มาดูวิธีลงทะเบียนตามมาตรการชิมช้อปใช้ แจกเงินเที่ยว 1,000 บาท ใช้อะไรได้บ้าง ใครกำลังวางแผนท่องเที่ยวไทย มาตรวจสอบเงื่อนไขกันก่อน
เป็นอีกหนึ่งมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่คนชอบเที่ยวน่าจะถูกใจ สำหรับ "มาตรการสนับสนุนการท่องเที่ยว ชิม ช้อป ใช้" โดยรัฐบาลจะมอบเงินให้คนละ 1,000 บาท เพื่อใช้จ่ายในการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศ หรือถ้ากรณีใช้เงินตัวเองในการเที่ยว ชิม ช้อป ใช้ ก็ยังได้รับสิทธิ์แคชแบ็ก (Cash Back) คืนเงินให้อีก 15% ด้วย
เห็นแบบนี้แล้ว หลายคนเลยอยากทราบขึ้นมาทันทีว่า ต้องทำอย่างไรถึงจะได้สิทธิ์แจกเงินเที่ยว 1,000 บาท ลงทะเบียนทางช่องทางไหน ไปเที่ยวจังหวัดไหน หรือใช้จ่ายอย่างไร กระปุกดอทคอมรวบรวมข้อมูลชิมช้อปใช้ เฟส 1 มาให้แล้ว (อัปเดต ณ วันที่ 23 กันยายน 2562)
ใครได้บ้าง ?
- มีสัญชาติไทย อายุ 18 ปีขึ้นไป ณ วันที่ลงทะเบียน
- มีบัตรประจำตัวประชาชน
- มีสมาร์ตโฟน เครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีอีเมลสำหรับลงทะเบียนผ่านระบบชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ของรัฐ (g-Wallet)
- รับสิทธิ์ได้จำนวน 10 ล้านคนเท่านั้น
*หมายเหตุ : ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ สามารถรับสิทธิ์ได้
ใช้เที่ยวที่ไหน ?
- ได้ทุกจังหวัด ไม่จำกัดว่าต้องเป็นเมืองหลัก หรือเมืองรอง
- เงื่อนไขสำคัญคือ ต้องนำไปใช้จ่ายในจังหวัดที่ไม่ใช่ที่อยู่ตามทะเบียนบ้าน เช่น หากทะเบียนบ้านระบุว่าอยู่จังหวัดเชียงใหม่ จะนำไปใช้จ่ายในจังหวัดเชียงใหม่ไม่ได้ ต้องใช้ในจังหวัดอื่นเท่านั้น
- ต้องเดินทางท่องเที่ยวภายในวันที่ 27 กันยายน - 30 พฤศจิกายน 2562
ใช้สำหรับค่าใช้จ่ายอะไรได้บ้าง ?
- ค่าอาหารและเครื่องดื่ม จากร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการ และรับชำระเงินผ่านแอปฯ ถุงเงิน (แอปฯ สำหรับร้านค้า) หรือมีเครื่อง EDC เชื่อมกับธนาคารกรุงไทย
- ค่าซื้อสินค้า ต้องเป็นสินค้าท้องถิ่น เช่น สินค้าโอทอป สินค้าวิสาหกิจชุมชน สินค้าจากร้านธงฟ้าประชารัฐ ร้าน THAIDEN
- ค่าที่พัก ต้องเป็นโรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม โฮมสเตย์ ตามรายชื่อของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
- ค่าบริการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวในท้องถิ่น เช่น สปา การเช่ายานพาหนะ ค่าบริการนำเที่ยวในพื้นที่ เป็นต้น จากผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการของรัฐบาล
ตรวจสอบรายชื่อโรงแรม โฮมสเตย์ ตามรายชื่อของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
ขั้นตอนการลงทะเบียน
2. กรอกข้อมูลส่วนตัว ชื่อ-นามสกุล เลขบัตรประชาชน เบอร์โทรศัพท์ อีเมล และเลือก 1 จังหวัดที่จะเดินทางไปใช้สิทธิ์ (ต้องเป็นจังหวัดที่ไม่ซ้ำกับที่อยู่ตามทะเบียนบ้าน)
4. ผู้ที่ลงทะเบียนสำเร็จและผ่านการตรวจสอบจากกรมการปกครองแล้ว ภายใน 3 วัน ธนาคารกรุงไทยจะส่ง SMS ยืนยันให้ทราบว่าได้รับสิทธิ์ พร้อมระบุระยะเวลา และจังหวัดที่สามารถเดินทางไปใช้สิทธิ์ได้ แต่ในกรณีผิดพลาด จะมี SMS แจ้งให้ทราบ ซึ่งสามารถดำเนินการลงทะเบียนใหม่ในรอบถัดไปได้
5. เมื่อได้รับสิทธิ์แล้ว ให้ดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่น "เป๋าตัง" เพื่อรองรับการโอนและใช้จ่ายเงิน 1,000 บาท
- สามารถใช้แอปฯ เป๋าตังได้โดยไม่ต้องมีบัญชีธนาคารกรุงไทย โดยเลือกใช้สิทธิผ่านเมนู G-Wallet
- เมื่อยืนยันตัวตนผ่านแอปฯ เรียบร้อยแล้ว ในแอปฯ จะมี "เป๋าตัง" 2 ช่อง โดยช่องแรกสำหรับรับวงเงิน 1,000 บาท ส่วนช่องที่ 2 เพื่อให้เติมเงินและนำไปใช้จ่าย รวมถึงรับเงินชดเชย (Cash Back) 15% ของจำนวนเงินที่ใช้จ่าย
วิธีลงทะเบียนแอปฯ เป๋าตัง เพื่อยืนยันการรับสิทธิ์
2. อ่านข้อกำหนด กดเลือก "ยอมรับเงื่อนไขการใช้บริการ" แล้วกด "ตกลง"
3. ตั้งรหัสผ่านในการใช้แอปฯ
4. กดเลือก "G-Wallet" เพื่อลงทะเบียนมาตรการชิมช้อปใช้
5. ยอมรับข้อตกลงและเงื่อนไข
6. สแกนบัตรประจำตัวประชาชน
7. กรอกข้อมูลบัตรประชาชน
8 .ยืนยันเบอร์โทรศัพท์ที่ลงทะเบียน ด้วยรหัส OTP ที่ได้รับจาก SMS
9. ถ่ายรูป Selfie ใบหน้าตนเอง
10. รอรับ SMS ยืนยันการตรวจสอบตัวตน และสามารถใช้งานได้ทันที โดยแอปฯ เป๋าตัง ช่อง 1 จะแจ้งวงเงิน 1,000 บาท ส่วนเป๋าตัง ช่อง 2 สามารถเติมเงินนำไปใช้จ่าย เพื่อรับเงินคืน 15% ของจำนวนเงินที่ใช้จ่าย
ลงทะเบียนได้วันไหน ?
หนึ่งครอบครัวลงทะเบียนได้กี่คน ?
สามารถใช้สิทธิ์ได้เมื่อไร ?
หากรับเงินไปแล้วแต่ไม่ได้ใช้ ?
แต่หากรับเงินไปแล้วใช้ครั้งแรกไม่หมด 1,000 บาท ก็ยังสามารถใช้เงินที่เหลือได้ไปจนกระทั่งถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2562 รวมทั้งใช้สิทธิแคชแบ็กไปได้จนถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน เช่นกัน
ลงทะเบียนเองไม่ได้ / ไม่มีอินเทอร์เน็ต จะสมัครอย่างไร ?
ซื้ออะไรถึงขอคืนเงินได้บ้าง ?
- ค่าอาหารและเครื่องดื่ม จากร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการ และรับชำระเงินผ่านแอปฯ ถุงเงิน (แอปฯ สำหรับร้านค้า) หรือมีเครื่อง EDC เชื่อมกับธนาคารกรุงไทย
- ค่าซื้อสินค้า ต้องเป็นสินค้าท้องถิ่น เช่น สินค้าโอทอป สินค้าวิสาหกิจชุมชน สินค้าจากร้านธงฟ้าประชารัฐ ร้าน THAIDEN
- ค่าที่พัก ต้องเป็นโรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม โฮมสเตย์ ตามรายชื่อของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
- ค่าบริการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวในท้องถิ่น เช่น สปา การเช่ายานพาหนะ ค่าบริการนำเที่ยวในพื้นที่ เป็นต้น จากผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการของรัฐบาล
ทั้งนี้ ต้องเป็นการซื้อสินค้าและบริการในจังหวัดใดก็ได้ที่ไม่ใช่จังหวัดที่อยู่ตามทะเบียนบ้าน
ซื้อสินค้าประเภทใดไม่ได้-ไม่ได้รับเงินคืน 15%
- ค่าโดยสารเครื่องบิน ค่าขนส่งประจำทางระหว่างจังหวัด ค่าบริการนำเที่ยวที่ไม่ใช่บริการนำเที่ยวในท้องถิ่น หากใช้จ่ายผ่าน G-Wallet 2 จะไม่ได้รับเงินคืน 15%
จะได้เงินคืนเท่าไร ?
ทำอย่างไรถึงจะได้รับเงินคืน ?
- ต้องลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ แล้วรอ SMS ยืนยันสิทธิ์
- ดาวน์โหลดแอปฯ เป๋าตัง เพื่อรับเงินแคชแบ็กคืน 15%
- โอนเงินส่วนตัวของตัวเองเข้าแอปฯ เป๋าตัง เพื่อนำไปใช้จ่ายค่าสินค้าและบริการในร้านที่รับชำระเงินผ่านแอปฯ ถุงเงิน
- ระบบจะคืนเงินให้ 15% ของวงเงินใช้จ่ายจริงในช่วงเดือนธันวาคม 2562 โดยคืนให้ในกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์บนแอปพลิเคชัน "เป๋าตัง" และสามารถโอนออกไปบัญชีอื่น ๆ ได้
***หมายเหตุ : อัปเดตข้อมูลล่าสุดเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2562
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
เฟซบุ๊ก สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง : Fiscal Policy Office, การเงินธนาคาร, ธนาคารกรุงไทย, เฟซบุ๊ก ดร.อุตตม สาวนายน