
1. BAM คือบริษัทอะไร ประกอบธุรกิจอะไร

2. ไทม์ไลน์การก่อตั้งบริษัท บริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
BAM ก่อตั้งขึ้น หลังจากเกิดวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 เพื่อบริหารจัดการสินทรัพย์ด้อยคุณภาพและทรัพย์สินรอการขายของธนาคารกรุงเทพพาณิชย์ ก่อนจะขยายขอบเขตการดำเนินงานด้านนี้ ให้กับสถาบันการเงินอื่น ๆ ดังไทม์ไลน์นี้
- วันที่ 14 สิงหาคม 2541 คณะรัฐมนตรี มีมติให้จัดตั้งบริษัท บริหารสินทรัพย์กรุงเทพพาณิชย์ ตามแผนฟื้นฟูระบบสถาบันการเงินของกระทรวงการคลัง เพื่อบริหารจัดการสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ จำกัด (มหาชน) (BBC) ซึ่งปิดตัวลง
- วันที่ 7 มกราคม 2542 จดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัด ได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยให้ประกอบกิจการเป็นบริษัทบริหารสินทรัพย์
- ปี 2545 เพิ่มขอบเขตการบริหารจัดการสินทรัพย์ ด้วยการเป็นตัวแทนเรียกเก็บ-ชำระหนี้ รับฝากดูแลเก็บรักษาทรัพย์สิน เอกสารการโอนทรัพย์สิน รวมถึงรับซื้อ/รับโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ (NPL) จากสถาบันการเงินอื่น
- วันที่ 20 ธันวาคม 2548 BAM รวมกิจการกับบรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน (AMC) และขยายสาขาเป็น 25 แห่งทั่วประเทศ เพิ่มเครือข่ายในการรองรับลูกค้าทั้งด้านการปรับโครงสร้างหนี้ และการจำหน่ายทรัพย์สิน รอการขายอย่างครบวงจร
- วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2558 บริษัทได้จดทะเบียนแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชน ใช้ชื่อว่า บริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
- วันที่ 31 ธันวาคม 2561 เป็นบริษัทบริหารสินทรัพย์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย โดยพิจารณาจากสินทรัพย์รวม ตามข้อมูลในรายงานภาวะอุตสาหกรรมซึ่งจัดทำโดยอิปซอสส์
- วันที่ 16 สิงหาคม 2562 ยื่นเรื่องต่อสำนักงาน ก.ล.ต. เพื่อเสนอขายหุ้นต่อประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO)
- วันที่ 16 ธันวาคม 2562 นำบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และเริ่มต้นซื้อขายหุ้นเป็นวันแรก
3. ธุรกิจหลักในมือ BAM

เป้าหมายทางธุรกิจของ BAM คือ ต้องการแก้ไขสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของประเทศ ให้กลับมาเป็นสินทรัพย์ที่มีคุณภาพและหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจได้อีกครั้ง จึงเน้น 2 ธุรกิจหลัก ๆ คือ
1. ธุรกิจบริหารจัดการสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ (NPL)
โดยการเข้าซื้อ-ประมูลสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ (NPL) จากสถาบันการเงินต่าง ๆ ที่เกิดจากลูกหนี้ค้างชำระเกิน 90 วัน แล้วเจรจาปรับโครงสร้างหนี้กับลูกหนี้ เพื่อให้ได้ข้อตกลงเป็นที่พึงพอใจของทุกฝ่าย โดยส่วนใหญ่จะเข้าซื้อหรือประมูลกับลูกหนี้ที่มีหลักประกัน เพื่อให้ได้กลุ่มที่มีศักยภาพในการชำระหนี้คืนมากที่สุด ซึ่งที่ผ่านมา BAM สามารถปิดบัญชีลูกหนี้ NPLs ที่รับซื้อจากสถาบันการเงินต่าง ๆ ได้แล้วกว่า 90,000 ล้านบาท
2. ธุรกิจบริหารจัดการทรัพย์สินรอการขาย (NPA)
อีกหนึ่งธุรกิจสำคัญ ก็คือการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทรัพย์สินรอการขาย ที่ถูกทิ้งร้างหรือสร้างค้างไว้ ให้มีสภาพดีแล้วขายทอดตลาดในราคาที่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นที่ดินเปล่า โรงแรม อาคารเพื่อการพาณิชย์ บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮาส์ อาคารชุด ทำให้คนรายได้น้อย-ปานกลาง สามารถเป็นเจ้าของได้ในราคาที่ถูก โดยอสังหาฯ เหล่านี้ ได้มาจากการขายทอดตลาดของกรมบังคับคดี สถาบันการเงิน หรือลูกหนี้นำมาใช้เป็นหลักประกันเพื่อการชำระหนี้

4. ส่องโครงการน่าสนใจของ BAM
เพราะไม่ได้ดำเนินธุรกิจโดยมุ่งหวังแต่ผลกำไรอย่างเดียว BAM จึงมีโครงการที่ช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยให้มีบ้านของตนเอง คืนกำไรให้กับลูกหนี้ และสร้างประโยชน์ต่อสังคมมาโดยตลอด อย่างเช่น
- โครงการ “สุขใจ ได้บ้านคืน” ช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยของ BAM ให้ได้หลักประกันซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยคืนง่ายขึ้น
- โครงการ BAM ช่วยฟื้นคืนธุรกิจ ให้ลูกหนี้ SME ที่มีภาระเงินต้นต่อรายไม่เกิน 20 ล้านบาท สามารถชำระหนี้ได้ในอัตรา 80% ของราคาประเมินหลักประกัน เพื่อให้สามารถดำเนินธุรกิจต่อไป
- โครงการ BAM ช่วยลดเพื่อปลดหนี้เกษตรกร เป็นโครงการที่ช่วยเหลือลูกหนี้ BAM ที่เป็นเกษตรกร ให้สามารถชำระหนี้ในอัตราที่น้อยลง โดยมีเงื่อนไขคือ ต้องมีภาระเงินต้นต่อรายไม่เกิน 5 ล้านบาท
5. ผลประกอบการเติบโตทุกปี
ความได้เปรียบของ BAM เหนือบริษัทอื่น คือ ไม่ว่าสภาพเศรษฐกิจจะถดถอยหรือเติบโต ล้วนส่งผลดีต่อการดำเนินธุรกิจ เพราะถ้าเศรษฐกิจดี ลูกหนี้ก็จะชำระหนี้คืนได้มากขึ้น ประชาชนมีกำลังซื้อทรัพย์สินจากบริษัท ถ้าเศรษฐกิจแย่ บริษัทก็สามารถประมูลลูกหนี้ได้มากขึ้น สามารถซื้อสินทรัพย์มาเพิ่มมูลค่าได้ในราคาที่ถูกลง ส่งผลให้ตลอด 20 ปีที่ผ่านมา ผลการดำเนินงานจึงมีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็น
- สินทรัพย์
บริษัทสามารถรักษาระดับการขยายสินทรัพย์ได้อย่างเหมาะสมตามภาวะเศรษฐกิจ และมีประสิทธิภาพในการบริหารสินทรัพย์ให้เป็นเงินสด สินทรัพย์จึงเพิ่มขึ้นโดยตลอด โดยถึงสิ้นสุดปี 2562 มีสินทรัพย์รวม 1.15 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2561 จำนวน 8,136 ล้านบาท คิดเป็น 7.6%

แม้มีลักษณะขึ้นลง ตั้งแต่ปี 2559 แต่ในปี 2562 บริษัทสามารถเรียกเก็บเงินสดจากธุรกิจบริหารจัดการสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ (NPL) และธุรกิจบริหารจัดการทรัพย์สินรอการขาย (NPA) ได้เพิ่มขึ้นจากปี 2561 อีก 2,485 ล้านบาท ทำให้มีรายได้รวมทั้งสิ้น เป็นจำนวนเงิน 12,236.1 ล้านบาท คิดเป็นอัตราเติบโต 25.4%

กำไรของ BAM ปี 2562 อยู่ที่ 6,549 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2561 ถึง 1,347 ล้านบาท คิดเป็นอัตราเติบโต 25.9%

6. หุ้น BAM กับการเข้าตลาดหลักทรัพย์ครั้งแรก
วันที่ 16 สิงหาคม 2562 BAM ได้ยื่นเรื่องต่อสำนักงาน ก.ล.ต. เพื่อเสนอขายหุ้นต่อประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) ก่อนนำหุ้นเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และเริ่มต้นซื้อขายเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2562 ด้วยทุนจดทะเบียน 16.2 ล้านบาท โดยเสนอขายหุ้นต่อประชาชนในราคา 15.50 – 17.50 บาท/หุ้น รวมมูลค่ามากกว่า 26,862.5 ล้านบาท แบ่งสัดส่วนการเสนอขายหุ้น เป็นบุคคลทั่วไป 27% และผู้ลงทุนสถาบัน 73%

การเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ของ BAM จะทำให้บริษัทได้รับความเชื่อมั่นจากสถาบันการเงินต่าง ๆ และมีเงินทุนใช้ในการหมุนเวียนมากขึ้น ช่วยเพิ่มศักยภาพในการดำเนินธุรกิจ โดยเงินที่ได้จากการเสนอขายหุ้น จะถูกนำไปใช้ 2 ส่วนคือ
1. ซื้อสินทรัพย์ด้อยคุณภาพและทรัพย์สินรอการขายในอนาคต
2. นำไปใช้ชำระคืนเงินกู้จากสถาบันการเงิน / ชำระหุ้นกู้ที่ออกโดยบริษัท / ตั๋วเงินจ่ายเพื่อการซื้อสินทรัพย์ด้อยคุณภาพและทรัพย์สินรอการขาย
7. เหตุผลที่นำ BAM เข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ
การเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ของ BAM จะทำให้บริษัทได้รับความเชื่อมั่นจากสถาบันการเงินต่าง ๆ และมีเงินทุนใช้ในการหมุนเวียนมากขึ้น ช่วยเพิ่มศักยภาพในการดำเนินธุรกิจ โดยเงินที่ได้จากการเสนอขายหุ้น จะถูกนำไปใช้ 2 ส่วนคือ
1. ซื้อสินทรัพย์ด้อยคุณภาพและทรัพย์สินรอการขายในอนาคต
2. นำไปใช้ชำระคืนเงินกู้จากสถาบันการเงิน / ชำระหุ้นกู้ที่ออกโดยบริษัท / ตั๋วเงินจ่ายเพื่อการซื้อสินทรัพย์ด้อยคุณภาพและทรัพย์สินรอการขาย
8. นโยบายจ่ายปันผลไม่น้อยกว่า 40%
9. เกิดอะไรขึ้นหลังหุ้น BAM เข้าตลาดฯ
ก่อนเข้าตลาดหลักทรัพย์ BAM มีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจมาก่อน เนื่องจากมีกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (FIDF) ซึ่งเป็นองค์กรของรัฐ เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ในสัดส่วน 99.99% แต่เมื่อเข้าตลาดหลักทรัพย์ ก็มีนักลงทุนสถาบันที่เป็นเอกชนเข้ามาแบ่งสัดส่วนถือครองหุ้นด้วย ทำให้ในตอนนี้ มีสถานะเป็นบริษัทมหาชน และมีผู้ถือหุ้นใหญ่ 3 ราย (ข้อมูล ณ วันที่ 11 ธันวาคม 2562) คือ
1. กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (FIDF) 41.46%
2. USB SECURITIES PTE LTD 10.69%
3. กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นระยะยาว 1.53%
โดยราคาของหุ้น BAM แรกเริ่มตอนเสนอขายอยู่ที่ 17.50 บาท แต่เนื่องจากได้รับความสนใจจากหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และนักลงทุนรายย่อย ทำให้หุ้น BAM พุ่งขึ้นไปได้สูงสุดถึง 36.25 บาทเลยทีเดียว
ได้รู้จัก BAM มากขึ้นบ้างแล้ว หากใครสนใจอยากหาข้อมูลเพิ่มเติม หรือติดต่อ BAM เพื่อซื้อบ้านหรืออสังหาริมทรัพย์ต่าง ๆ สามารถเข้าไปดูเพื่อซื้อทรัพย์ได้ที่ bam.co.th หรือโทร. 02-630-0700
ข้อมูลและภาพจาก
bam.co.th, เฟซบุ๊ก BAM Thailand, youtube BAM STATION