พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ฉบับใหม่ เพิ่มเงินชดเชยเลิกจ้างให้ลูกจ้างที่ทำงานครบ 20 ปี สูงสุดถึง 400 วัน พร้อมขยายวันลาคลอดบุตรเป็น 98 วัน
วันที่ 13 ธันวาคม 2561 ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้มีการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... โดยมีการแก้ไขร่างกฎหมายเพิ่มเติม ซึ่งมีสาระสำคัญ 4 ประเด็น คือ การเพิ่มค่าชดเชยเลิกจ้าง, สิทธิลาคลอดบุตร, สิทธิวันลากิจ และกรณีการเปลี่ยนตัวนายจ้าง โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. เงินค่าชดเชยเลิกจ้าง
เพิ่มอัตราค่าชดเชยเลิกจ้างให้กับลูกจ้างที่ทำงานตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป จะได้ค่าชดเชยอัตราเพิ่มเป็น 400 วัน จากเดิม 300 วัน
ทั้งนี้ จะทำให้หลักเกณฑ์ใหม่ในการจ่ายค่าชดเชยเลิกจ้าง แบ่งออกเป็น ดังนี้
1. ทำงานต่อเนื่องครบ 120 วัน แต่ไม่ครบ 1 ปี ได้ค่าชดเชย 30 วัน
2. ทำงานครบ 1 ปี แต่ไม่เกิน 3 ปี ได้รับค่าชดเชย 90 วัน
3. ทำงานครบ 3 ปี แต่ไม่เกิน 6 ปี ได้ค่าชดเชย 180 วัน
4. ทำงานครบ 6 ปี แต่ไม่เกิน 8 ปี ได้ค่าชดเชย 240 วัน
5. ทำงานครบ 10 ปี แต่ไม่เกิน 20 ปี ได้ค่าชดเชย 300 วัน
สำหรับเงินชดเชยเลิกจ้าง จะจ่ายให้ในกรณีที่ลูกจ้างถูกเลิกจ้างโดยที่ไม่ได้มีความผิด หรือไม่ได้ลาออกเองโดยสมัตรใจ
2. สิทธิลาคลอดบุตร
เพิ่มสิทธิให้ลูกจ้างหญิงที่มีครรภ์ มีสิทธิลาเพื่อคลอดบุตรได้ไม่เกิน 98 วัน จากเดิมมีสิทธิลา 90 วัน ซึ่งไม่รวมลาฝากครรภ์หรือตรวจครรภ์ แต่ให้นับรวมวันหยุดที่มีระหว่างวันลาด้วย
3. กรณีลากิจ
4. กรณีเปลี่ยนตัวนายจ้าง
โดย สนช. ได้ผ่านพิจารณา พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ฉบับนี้ เป็นกฎหมายเรียบร้อยแล้ว หลังจากนั้นนายกรัฐมนตรีจะนำขึ้นทูลเกล้าฯ และรอประกาศในราชกิจจานุเบกษา และจะมีผลบังคับใช้หลังจากนี้อีก 30 วัน
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก