ห้างสรรพสินค้า ศูนย์แสดงสินค้า และสวนสนุก (ตั้งแต่เดือนเมษายน-กันยายน 2563)
- จัดสรรเงินช่วยเหลือ 200 ล้านริงกิต ให้แก่ Human Resource Development Fund (HRDF) เพื่อให้ลูกจ้าง 40,000 คน ในภาคการท่องเที่ยวและผู้ที่ได้รับผลกระทบ รวมถึงผู้ได้รับผลกระทบทางอ้อม เช่น อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และยานยนต์

ประชาชนทั่วไป
- มอบเงินสดให้ 19 ล้านครัวเรือน ที่อาศัยอยู่นอกเมืองจาการ์ตา
- เพิ่มงบประมาณกองทุนประกันสังคม 30% อาทิ เงินช่วยเหลือคนจน มูลค่า 4.6 ล้านล้านรูเปียห์ เพื่อกระตุ้นการบริโภค
- ให้เงินสมทบเพื่อช่วยค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยบ้านและเงินดาวน์สินเชื่อบ้านให้กับผู้มีรายได้น้อย
- งดภาษีเงินได้ให้แรงงาน (100% tax exemption) เป็นเวลา 6 เดือน (เริ่มเดือนเมษายน 2563)
ภาคธุรกิจ
- เลื่อนการเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลบางส่วน 30% เป็นเวลา 6 เดือน
- เพิ่มเพดานการคืนเงินภาษีจาก 1.0 เป็น 5 พันล้านรูเปียห์ พร้อมเร่งกระบวนการคืนเงิน
- งดเว้นภาษีให้กับธุรกิจโรงแรมและภัตตาคารใน 10 เมืองหลักการท่องเที่ยว เป็นเวลา 3 เดือน เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2563
- จัดสรรงบประมาณ 2.9 แสนล้านรูเปียห์ ให้สายการบิน Travel Agents และบริษัทที่เกี่ยวข้องเพื่อโฆษณาดึงดูดการท่องเที่ยวผ่าน Social Media ต่าง ๆ
- ผ่อนเกณฑ์การส่งออก-นำเข้า ให้ทำการค้าได้มากขึ้นและคล่องตัวขึ้น สำหรับสินค้า 749 ชนิด ตาม HS code เริ่มที่สินค้าในกลุ่มเหล็ก
- ผ่อนคลายเกณฑ์การปรับโครงสร้างหนี้เฉพาะสินเชื่อที่ปล่อยกู้ให้กับภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจาก Covid-19

ภาพจาก Richie Chan/Shutterstock.com
ประชาชนทั่วไป
- ผู้ที่มีอายุ 21 ปีขึ้นไป และมีรายได้น้อยกว่า 28,000 ดอลลาร์สิงคโปร์/ปี (ประมาณ 644,000 บาท) จะได้รับเงินช่วยเหลือทั้งหมด 1,200 ดอลลาร์สิงคโปร์ (ประมาณ 27,600 บาท) แบ่งจ่ายเป็น 2 งวด คือ 600 ดอลลาร์สิงคโปร์ (ประมาณ 13,800 บาท) ในเดือนเมษายน 2563 และในเดือนมิถุนายน 2563 อีก 600 ดอลลาร์สิงคโปร์ (ประมาณ 13,800 บาท)
- สำหรับคนที่มีรายได้มากกว่า 28,000-100,000 ดอลลาร์สิงคโปร์/ปี (ประมาณ 644,000-2,300,000 บาท) จะได้รับเงินช่วยเหลือทั้งหมด 900 ดอลลาร์สิงคโปร์ (ประมาณ 20,700 บาท) แบ่งจ่ายเป็น 2 งวด คือ 600 ดอลลาร์สิงคโปร์ (ประมาณ 13,800 บาท) ในเดือนเมษายน 2563 และในเดือนมิถุนายน 2563 อีก 300 ดอลลาร์สิงคโปร์ (ประมาณ 6,900 บาท)
- ถ้ามีรายได้มากกว่า 100,000 ดอลลาร์สิงคโปร์/ปี (ประมาณ 2,300,000 บาท) หรือเป็นเจ้าของอสังหาฯ มากกว่า 1 แห่ง จะได้รับเงินช่วยเหลือ 600 ดอลลาร์สิงคโปร์ (ประมาณ 13,800 บาท) จ่ายครั้งเดียวในเดือนเมษายน 2563
- สำหรับคนที่มีลูกอายุต่ำกว่า 21 ปี จะได้รับเงินช่วยเหลือเพิ่มอีก 300 ดอลลาร์สิงคโปร์ (ประมาณ 6,900 บาท)
- ผู้สูงอายุที่อายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป จะได้รับการเติมเงินในบัตร PAssion 100 ดอลลาร์สิงคโปร์ (ประมาณ 2,300 บาท) เพื่อใช้ซื้อสินค้าที่ซูเปอร์มาร์เกตและร้านค้าในเครือข่าย
- ผู้มีรายได้น้อยจะได้เงินอุดหนุนและคูปองซื้ออาหารเพิ่ม 100 ดอลลาร์สิงคโปร์ (ประมาณ 2,300 บาท)
- สนับสนุนค่าไฟฟ้าและน้ำประปา เพิ่มขึ้นอย่างน้อย 1 เท่าตามขนาดของครัวเรือน (โครงการ USave rebates เป็นมาตรการที่มีอยู่แล้ว แต่เพิ่มมูลค่าเงินสนับสนุน)
ลูกจ้าง-มนุษย์เงินเดือน
- คนที่มีอาชีพรับจ้างทั่วไป ที่เป็นผู้อยู่อาศัยถาวรและเป็นพลเมืองของสิงคโปร์ จะได้รับเงินชดเชยวันละ 100 ดอลลาร์สิงคโปร์ (ประมาณ 2,300 บาท)
- พนักงานของบริษัทที่ต้องกักตัวเองจะถือว่าเป็นการลาป่วยพิเศษ และได้รับเงินเดือน
- บริษัทที่พนักงานต้องกักตัวเองตามคำสั่ง จะได้รับเงินชดเชยวันละ 100 ดอลลาร์สิงคโปร์ (ประมาณ 2,300 บาท) หลังจากพนักงานครบกำหนดระยะเวลา Quarantine
- เดือนเมษายน 2563 รัฐบาลช่วยทุกบริษัทจ่ายเงินเดือนให้พนักงาน 75% แต่สูงสุดไม่เกินคนละ 3,450 ดอลลาร์สิงคโปร์ (ประมาณ 79,000 บาท)
- ส่วนในเดือนพฤษภาคม-ธันวาคม 2563 รัฐจะช่วยจ่ายเงินเดือนให้พนักงาน 25-75% ขึ้นอยู่กับประเภทของธุรกิจ เช่น ธุรกิจการบินและท่องเที่ยว ได้รับ 75%, ธุรกิจอาหาร ได้รับ 50%, อุตสาหกรรมอื่น ๆ ได้รับ 25%
ภาคธุรกิจ
- ยกเว้นค่าธรรมเนียมการเช่าร้านค้าและร้านอาหาร โดยผู้เช่าพื้นที่เพื่อการพาณิชย์จากรัฐบาลสำหรับการขายสินค้าและอาหาร จะได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมการเช่าเป็นเวลา 1 เดือน และเจ้าของอาคารเอกชนจะได้รับเงินชดเชย 15% ของภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเพื่อลดค่าเช่าให้กับร้านค้า
- คืนภาษีนิติบุคคล 25% ของค่าใช้จ่ายภาษีไม่เกิน 15,000 ดอลลาร์สิงคโปร์ต่อราย (ประมาณ 345,000 บาท) สำหรับปีภาษี 2563
- คืนภาษีสิ่งปลูกสร้างและที่ดินสำหรับธุรกิจที่ได้รับผลกระทบหนัก ตั้งแต่ 10-30%

ประชาชนทั่วไป
- จัดสรรงบประมาณเพื่อช่วยเหลือแรงงานที่ตกงาน และได้รับผลกระทบผ่านการเพิ่มทักษะ รวมทั้งมีคอร์สเรียนฟรีผ่านมือถือและคอมพิวเตอร์
ลูกจ้าง-มนุษย์เงินเดือน
- จัดสรรสินเชื่อภายใต้โครงการของ Government Service Insurance System (GSIS) ให้แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ รวมถึงผู้เกษียณที่ได้รับผลกระทบ
ภาคธุรกิจ
- จัดสรรงบประมาณเพื่อช่วยเหลือธุรกิจในอุตสาหกรรมการบินและการท่องเที่ยว
- ธนาคารกลางฟิลิปปินส์ (BSP) ผ่อนคลายมาตรการทางการเงินแก่ลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด 19 โดยขยายระยะเวลาชำระหนี้ 1 ปี

ประชาชนทั่วไป
- เลื่อนจ่ายหนี้กู้ยืมเพื่อการศึกษาให้ทุกคนโดยอัตโนมัติ ไปจนถึงวันที่ 30 กันยายน 2563
คนว่างงาน
ลูกจ้าง-มนุษย์เงินเดือน
- เลื่อนการจ่ายภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของปี 2562 ไปจนถึงวันที่ 1 มิถุนายน 2563
ภาคธุรกิจ
- ปล่อยสินเชื่อไม่คิดดอกเบี้ย วงเงิน 40,000 ดอลลาร์แคนาดา (ประมาณ 928,000 บาท) ให้กับธุรกิจ SMEs

ภาพจาก PETER PARKS / AFP
ลูกจ้าง-มนุษย์เงินเดือน
- หากเป็นพนักงานประจำ (full-time) ซึ่งทำงานสัปดาห์ละ 20 ชั่วโมงขึ้นไป จะได้รับค่าจ้าง 585.80 ดอลลาร์นิวซีแลนด์/สัปดาห์ (ประมาณ 11,500 บาท) เป็นเวลา 12 สัปดาห์
- หากเป็นพนักงานพาร์ตไทม์ (part-time) ซึ่งทำงานน้อยกว่าสัปดาห์ละ 20 ชั่วโมง จะได้รับค่าจ้าง 350 ดอลลาร์นิวซีแลนด์/สัปดาห์ (ประมาณ 6,800 บาท) เป็นเวลา 12 สัปดาห์
สำหรับกลุ่มธุรกิจสำคัญ เช่น การบริการรับ-ส่งอาหารและเครื่องดื่ม การเงิน สุขภาพ หรือสาธารณูปโภคและการสื่อสาร ฯลฯ รัฐบาลให้ความช่วยเหลือจ่ายเงินพนักงาน 2 กรณี คือ
1. จ่ายเงินอุดหนุนค่าจ้างเป็นเวลา 12 สัปดาห์ ให้กับพนักงานที่ยังทำงานอยู่
2. จ่ายเงินอุดหนุนค่าจ้างเป็นเวลา 4 สัปดาห์ ให้กับพนักงานที่หยุดงาน เพราะต้องกักตัวตามคำสั่งของรัฐบาล และทำงานจากที่บ้านไม่ได้
โดยนายจ้างสามารถยื่นเรื่องขอความช่วยเหลือได้ทั้ง 2 กรณี แต่จะขอเงินทั้ง 2 รูปแบบ ให้กับพนักงานคนเดียวกันไม่ได้ ต้องยื่นกรณีใดกรณีหนึ่งต่อพนักงาน 1 คนเท่านั้น
ทั้งนี้ หากเป็นผู้รับเหมา องค์กรการกุศล หรือศูนย์รับเลี้ยงเด็ก ถ้ามีลูกจ้างก็สามารถขอรับความช่วยเหลือได้เช่นกัน เฉพาะในส่วนของเงินอุดหนุนค่าจ้าง โดยมีเงื่อนไขคือ การดำเนินงานต้องได้รับผลกระทบจากโควิด 19 และลูกจ้างคนนั้นมี Visa ทำงานในนิวซีแลนด์
เพราะ โควิด 19 ไม่เพียงส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน แต่ยังกระทบถึงปากท้องและชีวิตความเป็นอยู่ด้วย รัฐบาลในแต่ละประเทศ จึงได้ออกมาตรการช่วยเหลือและเยียวยาทางเศรษฐกิจออกมาเป็นระยะ ซึ่งหลายนโยบายอาจมีความคล้ายคลึงกันบ้าง แตกต่างกันบ้าง แต่ก็มีจุดประสงค์เดียวกันนั่นคือ ช่วยเหลือชีวิตประชาชนให้ผ่านพ้นวิกฤตที่ยังไม่รู้ว่าจะสิ้นสุดลงเมื่อไร
ข้อมูลจาก
ธนาคารแห่งประเทศไทย, กรุงเทพธุรกิจ, เฟซบุ๊ก Royal Thai Embassy - Paris, France - สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปารีส, aseanbriefing.com, investopedia.com, workandincome.govt.nz.com, channelnewsasia.com, washingtonpost.com, canada.ca, gov.uk, koreaherald.com, rthk.hk, thestar.com.my