แม่ค้าออนไลน์ บริษัทต่าง ๆ มีเฮ รัฐลดอัตราภาษีหัก ณ ที่จ่าย จาก 3% เป็น 1.5% และมาดูกันว่า คนที่ได้รับสิทธิ์ มีใครบ้าง

ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูล
วันที่ 30 มีนาคม 2563 ราชกิจจานุเบกษา ประกาศกฎกระทรวง
ฉบับที่ 361 (พ.ศ. 2563) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยภาษีเงินได้
ประกาศให้ลดภาษีหัก ณ ที่จ่าย จาก 3% เหลือ 1.5% ตั้งแต่วันที่ 1
เมษายน พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2563
โดยผู้ที่ได้รับประโยชน์จากมาตรการลดภาษีดังกล่าว มีดังต่อไปนี้
โดยผู้ที่ได้รับประโยชน์จากมาตรการลดภาษีดังกล่าว มีดังต่อไปนี้
ผู้ที่ได้รับประโยชน์ : โดยผู้ที่อยู่ในมาตรา 40 (2) ต้องดูในส่วนของผู้รับ ที่เป็นนิติบุคคล บริษัท ห้างหุ้นส่วนเท่านั้น ไม่รวมไปถึงบุคคลธรรมดา อันได้แก่ เงินได้จากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้ ไม่ว่าจะเป็นค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า ค่าส่วนลด เงินอุดหนุนในงานที่ทำ เบี้ยประชุม บำเหน็จ โบนัส เงินค่าเช่าบ้าน ค่าคอมมิชชั่น เงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้านที่ผู้จ่ายเงินได้ให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า
เช่น กรณีที่ท่านเป็นเซลส์ของบริษัท ที่มีคอมมิชชั่น ท่านจะไม่จัดอยู่ในกลุ่มนี้ เพราะถือเป็นผู้ที่มีเงินได้ตามมาตรา 40 (1) หรือหากท่านเป็นมนุษย์เงินเดือน รับเงินเดือนเพียงอย่างเดียว ก็ไม่เข้าข่ายนี้เช่นกัน
เช่นเดียวกัน หากท่านเป็นพริตตี้ รับรีวิวสินค้า ได้เงินจากการขายตรง เบี้ยประชุม ค่าสอนโรงเรียนเอกชน รับจ้างแปลเอกสาร ที่จ้างมาเป็นครั้ง ๆ ท่านก็ยังถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 3% เช่นเดิม
ท่านจะได้รับประโยชน์จากกรณีนี้ ในกรณีที่ท่านเป็นบริษัท ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ได้มีการจ้างอีกบริษัทหนึ่งให้มาทำงานให้ เช่น บริษัท A จ้างบริษัท B ให้แปลเอกสาร แบบนี้จากที่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 3 % จะถูกหักแค่ 1.5%
ผู้ที่ได้รับประโยชน์ : โดยผู้ที่อยู่ในมาตรา 40 (3) คือบริษัทที่ได้รับเงินค่าลิขสิทธิ์ เช่น ลิขสิทธิ์เพลง บทประพันธ์ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เกม ภาพ รวมไปถึงชื่อเสียงทางการค้า แต่เฉพาะบริษัทเท่านั้น
ยกตัวอย่าง หากท่านเป็นบุคคลธรรมดา เขียนเพลง และได้รับเงินค่าลิขสิทธิ์เพลง ท่านยังคงต้องจ่ายภาษีหัก ณ ที่จ่ายเท่าเดิม
แต่หากท่านเป็นบริษัทที่ถือครองลิขสิทธิ์เพลง ท่านจะได้รับประโยชน์ จ่ายภาษี ณ ที่จ่ายเพียง 1.5%
3. การจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (6) และ (7) แห่งประมวลรัษฎากร ให้แก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือภาษีเงินได้นิติบุคคล แต่ไม่รวมถึงมูลนิธิหรือสมาคมที่ประกอบกิจการซึ่งมีรายได้ และมูลนิธิหรือสมาคมที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดตามมาตรา 47 (7) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร
ผู้ที่ได้รับประโยชน์ : โดยผู้ที่อยู่ในมาตรา 40 (6) ได้แก่ คนที่อยู่ในวิชาชีพอิสระ เช่น ทนายความ บุคลากรที่ประกอบวิชาชีพทางการแพทย์ (แพทย์ พยาบาล นักเทคนิค ฯลฯ) วิศวกร สถาปนิก นักบัญชี ศิลปิน และผู้ประกอบวิชาชีพอื่น ๆ
และคนที่อยู่ในมาตรา 40 (7) ได้แก่ ผู้รับเหมา ผู้รับงานจ้างต่าง ๆ
4. การจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะที่เป็นเงินได้จากการจ้างทำของ การจ่ายรางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใด ๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขาย และการให้บริการอื่น ๆ นอกเหนือจากกรณีที่กำหนดไว้ใน (3) (15) (16) และ (17)
แต่ไม่รวมถึง การจ่ายค่าบริการของโรงแรม ค่าบริการของภัตตาคาร และค่าเบี้ยประกันชีวิต ให้แก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือภาษีเงินได้นิติบุคคล แต่ไม่รวมถึงมูลนิธิหรือสมาคมที่ประกอบกิจการซึ่งมีรายได้ และมูลนิธิหรือสมาคมที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดตามมาตรา 47 (7) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร
ผู้ที่ได้รับประโยชน์ : โดยผู้ที่อยู่ในมาตรา 40 (8) ได้แก่ คนที่ได้รับกำไรจากการขายกองทุนรวม ขายอสังหาริมทรัพย์ ได้รับเงินปันผล ได้รับเงินจากการชิงรางวัล
เช่น ท่านชิงโชคได้รับรถ 1,000,000 บาท จากเดิมที่ท่านจะต้องเสียภาษีหัก ณ ที่จ่าย 3% ก็เสียเพียง 1.5% แทน

ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูล
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก