เปิดรายได้ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง นายกฯ-ส.ส.-ส.ว.-รัฐมนตรี ได้เงินเดือนกันเท่าไร ?

           ดูกันชัด ๆ  ส.ส.-ส.ว. และตำแหน่งการเมืองสำคัญต่าง ๆ รับทรัพย์กันขนาดไหน มีเงินเดือนเท่าไร มาจากทางไหนบ้าง

เงินเดือนสส
ภาพจาก PKittiwongsakul / Shutterstock.com

           รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ได้กำหนดให้รัฐสภาไทย ประกอบด้วยสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ที่มาจากการแต่งตั้งจำนวน 250 คน และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ที่มาจากการเลือกตั้ง จำนวน 500 คน โดย ส.ว. มีหน้าที่ในการกลั่นกรองกฎหมาย ควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน ขณะที่ ส.ส. จะทำหน้าที่เป็นตัวแทนของประชาชนในการออกกฎหมายต่าง ๆ  และตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลร่วมกับสมาชิกวุฒิสภา

           จะเห็นว่าทั้ง ส.ส. และ ส.ว. ล้วนเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการทำหน้าที่ทางการเมือง กระปุกดอทคอม จึงมีเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเกี่ยวกับข้อมูลเงินเดือน รายได้ และผลตอบแทนต่าง ๆ ของ ส.ส. ส.ว. รวมทั้งผู้ดำรงตำแหน่งสำคัญทางการเมือง มาให้ดูกันว่าในแต่ละตำแหน่งนั้นมีค่าตอบแทนมาก-น้อยแค่ไหน ซึ่งอ้างอิงข้อมูลจากสิทธิประโยชน์ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2556 ที่เผยแพร่บนเว็บไซต์รัฐสภาไทย

เงินเดือนและค่าตอบแทนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.)


           1. ประธานสภาผู้แทนราษฎร 

           เงินประจำตำแหน่งเดือนละ 75,590 บาท
           เงินเพิ่มเดือนละ 50,000 บาท
           รวมเป็นเดือนละ 125,590 บาท   
          
           2. รองประธานสภาผู้แทนราษฎร

           เงินประจำตำแหน่งเดือนละ 73,240 บาท
           เงินเพิ่มเดือนละ 42,500 บาท
           รวมเป็นเดือนละ 115,740 บาท

           3. ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
           เงินประจำตำแหน่งเดือนละ 73,240 บาท
           เงินเพิ่มเดือนละ 42,500 บาท
           รวมเป็นเดือนละ 115,740 บาท

           4. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

           เงินประจำตำแหน่งเดือนละ 71,230 บาท
           เงินเพิ่มเดือนละ 42,330 บาท
           รวมเป็นเดือนละ 113,560 บาท

เงินเดือนและค่าตอบแทนสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.)


           1. ประธานวุฒิสภา
           เงินประจำตำแหน่งเดือนละ 74,420 บาท
           เงินเพิ่มเดือนละ 45,500 บาท
           รวมเป็นเดือนละ 119,920 บาท

        
   2. รองประธานวุฒิสภา
           เงินประจำตำแหน่งเดือนละ 73,240 บาท
           เงินเพิ่มเดือนละ 42,500 บาท
           รวมเป็นเดือนละ 115,740 บาท

           3. สมาชิกวุฒิสภา
           เงินประจำตำแหน่งเดือนละ 71,230 บาท
           เงินเพิ่มเดือนละ 42,330 บาท
           รวมเป็นเดือนละ 113,560 บาท   

ตำแหน่งข้าราชการการเมืองที่สำคัญ


           1. นายกรัฐมนตรี
           อัตราเงินเดือน 75,590 บาท
           เงินประจำตำแหน่งเดือนละ 50,000 บาท
           รวมเป็นเดือนละ 125,590 บาท    

           2. รองนายกรัฐมนตรี
           อัตราเงินเดือน 74,420 บาท
           เงินประจำตำแหน่งเดือนละ 45,500 บาท
           รวมเป็นเดือนละ 119,920 บาท

           3. รัฐมนตรีว่าการกระทรวง / รัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ 

           อัตราเงินเดือน 73,240 บาท
           เงินประจำตำแหน่งเดือนละ 42,500 บาท
           รวมเป็นเดือนละ 115,740 บาท

           4. รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง
           อัตราเงินเดือน 72,060 บาท

           เงินประจำตำแหน่งเดือนละ 41,500 บาท 
           รวมเป็นเดือนละ 113,560 บาท 

           5. ที่ปรึกษา รมว. และ รมช.
           อัตราเงินเดือน 47,250 บาท
           เงินประจำตำแหน่งเดือนละ 10,000 บาท
           รวมเป็นเดือนละ 57,250 บาท

           6. เลขานุการ รมว.
           อัตราเงินเดือน 44,310 บาท
           เงินประจำตำแหน่งเดือนละ 4,900 บาท
           รวมเป็นเดือนละ 49,210 บาท
 
           7. ผู้ช่วยเลขานุการ รมว.
           อัตราเงินเดือน 39,710 บาท
           เงินประจำตำแหน่งเดือนละ 4,400 บาท
           รวมเป็นเดือนละ 44,110 บาท


           ทั้งนี้ ข้าราชการการเมืองที่ดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา หรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ด้วย ถ้าได้รับเงินประจำตำแหน่งหรือเงินเพิ่มสำหรับสมาชิกสภาดังกล่าวแล้ว จะไม่มีสิทธิ์ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งในฐานะข้าราชการการเมืองอีก

           นอกจากเงินประจำที่ได้รับทุกเดือนแล้ว สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา และข้าราชการการเมืองต่าง ๆ ยังมีสิทธิประโยชน์อื่น ๆ เพิ่มเติม อาทิ สิทธิเบิกค่าใช้จ่ายการเดินทาง สิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาล รวมถึงเบี้ยประชุม โดยถ้าเป็นประธานประชุมกรรมาธิการ ได้ครั้งละ 1,500 บาท หากร่วมประชุมกรรมาธิการ ได้ครั้งละ 1,200 บาท ส่วนประชุมอนุกรรมาธิการ ได้ครั้งละ 800 บาท
 

ขอบคุณข้อมูลจาก : รัฐสภาไทย, เดลินิวส์ 


เรื่องที่คุณอาจสนใจ
เปิดรายได้ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง นายกฯ-ส.ส.-ส.ว.-รัฐมนตรี ได้เงินเดือนกันเท่าไร ? อัปเดตล่าสุด 17 พฤษภาคม 2566 เวลา 09:30:01 193,988 อ่าน
TOP
x close