กฟน. ตอบคำถามประเด็นที่คนลงทะเบียนขอคืนค่าไฟ แต่ทำไมยังไม่ได้เสียที ที่แท้เป็นเพราะคนลงทะเบียนผิดที่ หรือไม่ก็กรอกข้อมูลไม่ครบ จึงกลายเป็นแบบนี้
จากกรณีที่การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) เปิดให้มีการลงทะเบียนขอคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้า ตั้งแต่วันที่ 25 มีนาคม 2563 เป็นต้นมา ซึ่งทาง กฟน. ได้คืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้าให้ประชาชนไปแล้วเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม ยังมีผู้ที่ลงทะเบียนไปแล้วบางส่วนที่เกิดความสงสัยว่าทำไมจึงได้รับเงินคืนล่าช้านั้น
ล่าสุด วันที่ 10 เมษายน 2563 นายจาตุรงค์ สุริยาศศิน ผู้ช่วยผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวง ชี้แจงถึงกรณีดังกล่าวว่า คนที่ใช้บริการ กฟน. ทั้งหมดมี 3.85 ล้านราย ลงทะเบียนแล้ว 1.87 ล้านราย แต่ยอดจ่ายจริงตอนนี้ก็ประมาณ 1 ล้านรายแล้ว
ส่วนที่เหลือทำไมนานจัง นั่นเป็นเพราะว่า ประมาณ 5 แสนราย เป็นคนที่ลงทะเบียนจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) คือระบบนั้นได้รับข้อมูล แต่เมื่อตรวจสอบแล้วไม่มีข้อมูลในฐานระบบของ กฟน. จึงทำให้ไม่ได้รับเงินเสียที ซึ่งคนอาจจะเข้าใจผิด คิดว่าลงทะเบียนที่ไหนก็ได้ พอไม่ได้รับเงินก็เลยมาต่อว่าว่าจ่ายช้า
ฉะนั้นจึงอยากให้คนเหล่านี้ไปตรวจสอบด้วยว่า ตัวเองใช้บริการของหน่วยงานไหน ถ้าไม่ใช่คนที่อยู่ในกรุงเทพฯ, นนทบุรี, สมุทรปราการ ท่านต้องไปลงทะเบียนกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเท่านั้น
ทั้งนี้ สถิติคนที่ลงทะเบียนผิด มักมาจากปริมณฑลหรือจังหวัดที่อยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ เช่น อยุธยา ปทุมธานี นครปฐม เป็นต้น
ส่วนคำถามที่ว่า ถ้าลงทะเบียนได้ถูกค่าย จะได้รับเงินภายในกี่วัน เรื่องนี้ นายจาตุรงค์ ตอบว่า ตามหลักการนั้นขึ้นอยู่กับช่องทางการรับเงิน ดังนี้
1. พร้อมเพย์ 3 วัน แต่ต้องผูกบัญชีพร้อมเพย์ที่ลงทะเบียนด้วยเลขบัตรประชาชนเท่านั้น และมีประมาณ 5 หมื่นราย ที่เข้าใจผิดคิดว่าสามารถใช้เบอร์โทรศัพท์มือถือได้ จึงทำให้ไม่ได้รับเงินเสียที
2. บัญชีธนาคาร ประมาณ 10 วันทำการ แต่ตรงนี้มีปัญหาเรื่องการให้เลขบัญชีที่ไม่ตรงกับชื่อเจ้าของหลักประกัน กลับให้บัญชีลูกหลานแทน มีประมาณ 1 แสนราย หากมีความผิดพลาดขั้นตอนนี้ กว่าธนาคารจะตีกลับก็ใช้เวลาหลายวันอยู่ จากนั้น กฟน. ก็จะแจ้งเจ้าของหลักประกันต่อว่า เลขที่บัญชีผิด ให้มาลงใหม่
3. เคาน์เตอร์เซอร์วิส ทาง กฟน. จะส่ง SMS พร้อมพิน 6 หลัก และจำนวนเงิน ซึ่งเจ้าของหลักประกันต้องไปรับเงินที่เคาน์เตอร์เซอร์วิสด้วยตัวเอง
ล่าสุด วันที่ 10 เมษายน 2563 นายจาตุรงค์ สุริยาศศิน ผู้ช่วยผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวง ชี้แจงถึงกรณีดังกล่าวว่า คนที่ใช้บริการ กฟน. ทั้งหมดมี 3.85 ล้านราย ลงทะเบียนแล้ว 1.87 ล้านราย แต่ยอดจ่ายจริงตอนนี้ก็ประมาณ 1 ล้านรายแล้ว
ส่วนที่เหลือทำไมนานจัง นั่นเป็นเพราะว่า ประมาณ 5 แสนราย เป็นคนที่ลงทะเบียนจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) คือระบบนั้นได้รับข้อมูล แต่เมื่อตรวจสอบแล้วไม่มีข้อมูลในฐานระบบของ กฟน. จึงทำให้ไม่ได้รับเงินเสียที ซึ่งคนอาจจะเข้าใจผิด คิดว่าลงทะเบียนที่ไหนก็ได้ พอไม่ได้รับเงินก็เลยมาต่อว่าว่าจ่ายช้า
ฉะนั้นจึงอยากให้คนเหล่านี้ไปตรวจสอบด้วยว่า ตัวเองใช้บริการของหน่วยงานไหน ถ้าไม่ใช่คนที่อยู่ในกรุงเทพฯ, นนทบุรี, สมุทรปราการ ท่านต้องไปลงทะเบียนกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเท่านั้น
ทั้งนี้ สถิติคนที่ลงทะเบียนผิด มักมาจากปริมณฑลหรือจังหวัดที่อยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ เช่น อยุธยา ปทุมธานี นครปฐม เป็นต้น
ส่วนคำถามที่ว่า ถ้าลงทะเบียนได้ถูกค่าย จะได้รับเงินภายในกี่วัน เรื่องนี้ นายจาตุรงค์ ตอบว่า ตามหลักการนั้นขึ้นอยู่กับช่องทางการรับเงิน ดังนี้
1. พร้อมเพย์ 3 วัน แต่ต้องผูกบัญชีพร้อมเพย์ที่ลงทะเบียนด้วยเลขบัตรประชาชนเท่านั้น และมีประมาณ 5 หมื่นราย ที่เข้าใจผิดคิดว่าสามารถใช้เบอร์โทรศัพท์มือถือได้ จึงทำให้ไม่ได้รับเงินเสียที
2. บัญชีธนาคาร ประมาณ 10 วันทำการ แต่ตรงนี้มีปัญหาเรื่องการให้เลขบัญชีที่ไม่ตรงกับชื่อเจ้าของหลักประกัน กลับให้บัญชีลูกหลานแทน มีประมาณ 1 แสนราย หากมีความผิดพลาดขั้นตอนนี้ กว่าธนาคารจะตีกลับก็ใช้เวลาหลายวันอยู่ จากนั้น กฟน. ก็จะแจ้งเจ้าของหลักประกันต่อว่า เลขที่บัญชีผิด ให้มาลงใหม่
3. เคาน์เตอร์เซอร์วิส ทาง กฟน. จะส่ง SMS พร้อมพิน 6 หลัก และจำนวนเงิน ซึ่งเจ้าของหลักประกันต้องไปรับเงินที่เคาน์เตอร์เซอร์วิสด้วยตัวเอง