วิจัยพบ คนไทยมีเงินฝากอยู่ในอันดับ 20 ของโลก อันดับ 6 ของเอเชีย แต่ภาวะการออมต่อรายได้กลับลดลง อาจเป็นจุดเริ่มต้นหนี้ครัวเรือน ชี้คนไทยประมาณ 12.2 ล้านคน มีเงินฝากในบัญชีไม่ถึง 500 บาท
![]()
เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2562 ไบรท์ทีวี รายงานว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย วิเคราะห์พฤติกรรมการออมของคนไทย ผ่านข้อมูลบัญชีเงินฝากธนาคารกว่า 80
ล้านบัญชีของ DPA (สถาบันคุ้มครองเงินฝาก) โดย น.ส.อัจจนา ล่ำซำ จากสถาบันวิจัยป๋วย อึ๊งภากรณ์ และ น.ส.รัฐพร บุญเลิศ
จากสถาบันคุ้มครองเงินฝาก อ้างอิงข้อมูลจากธนาคารโลก ระบุว่า
คนไทยมีบริการเงินฝากไม่ว่ารูปแบบเงินฝาก หรือโมบายแบงกิ้ง
อยู่ในอันดับที่ 20 ของโลก หรือประมาณอันดับที่ 6 ในเอเชีย
แต่ภาวะการออมต่อรายได้กลับลดลง ซึ่งอาจเป็นจุดเริ่มต้นของหนี้ครัวเรือน
นอกจากนี้ยังมีการศึกษาเรื่องพฤติกรรมการออมส่วนใหญ่ด้วยวิธีการสำรวจ ซึ่งได้เห็นทุกรูปแบบการออม ทั้งในรูปของเงินสด, เงินฝาก, ที่ดิน, บ้าน, ทองคำ ฯลฯ แต่ก็มีข้อเสียคือ กลุ่มตัวอย่างไม่ได้ครอบคลุมคนทุกกลุ่ม จึงไม่สามารถสะท้อนพฤติกรรมการออมได้เต็มที่นัก
โดยการศึกษาชิ้นนี้มีความละเอียดในรายบัญชี ว่าคนไทยกลุ่มต่าง ๆ มีเงินฝากรายบัญชีมากน้อยแค่ไหน และพฤติกรรมการออมของคนกลุ่มต่าง ๆ ที่วัดจากอายุ เพศ ภูมิภาคที่อยู่อาศัย จะมีพฤติกรรมแตกต่างกันหรือไม่ ซึ่งงานวิจัยได้พบ 6 ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับพฤติกรรมการออมของคนไทย ผ่านข้อมูลบัญชีเงินฝาก ดังนี้
1. เงินฝากมีการกระจุกตัวสูง โดยผู้ฝากรายใหญ่สุดจำนวน 10% มีเงินฝากรวมเท่ากับ 93% ของเงินฝากในระบบธนาคารพาณิชย์ทั้งหมด โดยมักจะกระจุกอยู่ในชุมชนเมืองของจังหวัดใหญ่ ๆ เช่น กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล, ชลบุรี, เชียงใหม่, นครราชสีมา และสงขลา เป็นต้น
2. คนไทยมีบัญชีเงินฝากอย่างแพร่หลาย แต่มีเงินในบัญชีน้อย โดยคนไทยกว่าครึ่งจะมีบัญชีเงินฝากกับธนาคารพาณิชย์ แต่ครึ่งหนึ่งของผู้ฝากมีบัญชีไม่ถึง 3,142 บาท ขณะที่ผู้ฝากจำนวน 0.2% มีเงินในบัญชีมากกว่า 10 ล้านบาท นอกจากนี้ยังพบว่า 32.8% ของผู้ฝาก หรือประมาณ 12.2 ล้านคน มีเงินในบัญชีไม่เกิน 500 บาท ซึ่งในจำนวนนั้น มีผู้ฝากถึง 4.7 ล้านคน ที่มีเงินในบัญชีไม่ถึง 50 บาท
4. คนมีบัญชีเงินฝากธนาคารพาณิชย์มากที่สุด คือ คนที่อยู่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ส่วนคนที่มีบัญชีเงินฝากน้อยที่สุด คือ ภาคใต้ นอกจากนี้ คนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ก็มีเงินฝากในบัญชีน้อยที่สุดอีกด้วย
5. ผู้ฝากเกือบทั้งหมดจะมีบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ และผู้ฝากส่วนใหญ่ 88% จะฝากเงินไว้กับบัญชีออมทรัพย์เท่านั้น รวมทั้งนิยมฝากกับธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่เป็นหลัก นอกจากนี้ครึ่งหนึ่งของผู้ฝากจะมีเพียง 1 บัญชีเงินฝาก และใช้ 1 สถาบันการเงิน
6. บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ เป็นบัญชีมหาชนที่ใช้โดยคนทุกกลุ่ม ทุกวัย ขณะที่บัญชีเงินฝากประจำ จะพบมากในกลุ่มวัยหลังเกษียณ รวมทั้งเงินส่วนใหญ่ของผู้ฝากทุกกลุ่ม ทุกวัย ทุกเพศ ทุกภาค จะฝากอยู่ในบัญชีออมทรัพย์ เฉลี่ยประมาณ 93.3% ของเงินฝากในพอร์ตผู้ฝากเพียง 6.3% ที่อยู่ในเงินฝากประจำ


นอกจากนี้ยังมีการศึกษาเรื่องพฤติกรรมการออมส่วนใหญ่ด้วยวิธีการสำรวจ ซึ่งได้เห็นทุกรูปแบบการออม ทั้งในรูปของเงินสด, เงินฝาก, ที่ดิน, บ้าน, ทองคำ ฯลฯ แต่ก็มีข้อเสียคือ กลุ่มตัวอย่างไม่ได้ครอบคลุมคนทุกกลุ่ม จึงไม่สามารถสะท้อนพฤติกรรมการออมได้เต็มที่นัก
โดยการศึกษาชิ้นนี้มีความละเอียดในรายบัญชี ว่าคนไทยกลุ่มต่าง ๆ มีเงินฝากรายบัญชีมากน้อยแค่ไหน และพฤติกรรมการออมของคนกลุ่มต่าง ๆ ที่วัดจากอายุ เพศ ภูมิภาคที่อยู่อาศัย จะมีพฤติกรรมแตกต่างกันหรือไม่ ซึ่งงานวิจัยได้พบ 6 ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับพฤติกรรมการออมของคนไทย ผ่านข้อมูลบัญชีเงินฝาก ดังนี้
1. เงินฝากมีการกระจุกตัวสูง โดยผู้ฝากรายใหญ่สุดจำนวน 10% มีเงินฝากรวมเท่ากับ 93% ของเงินฝากในระบบธนาคารพาณิชย์ทั้งหมด โดยมักจะกระจุกอยู่ในชุมชนเมืองของจังหวัดใหญ่ ๆ เช่น กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล, ชลบุรี, เชียงใหม่, นครราชสีมา และสงขลา เป็นต้น
2. คนไทยมีบัญชีเงินฝากอย่างแพร่หลาย แต่มีเงินในบัญชีน้อย โดยคนไทยกว่าครึ่งจะมีบัญชีเงินฝากกับธนาคารพาณิชย์ แต่ครึ่งหนึ่งของผู้ฝากมีบัญชีไม่ถึง 3,142 บาท ขณะที่ผู้ฝากจำนวน 0.2% มีเงินในบัญชีมากกว่า 10 ล้านบาท นอกจากนี้ยังพบว่า 32.8% ของผู้ฝาก หรือประมาณ 12.2 ล้านคน มีเงินในบัญชีไม่เกิน 500 บาท ซึ่งในจำนวนนั้น มีผู้ฝากถึง 4.7 ล้านคน ที่มีเงินในบัญชีไม่ถึง 50 บาท

3. ความเป็นเจ้าของบัญชีเงินฝาก มีความแตกต่างทั้งในมิติอายุ พื้นที่
และระหว่างผู้ชายกับผู้หญิง
โดยเฉพาะผู้หญิง มีสัดส่วนของคนที่มีบัญชีเงินฝากสูงกว่าผู้ชาย
และมีเงินในบัญชีมากกว่าผู้ชายถึง 2 เท่า ตั้งแต่ยังเด็ก
อาจสะท้อนความมีวินัยทางการเงิน
หรือทักษะการบริหารจัดการเงินของผู้หญิงที่มากกว่า
รวมถึงบทบาทของผู้หญิงที่สำคัญในการดูแลการเงินของครอบครัว
4. คนมีบัญชีเงินฝากธนาคารพาณิชย์มากที่สุด คือ คนที่อยู่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ส่วนคนที่มีบัญชีเงินฝากน้อยที่สุด คือ ภาคใต้ นอกจากนี้ คนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ก็มีเงินฝากในบัญชีน้อยที่สุดอีกด้วย
5. ผู้ฝากเกือบทั้งหมดจะมีบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ และผู้ฝากส่วนใหญ่ 88% จะฝากเงินไว้กับบัญชีออมทรัพย์เท่านั้น รวมทั้งนิยมฝากกับธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่เป็นหลัก นอกจากนี้ครึ่งหนึ่งของผู้ฝากจะมีเพียง 1 บัญชีเงินฝาก และใช้ 1 สถาบันการเงิน
6. บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ เป็นบัญชีมหาชนที่ใช้โดยคนทุกกลุ่ม ทุกวัย ขณะที่บัญชีเงินฝากประจำ จะพบมากในกลุ่มวัยหลังเกษียณ รวมทั้งเงินส่วนใหญ่ของผู้ฝากทุกกลุ่ม ทุกวัย ทุกเพศ ทุกภาค จะฝากอยู่ในบัญชีออมทรัพย์ เฉลี่ยประมาณ 93.3% ของเงินฝากในพอร์ตผู้ฝากเพียง 6.3% ที่อยู่ในเงินฝากประจำ
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
