เช็กสิทธิผู้กระทบ โควิด 19 จาก กระทรวงแรงงาน กรณีลูกจ้างถูกเลิกจ้าง หรือนายจ้างหยุดกิจการ ได้รับการเยียวยาตามกฎหมายอย่างไรบ้าง

จากสถานการณ์โรคโควิด 19 ทำให้คนประกอบอาชีพอิสระ หรือลูกจ้าง ได้รับผลกระทบจากการถูกเลิกจ้าง ซึ่งในกรณีเป็นผู้ประกันตน ในระบบประกันสังคม ก็จะมีการเยียวยาให้ตามหลักเกณฑ์นั้น
อ่านข่าว : ประกันสังคม เปิดลงทะเบียนรับเงิน 7,500 บาท คนตกงาน ทำยังไงบ้าง เช็กเลย !
ขณะเดียวกัน กระทรวงแรงงาน ได้เผยมาตรการเยียวยาของ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ผู้ที่กระทบจากการเลิกจ้าง หรือนายจ้างต้องปิดกิจการชั่วคราว ประกอบด้วย
กรณีนายจ้างเลิกจ้าง (ทั้งหมด / บางส่วน) หรือปิดกิจการ
นายจ้างต้องจ่ายเงินชดเชยให้ลูกจ้าง ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
- ประสบการณ์ทำงานน้อยกว่า 1 ปี / อัตราชดเชย 30 วัน
- ประสบการณ์ทำงาน 1 ปี แต่ไม่เกิน 3 ปี / อัตราชดเชย 90 วัน
- ประสบการณ์ทำงาน 3 ปี แต่ไม่เกิน 6 ปี / อัตราชดเชย 180 วัน
- ประสบการณ์ทำงาน 6 ปี แต่ไม่เกิน 10 ปี / อัตราชดเชย 240 วัน
- ประสบการณ์ทำงาน 10 ปี แต่ไม่เกิน 20 ปี / อัตราชดเชย 300 วัน
- ประสบการณ์ทำงาน 20 ปีขึ้นไป / อัตราชดเชย 400 วัน
กรณีนายจ้างหยุดกิจการชั่วคราวเนื่องจากเหตุจำเป็น (เช่น เศรษฐกิจไม่ดี หรือไม่มี Order )
นายจ้างต้องจ่ายเงินให้ลูกจ้างไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของค่าจ้าง ตลอดระยะเวลาที่ลูกจ้างหยุดงาน
กรณีนายจ้างหยุดกิจการชั่วคราว ในกิจการท่องเที่ยว / โรงแรม / สายการบิน
อยู่ระหว่างการพิจารณาร่วมกับกระทรวงการคลัง ให้ได้รับสิทธิชดเชยการขาดรายได้
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน สายด่วน 1546 และ 1506 กด 3
นายจ้างต้องจ่ายเงินชดเชยให้ลูกจ้าง ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
- ประสบการณ์ทำงานน้อยกว่า 1 ปี / อัตราชดเชย 30 วัน
- ประสบการณ์ทำงาน 1 ปี แต่ไม่เกิน 3 ปี / อัตราชดเชย 90 วัน
- ประสบการณ์ทำงาน 3 ปี แต่ไม่เกิน 6 ปี / อัตราชดเชย 180 วัน
- ประสบการณ์ทำงาน 6 ปี แต่ไม่เกิน 10 ปี / อัตราชดเชย 240 วัน
- ประสบการณ์ทำงาน 10 ปี แต่ไม่เกิน 20 ปี / อัตราชดเชย 300 วัน
- ประสบการณ์ทำงาน 20 ปีขึ้นไป / อัตราชดเชย 400 วัน
กรณีนายจ้างหยุดกิจการชั่วคราวเนื่องจากเหตุจำเป็น (เช่น เศรษฐกิจไม่ดี หรือไม่มี Order )
นายจ้างต้องจ่ายเงินให้ลูกจ้างไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของค่าจ้าง ตลอดระยะเวลาที่ลูกจ้างหยุดงาน
กรณีนายจ้างหยุดกิจการชั่วคราว ในกิจการท่องเที่ยว / โรงแรม / สายการบิน
อยู่ระหว่างการพิจารณาร่วมกับกระทรวงการคลัง ให้ได้รับสิทธิชดเชยการขาดรายได้
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน สายด่วน 1546 และ 1506 กด 3
ภาพจาก เฟซบุ๊ก Live NBT2HD
>> อ่านข้อมูลและติดตามสถานการณ์ COVID-19 << ได้ที่นี่