แบงก์ชาติคำนวณให้ดูชัด ๆ 3 แบบ กับการจ่ายหนี้ช่วงโควิด 19 และการพักชำระหนี้แบบไม่จ่ายทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย ยิ่งทำให้หนี้เพิ่มขึ้นมา เพราะแบบนี้
จากผลกระทบของโควิด 19 ในประเทศไทย ส่งผลให้หลายภาคส่วนได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง ทางธนาคารต่าง ๆ จึงออกมาตรการมาเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ได้รับความเดือดร้อน แต่มาตรการที่ดูจะได้ใจคนไปมากที่สุด คือมาตรการพักชำระหนี้ ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย เพื่อให้คนดึงกระแสเงินสดมาไว้กับตัวได้มากที่สุด
อย่างไรก็ตาม ล่าสุด ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ออกมาคำนวณให้ดูชัด ๆ แล้วว่า การพักชำระหนี้แบบไม่จ่ายเงินต้นและดอกเบี้ย ยิ่งทำให้หนี้เพิ่มมากขึ้นไปอีก พร้อมกับเปรียบเทียบให้ดูชัด ๆ ว่า การจ่ายหนี้แบบใด สามารถลดเงินต้นและดอกเบี้ยได้มากที่สุด
สิ่งที่ควรรู้
ดอกเบี้ยบ้านนั้นคิดเป็นรายวัน แม้ว่าท่านจะขอพักชำระหนี้ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย โดยไม่ต้องจ่ายเงินใด ๆ ในช่วง 3 หรือ 6 เดือน ตามมาตรการ แต่ไม่ได้หมายความว่า ดอกเบี้ยบ้านที่คำนวณทุกวันจะหยุดวิ่งไปด้วย ซึ่งดอกเบี้ยนี้จะกลายมาเป็นดอกเบี้ยคงค้างในเวลาต่อมา ท่านอาจจะต้องไปจ่ายงวดสุดท้ายของการผ่อนบ้าน หรือจ่ายทันทีหลังจากหมดมาตรการแล้ว
สูตรในการคำนวณหายอดเงินคงเหลือคือ จำนวนหนี้ - (ชำระคืนเงินต้น x ระยะเวลา)
1. กรณีผ่อนชำระตามปกติ
หากท่านมีหนี้บ้าน 1,000,000 บาท จ่ายค่างวด งวดละ 10,000 บาท แบ่งเป็นเงินต้น 4,000 บาท และดอกเบี้ย 6,000 บาท หากชำระหนี้ตามปกติ ผ่านไป 6 เดือน ยอดหนี้ของท่านจะเหลือแค่ 976,000 บาท
หากนำมาแทนในสูตรก็คือ จำนวนหนี้ - (ชำระคืนเงินต้น x ระยะเวลา) คือ 1,000,000 - (4,000 x 6)
2. กรณีพักชำระเงินต้น แต่ยังคงจ่ายดอกเบี้ย
หากท่านมีหนี้บ้าน 1,000,000 บาท จ่ายค่างวด งวดละ 10,000 บาท แบ่งเป็นเงินต้น 4,000 บาท และดอกเบี้ย 6,000 บาท หากท่านชำระเพียงแต่ดอกเบี้ย คือจ่ายแค่เดือนละ 6,000 บาท ผ่านไป 6 เดือน ท่านจะยังคงเหลือยอดหนี้ 1,000,000 บาท เท่าเดิม
หากนำมาแทนในสูตรก็คือ จำนวนหนี้ - (ชำระคืนเงินต้น x ระยะเวลา) คือ 1,000,000 - (0 x 6)
3. กรณีพักชำระทั้งเงินต้น และพักชำระดอกเบี้ยด้วย
หากท่านมีหนี้บ้าน 1,000,000 บาท จ่ายค่างวด งวดละ 10,000 บาท แบ่งเป็นเงินต้น 4,000 บาท และดอกเบี้ย 6,000 บาท หากท่านได้รับการผ่อนปรนไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ยและเงินต้นเลย แน่นอนว่าท่านจะไม่เสียประวัติในเครดิตบูโร แต่ดอกเบี้ยที่ไม่ได้จ่ายเลยนั้นจะรวมมาเป็นดอกเบี้ยคงค้าง และเดินไปเรื่อย ๆ ทุกวัน ภายใน 6 เดือน ท่านจะมียอดหนี้ทั้งหมดที่ 1,036,000 บาท
หากนำมาแทนในสูตรก็คือ จำนวนหนี้ - (ชำระคืนเงินต้น x ระยะเวลา) + (ดอกเบี้ย x ระยะเวลา) คือ 1,000,000 - (0 x 6) + (6,000 x 6)
ดังนั้น หากในตอนนี้ใครที่ยังสามารถจ่ายเงินกู้บ้านได้ในอัตราปกติ
ก็แนะนำให้จ่ายไปก่อน เพราะมาตรการต่าง ๆ ที่ธนาคารออกมานั้น
เพียงแค่เป็นการเลื่อนกำหนดการชำระเท่านั้น แต่ดอกเบี้ยยังคงเดินอยู่
ไม่ทำให้ภาระหนี้ของท่านลดลงแต่อย่างใด
จากผลกระทบของโควิด 19 ในประเทศไทย ส่งผลให้หลายภาคส่วนได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง ทางธนาคารต่าง ๆ จึงออกมาตรการมาเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ได้รับความเดือดร้อน แต่มาตรการที่ดูจะได้ใจคนไปมากที่สุด คือมาตรการพักชำระหนี้ ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย เพื่อให้คนดึงกระแสเงินสดมาไว้กับตัวได้มากที่สุด
อย่างไรก็ตาม ล่าสุด ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ออกมาคำนวณให้ดูชัด ๆ แล้วว่า การพักชำระหนี้แบบไม่จ่ายเงินต้นและดอกเบี้ย ยิ่งทำให้หนี้เพิ่มมากขึ้นไปอีก พร้อมกับเปรียบเทียบให้ดูชัด ๆ ว่า การจ่ายหนี้แบบใด สามารถลดเงินต้นและดอกเบี้ยได้มากที่สุด
สิ่งที่ควรรู้
ดอกเบี้ยบ้านนั้นคิดเป็นรายวัน แม้ว่าท่านจะขอพักชำระหนี้ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย โดยไม่ต้องจ่ายเงินใด ๆ ในช่วง 3 หรือ 6 เดือน ตามมาตรการ แต่ไม่ได้หมายความว่า ดอกเบี้ยบ้านที่คำนวณทุกวันจะหยุดวิ่งไปด้วย ซึ่งดอกเบี้ยนี้จะกลายมาเป็นดอกเบี้ยคงค้างในเวลาต่อมา ท่านอาจจะต้องไปจ่ายงวดสุดท้ายของการผ่อนบ้าน หรือจ่ายทันทีหลังจากหมดมาตรการแล้ว
สูตรในการคำนวณหายอดเงินคงเหลือคือ จำนวนหนี้ - (ชำระคืนเงินต้น x ระยะเวลา)
1. กรณีผ่อนชำระตามปกติ
หากท่านมีหนี้บ้าน 1,000,000 บาท จ่ายค่างวด งวดละ 10,000 บาท แบ่งเป็นเงินต้น 4,000 บาท และดอกเบี้ย 6,000 บาท หากชำระหนี้ตามปกติ ผ่านไป 6 เดือน ยอดหนี้ของท่านจะเหลือแค่ 976,000 บาท
หากนำมาแทนในสูตรก็คือ จำนวนหนี้ - (ชำระคืนเงินต้น x ระยะเวลา) คือ 1,000,000 - (4,000 x 6)
หากท่านมีหนี้บ้าน 1,000,000 บาท จ่ายค่างวด งวดละ 10,000 บาท แบ่งเป็นเงินต้น 4,000 บาท และดอกเบี้ย 6,000 บาท หากท่านชำระเพียงแต่ดอกเบี้ย คือจ่ายแค่เดือนละ 6,000 บาท ผ่านไป 6 เดือน ท่านจะยังคงเหลือยอดหนี้ 1,000,000 บาท เท่าเดิม
หากนำมาแทนในสูตรก็คือ จำนวนหนี้ - (ชำระคืนเงินต้น x ระยะเวลา) คือ 1,000,000 - (0 x 6)
หากท่านมีหนี้บ้าน 1,000,000 บาท จ่ายค่างวด งวดละ 10,000 บาท แบ่งเป็นเงินต้น 4,000 บาท และดอกเบี้ย 6,000 บาท หากท่านได้รับการผ่อนปรนไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ยและเงินต้นเลย แน่นอนว่าท่านจะไม่เสียประวัติในเครดิตบูโร แต่ดอกเบี้ยที่ไม่ได้จ่ายเลยนั้นจะรวมมาเป็นดอกเบี้ยคงค้าง และเดินไปเรื่อย ๆ ทุกวัน ภายใน 6 เดือน ท่านจะมียอดหนี้ทั้งหมดที่ 1,036,000 บาท
หากนำมาแทนในสูตรก็คือ จำนวนหนี้ - (ชำระคืนเงินต้น x ระยะเวลา) + (ดอกเบี้ย x ระยะเวลา) คือ 1,000,000 - (0 x 6) + (6,000 x 6)
ภาพจาก ธนาคารแห่งประเทศไทย
ภาพจาก ธนาคารแห่งประเทศไทย