เผย โรงงานมาบตาพุด - นครปฐม ประกาศปิดกิจการ เซ่นพิษเศรษฐกิจ ส่งออกยาก เหตุเงินบาทแข็งค่า พนักงาน 630 ชีวิตตกงาน
วันที่ 11 พฤศจิกายน 2562 รายการเรื่องเล่าเช้านี้ รายงานว่า เพจเฟซบุ๊ก ข่าวสารชลบุรี-ระยอง โพสต์ข้อความระบุถึงการเลิกจ้างพนักงานเเละประกาศปิดตัวของบริษัทเเห่งหนึ่ง ในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง ทำให้พนักงานกว่า 400 คน ต้องกลายเป็นคนว่างงานไปในทันที
แถลงการณ์การยุติกิจการของโรงงานผลิตผ้าใบยางรถยนต์ ที่ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จ.ระยอง ระบุว่า บริษัทได้เริ่มดำเนินกิจการที่ระยองในปี 2551 แต่ตลอดช่วงหลายปีที่ผ่านมา สภาพเศรษฐกิจตกอยู่ในสภาพที่ไม่น่าไว้วางใจที่จะดำเนินกิจการโรงงานใน จ.ระยอง อีกต่อไป เนื่องจากความต้องการของตลาดลดลงและมีการชะลอตัวเกิดขึ้นทั่วโลกอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกัน ค่าเงินบาทก็แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้หนึ่งในลูกค้ารายใหญ่รายหนึ่งของบริษัท ได้เลิกซื้อวัสดุที่จากโรงงาน จึงไม่เหลือทางเลือกอื่นอีก นอกจากต้องปิดกิจการใน จ.ระยอง
ทั้งนี้ บริษัทจะทำการชำระค่าแรงและค่าสินไหมต่าง ๆ ทั้งหมดอันอยู่ในความรับผิดชอบของบริษัทตามที่ได้ระบุไว้ในกฎหมายให้กับพนักงาน จนกระทั่งวันสุดท้ายของการทำงาน ตามเงื่อนไขในบทบัญญัติของพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน ซึ่งจะรวมถึงค่าสินไหมทดแทนการเลิกจ้าง (คำนวณตามระยะเวลาการจ้างงาน) และค่าสินไหมทดแทนสำหรับวันหยุดประจำปีที่ยังไม่ได้ถูกใช้
เช่นเดียวกับที่ จ.นครปฐม โรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูปเพื่อการส่งออก ประกาศปิดกิจการและเลิกจ้างพนักงานกว่า 230 คน โดยให้เหตุผลว่า เจอปัญหาเศรษฐกิจ ผลประกอบการของบริษัทประสบภาวะขาดทุนสะสมมาเป็นเวลานาน ทำให้ต้องปิดกิจการ และบริษัทจะทำการขายเครื่องจักรที่ไม่ติดจำนองธนาคาร เพื่อจ่ายเป็นค่าแรงให้กับพนักงานทุกคนเท่า ๆ กัน มีผลตั้งแต่วันที่ 9 พฤศจิกายน 2562 เป็นต้นไป
ก่อนหน้านี้บริษัทไม่ได้จ่ายค่าจ้างพนักงาน 230 คน รวม 2 เดือน จำนวนเงินกว่า 4 ล้าน 4 แสนบาท ทำให้พนักงานได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก จึงรวมตัวกันไปที่ศาลากลางจังหวัดนครปฐม เพื่อร้องขอความเป็นธรรมจากหน่วยงานราชการ ก่อนที่ทางโรงงานจะประกาศปิดตัวในเวลาต่อมา
ด้าน นายสุชาติ พรชัยวิเศษกุล อธิบดีกรมการจัดหางาน เปิดเผยว่า ขณะนี้ยังมีตำแหน่งงานว่างรองรับแรงงานที่อาจได้รับผลกระทบจากการปรับโครงสร้างองค์กรและลดจำนวนพนักงาน เป็นจำนวนทั้งสิ้น 79,247 อัตรา
สำหรับตำแหน่งที่ต้องการมากที่สุด 5 อันดับ คือ
1. แรงงานด้านการผลิต
2. พนักงานขาย
3. เสมียน พนักงานทั่วไป พนักงานธุรการ
4. พนักงานบริการลูกค้า
5. เจ้าหน้าที่คลังสินค้า ตั้งแต่ระดับ ปวช.- ปวส. จนถึงปริญญาตรี
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก

วันที่ 11 พฤศจิกายน 2562 รายการเรื่องเล่าเช้านี้ รายงานว่า เพจเฟซบุ๊ก ข่าวสารชลบุรี-ระยอง โพสต์ข้อความระบุถึงการเลิกจ้างพนักงานเเละประกาศปิดตัวของบริษัทเเห่งหนึ่ง ในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง ทำให้พนักงานกว่า 400 คน ต้องกลายเป็นคนว่างงานไปในทันที
แถลงการณ์การยุติกิจการของโรงงานผลิตผ้าใบยางรถยนต์ ที่ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จ.ระยอง ระบุว่า บริษัทได้เริ่มดำเนินกิจการที่ระยองในปี 2551 แต่ตลอดช่วงหลายปีที่ผ่านมา สภาพเศรษฐกิจตกอยู่ในสภาพที่ไม่น่าไว้วางใจที่จะดำเนินกิจการโรงงานใน จ.ระยอง อีกต่อไป เนื่องจากความต้องการของตลาดลดลงและมีการชะลอตัวเกิดขึ้นทั่วโลกอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกัน ค่าเงินบาทก็แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้หนึ่งในลูกค้ารายใหญ่รายหนึ่งของบริษัท ได้เลิกซื้อวัสดุที่จากโรงงาน จึงไม่เหลือทางเลือกอื่นอีก นอกจากต้องปิดกิจการใน จ.ระยอง
ทั้งนี้ บริษัทจะทำการชำระค่าแรงและค่าสินไหมต่าง ๆ ทั้งหมดอันอยู่ในความรับผิดชอบของบริษัทตามที่ได้ระบุไว้ในกฎหมายให้กับพนักงาน จนกระทั่งวันสุดท้ายของการทำงาน ตามเงื่อนไขในบทบัญญัติของพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน ซึ่งจะรวมถึงค่าสินไหมทดแทนการเลิกจ้าง (คำนวณตามระยะเวลาการจ้างงาน) และค่าสินไหมทดแทนสำหรับวันหยุดประจำปีที่ยังไม่ได้ถูกใช้
เช่นเดียวกับที่ จ.นครปฐม โรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูปเพื่อการส่งออก ประกาศปิดกิจการและเลิกจ้างพนักงานกว่า 230 คน โดยให้เหตุผลว่า เจอปัญหาเศรษฐกิจ ผลประกอบการของบริษัทประสบภาวะขาดทุนสะสมมาเป็นเวลานาน ทำให้ต้องปิดกิจการ และบริษัทจะทำการขายเครื่องจักรที่ไม่ติดจำนองธนาคาร เพื่อจ่ายเป็นค่าแรงให้กับพนักงานทุกคนเท่า ๆ กัน มีผลตั้งแต่วันที่ 9 พฤศจิกายน 2562 เป็นต้นไป
ก่อนหน้านี้บริษัทไม่ได้จ่ายค่าจ้างพนักงาน 230 คน รวม 2 เดือน จำนวนเงินกว่า 4 ล้าน 4 แสนบาท ทำให้พนักงานได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก จึงรวมตัวกันไปที่ศาลากลางจังหวัดนครปฐม เพื่อร้องขอความเป็นธรรมจากหน่วยงานราชการ ก่อนที่ทางโรงงานจะประกาศปิดตัวในเวลาต่อมา
ด้าน นายสุชาติ พรชัยวิเศษกุล อธิบดีกรมการจัดหางาน เปิดเผยว่า ขณะนี้ยังมีตำแหน่งงานว่างรองรับแรงงานที่อาจได้รับผลกระทบจากการปรับโครงสร้างองค์กรและลดจำนวนพนักงาน เป็นจำนวนทั้งสิ้น 79,247 อัตรา
สำหรับตำแหน่งที่ต้องการมากที่สุด 5 อันดับ คือ
1. แรงงานด้านการผลิต
2. พนักงานขาย
3. เสมียน พนักงานทั่วไป พนักงานธุรการ
4. พนักงานบริการลูกค้า
5. เจ้าหน้าที่คลังสินค้า ตั้งแต่ระดับ ปวช.- ปวส. จนถึงปริญญาตรี
