จากมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด 19 ที่ให้คนอยู่บ้านเพื่อหยุดการแพร่เชื้อ และซื้ออาหารไปกินที่บ้านแทนที่จะนั่งกินที่ร้านตามปกติ ทำให้ความนิยมในการสั่งอาหารออนไลน์เพิ่มขึ้นมาก เพราะคนต้องกักตัวและทำงานที่บ้านตลอดเวลา หากร้านใดมีหน้าร้านทั้งปกติและในแอปพลิเคชัน Food Delivery ย่อมได้เปรียบ ดังนั้น ใครที่ขายอาหารแต่ยังไม่มีหน้าร้านออนไลน์ จึงควรรีบสมัครด่วน เพื่อพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสในการสร้างรายได้
เราจึงจะมาแนะนำ ขั้นตอนการลงทะเบียนใน 4 แอปพลิเคชัน Food Delivery ดัง ว่ามีวิธีการอย่างไรบ้าง ค่าสมัคร ค่าใช้จ่าย เท่าไหร่ และจะสมัครได้ผ่านช่องทางไหน มาดูรายละเอียดเลย
วิธีสมัคร
iOS หรือ Android
2. กรอกข้อมูลร้านค้าลงบน Wongnai Merchant App (WMA) เปิดแอปพลิเคชันขึ้นมา แล้วกด "ลงทะเบียนร้าน" (Sign up) ระบบจะพาไปหน้าลงทะเบียนร้านเดลิเวอรี่
3. เพิ่มข้อมูลร้านให้ครบถ้วน กรอกชื่อร้าน แล้วกดลงทะเบียน หากไม่พบ ให้กด “คลิกที่นี่ เพื่อใส่ข้อมูลเอง” จากนั้น กรอกชื่อร้าน ประเภทธุรกิจ หมวดหมู่ เลือกตำแหน่งร้านค้าจากแผนที่ รายละเอียดผู้ติดต่อ ให้ครบถ้วนและเลือกความสนใจ
4. รอรับรหัส OTP เพื่อยืนยันตัวตน
หลังจากลงทะเบียนแล้วจะได้รับรหัส OTP และคู่มือการใช้งานแอปพลิเคชัน ผ่านทาง SMS กรอกรหัส OTP ลงไปในแอปพลิเคชัน จากนั้นกรอกข้อมูลร้านและเมนูที่ขายตามคู่มือที่ได้รับ ก็เป็นอันเสร็จ เตรียมเริ่มขายผ่าน LINE MAN ได้ทันที
ค่าสมัคร
ค่าคอมมิชชั่น
คิดค่าอาหารอย่างไร
ดูว่ามีออร์เดอร์เข้ามาทางไหน
จะได้รับเงินเมื่อไหร่
พื้นที่ให้บริการ
ข้อมูลเพิ่มเติม
วิธีสมัคร
1. เข้าไปลงทะเบียนที่ grab.com
2. ภายใน 5 นาที รับอีเมลพร้อมรหัสร้านค้าเพื่อกรอกแบบฟอร์มข้อมูลร้านค้าและแนบเอกสารสำคัญ กดส่ง
ทั้งนี้ จะต้องส่งมอบเมนูอาหาร หลักฐานและเอกสารต่าง ๆ เพื่อทำการอัปโหลดขึ้นทางหน้า App Grab Food ด้วย โดยเอกสารที่ใช้ในการทำสัญญา ได้แก่
ถ้าเป็นบุคคลทั่วไป
- สำเนาบัตรประชาชน
- สำเนาบัญชีธนาคารกสิกรไทย หรือกรุงศรีอยุธยา (ต้องมีรายการเคลื่อนไหว)
ถ้าจดทะเบียนร้านค้าเป็นนิติบุคคล
- สำเนาใบจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20)
- สำเนาใบจดทะเบียนรับรองบริษัท ที่ออกโดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้า (โดยวันที่ออกหนังสือรับรองจะต้องไม่เกินระยะเวลา 3 เดือน นับจากวันที่มีผลบังคับใช้)
- สำเนาบัตรประชาชนผู้มีอำนาจ
- สำเนาบัญชีธนาคารกสิกรไทย หรือกรุงศรีอยุธยา (ต้องมีรายการเคลื่อนไหว)
หมายเหตุ
- ผู้มีอำนาจลงนามจะต้องเซ็นรับสำเนาถูกต้อง พร้อมประทับตราบริษัทในเอกสารทุกฉบับ
- ถ้ามีการมอบอำนาจให้ผู้อื่นเซ็นแทน จะต้องมีใบมอบอำนาจรับรอง ทั้งนิติบุคคลและบุคคลทั่วไป หากมีใบรับรองมาตรฐานอาหารฮาลาล ก็สามารถแนบประกอบการส่งเอกสารด้วยได้ เพื่อทำการประชาสัมพันธ์ได้อย่างชัดเจน
3. ภายใน 3-5 วัน รับเอกสารสัญญาอิเล็กทรอนิกส์ผ่านอีเมล และเซ็นชื่อในสัญญา
4. ภายใน 2 ชั่วโมง รับอีเมลศึกษาวิธีการเปิดระบบร้านค้า และดาวน์โหลดแอปฯ GrabMerchant
5. ภายใน 24 ชั่วโมง เข้าสู่ระบบแอปฯ ด้วยชื่อผู้ใช้งานและรหัสผ่านชั่วคราวจาก Grab ก่อนกำหนดรหัสผ่านเข้าใช้งานด้วยตนเอง จากนั้นเพิ่มเมนูอาหาร เปิดสถานะร้านค้า และเสิร์ฟออร์เดอร์ได้เลย
* หมายเหตุ หากเอกสารสัญญาไม่ผ่าน จะได้รับแบบฟอร์มเพื่อกรอกข้อมูลร้านค้าและแนบเอกสารสำคัญผ่านอีเมลในวันที่ได้รับแจ้งผล
ค่าสมัคร
ค่าคอมมิชชั่น
จะคิดค่าอาหารอย่างไร
ดูว่ามีออร์เดอร์เข้ามาทางไหน
จะได้รับเงินเมื่อไหร่
พื้นที่ให้บริการ
ข้อมูลเพิ่มเติม
วิธีสมัคร
1. ลงทะเบียนออนไลน์ที่ foodpanda.co.th
2. รอเจ้าหน้าที่ตรวจสอบเพื่ออนุมัติร้านอาหาร หลังจากผ่านการตรวจสอบร้านค้าจะได้รับอีเมลเพื่อกรอกข้อมูลเพิ่มเติมอีกครั้ง
3. ร้านค้าจะต้องกรอกข้อมูลเพิ่มเติมผ่านลิงก์ที่แนบไปในอีเมลในข้อที่ 2. ให้ถูกต้องครบถ้วน
4. รอทางเจ้าหน้าที่ของ Foodpanda ติดต่อกลับเพื่อขอรายละเอียดเมนูและยืนยันการเซ็นสัญญา
5. ทำการตรวจสอบเมนูอาหารและสร้างร้านค้าบนระบบ
6. Foodpanda จะมอบแท็บเล็ตให้ใช้งาน
7. เจ้าหน้าที่ Foodpanda ให้คำปรึกษาและแนะนำการใช้งานแท็บเล็ตผ่านทางโทรศัพท์
8. สามารถเปิดร้านอาหารบน Foodpanda เพื่อรับออร์เดอร์ได้เลย
เอกสารที่ต้องใช้ในการสมัคร
บุคคลธรรมดา
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน พร้อมลายเซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง
- สำเนาบัญชีธนาคาร พร้อมลายเซ็นสำเนาถูกต้อง
- รูปถ่ายหน้าร้านที่เห็นพื้นที่ร้านพร้อมป้ายชื่อร้านอย่างชัดเจน
บริษัท
- ใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20)
- ใบจดทะเบียนรองรับบริษัท
- สำเนาบัญชีธนาคาร พร้อมลายเซ็นสำเนาถูกต้อง
- รูปถ่ายหน้าร้านที่เห็นพื้นที่ร้านพร้อมป้ายชื่อร้านอย่างชัดเจน
ค่าสมัคร
ค่าคอมมิชชั่น
จะคิดค่าอาหารอย่างไร
ดูว่ามีออร์เดอร์เข้ามาทางไหน
จะได้รับเงินเมื่อไหร่
พื้นที่ให้บริการ
ทั่วประเทศ 77 จังหวัด โดยในต่างจังหวัดจะครอบคลุมเฉพาะพื้นที่ในเมือง
ข้อมูลเพิ่มเติม
วิธีสมัครสำหรับบุคคลธรรมดา
ผู้สมัครต้องมีบัญชีธนาคารไทยพาณิชย์ก่อน จึงสามารถลงทะเบียนร้านอาหารของตัวเองได้ หากมี
บัญชีธนาคารไทยพาณิชย์แล้วให้ทำตามขั้นตอนนี้
1. ดาวน์โหลดแอปฯ Robinhood Shop (ดาวน์โหลดสำหรับ iOS และ Android)
2. กดสมัครผ่านแอปฯ SCB EASY (ถ้ายังไม่มีแอปฯ SCB EASY ให้ดาวน์โหลดและลงทะเบียนก่อน)
3. เข้าสู่ระบบแอปฯ SCB EASY
4. กดอนุญาตให้ Robinhood เข้าถึงข้อมูล
5. กดยอมรับเงื่อนไขการใช้บริการ
6. เลือกผู้ให้บริการจัดส่ง และกดตกลง
7. กรอกข้อมูลเจ้าของร้าน และรายละเอียดต่าง ๆ
8. อัปโหลดรูปอาหาร
9. กรอกรายละเอียดของร้าน เลือกประเภทอาหาร
10. กรอกข้อมูลที่ตั้งร้านค้า
11. เลือกบัญชีรับเงินและหักเงิน (เฉพาะบัญชีออมทรัพย์ หรือเดินสะพัดส่วนบุคคลเท่านั้น) แล้วกดยอมรับเงื่อนไข
12. กรอกรหัส OTP ที่ได้รับทางโทรศัพท์
13. สมัครใช้งานสำเร็จ รอรับอีเมลแจ้ง password เข้าใช้งาน จากนั้นล็อกอินเข้าระบบ Robinhood ได้เลย
เงื่อนไขการสมัครเบื้องต้น
- ต้องมีบัญชี SCB ประเภทออมทรัพย์ หรือเดินสะพัด
- มีแอปพลิเคชัน SCB EASY
- เป็นร้านขายอาหาร รวมขนม และเครื่องดื่ม พร้อมสั่ง พร้อมส่ง พร้อมทาน ไม่รวมการขายอาหารสัตว์เลี้ยง
ค่าสมัคร
ค่าคอมมิชชั่น
พาร์ตเนอร์แนะนำ : ไม่มีค่าคอมมิชชั่น แต่จะคิดเป็นค่า Logistic Subsidy (LS) คือส่วนลดค่าส่งอาหารให้ลูกค้าในอัตรา 8% ของยอดค่าอาหาร
- กรณีที่ลูกค้าสั่งอาหารและชำระด้วยบัตรเครดิต/เดบิต/เติมเงิน มีค่าธรรมเนียมในการรับบัตรที่ 1.85% (ยังไม่รวม VAT)
- หากลูกค้าชำระผ่านแอปพลิเคชัน SCB EASY (ตัดบัญชีออมทรัพย์ หรือเดินสะพัด) จะไม่มีค่าธรรมเนียมสำหรับร้านค้าในการรับเงิน
จะคิดค่าอาหารอย่างไร
ดูว่ามีออร์เดอร์เข้ามาทางไหน
จะได้รับเงินเมื่อไหร่
พื้นที่ให้บริการ
- ทุกพื้นที่ในกรุงเทพฯ นนทบุรี สมุทรปราการ ปทุมธานี
- บางพื้นที่ในจังหวัดสมุทรสาคร : อำเภอเมืองและกระทุ่มแบน
- บางพื้นที่ในจังหวัดนครปฐม : อำเภอนครชัยศรี พุทธมณฑลและบางเลน
ข้อมูลเพิ่มเติม
สมัครง่ายไม่ยุ่งยาก แถมยังเข้ากับยุคสมัยที่คนสั่งอาหาร ออนไลน์กันมากขึ้น ใครอยู่ในพื้นที่ที่แอปพลิเคชันไหนให้บริการก็ลองโหลดแล้วเปิดหน้าร้านได้เลย ไม่แน่ว่าอาจจะขายดี จนเป็นหนึ่งในร้านอาหาร Food Delivery ที่ใคร ๆ ต่างชื่นชอบก็ได้
*หมายเหตุ : อัปเดตข้อมูลล่าสุดวันที่ 20 กรกฎาคม 2564
ขอบคุณข้อมูลจาก
wongnai, grab, grab, foodpanda, robinhood.in.th