เปิดแผนลงทุนกระทรวงคมนาคม 1 ล้านล้านบาท เชื่อมรถไฟความเร็วสูงจีน-อาเซียน ระยะทางรวม 2,800 กิโลเมตร ดันไทยเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจของภูมิภาค
วันที่ 2 พฤศจิกายน 2561 เว็บไซต์ไทยโพสต์ รายงานว่า นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เผยถึงการเติบโตอย่างมากของเศรษฐกิจอาเซียนในช่วงที่ผ่านมา ส่งผลให้รัฐบาลต้องเร่งวางระบบโครงสร้างพื้นฐานเชื่อมประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจในระยะยาว ผลักดันไทยเป็นศูนย์กลางอาเซียน ทำให้ขณะนี้กระทรวงคมนาคมมีแผนลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมอาเซียน รวม 4 เส้นทาง ระยะทาง 2,800 กิโลเมตร มูลค่าลงทุนมากกว่า 1 ล้านล้านบาท ประกอบด้วย
ส่วนรถไฟดั้งเดิมนั้น อยู่ระหว่างการผลักดันให้ระบบรางเชื่อมต่อกับเพื่อนบ้าน CLMV ให้สามารถเดินรถทะลุถึงกันได้เลย เพื่อรองรับนโยบายเส้นทางสายไหมใหม่ (Belt & Road Initiative) โดยจะเริ่มจากการเดินรถไฟเชื่อมหนองคาย-เวียงจันทน์ เข้าสปป.ลาว เพราะเป็นเส้นขนส่งสินค้ายุทธศาสตร์สายไหมของจีนที่เชื่อมยูนนาน-สปป.ลาว-หนองคาย-อีอีซี ก่อนกระจายสินค้าไปยังมหาสมุทรแปซิฟิกที่ท่าเรือแหลมฉบัง
อีกทั้งจะเร่งเชื่อมเส้นทางรถไฟสายอรัญประเทศ-ปอยเปต-พนมเปญ ซึ่งจะเปิดเดินรถได้ในอีก 2 เดือนข้างหน้า รวมถึงต่อขยายเส้นทางรถไฟเข้าเมียนมาร์ บริเวณด่านชายแดนเจดีย์สามองค์ ส่วนฝั่งมาเลเซียในอนาคตจะพัฒนารถจักรไฟฟ้าขนส่งสินค้าผ่านด่านปาดังเบซาร์อีกด้วย
1. รถไฟความเร็วสูงเชื่อมสปป.ลาว-จีนตอนใต้ เส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา-หนองคาย ระยะทางราว 600 กิโลเมตร
2. รถไฟความเร็วสูงเชื่อมอีอีซีและกัมพูชา เฟสแรก เส้นทางกรุงเทพฯ-สนามบินอู่ตะเภา และเฟส 2 เส้นทางอู่ตะเภา-ระยอง ระยะทางรวม 400 กิโลเมตร
3. รถไฟความเร็วสูงเชื่อมมาเลเซีย เฟสแรก เส้นทางกรุงเทพ-หัวหิน-สุราษฎร์ธานี และเฟส 2 เส้นทางสุราษฎร์ธานี-ปาดังเบซาร์ ระยะทางรวม 1,100 กิโลเมตร
4. รถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะทางราว 700 กิโลเมตร
โดยหลังจากนี้จะเริ่มทยอยเปิดประมูลและก่อสร้าง ก่อนเปิดให้บริการสายแรกในปี 2565-2566 ดังนั้น ในอนาคตคนไทยจะสามารถนั่งรถไฟความเร็วสูงไปเที่ยวสิงคโปร์หรือเมืองหลวงปักกิ่งของจีนได้เลยจากสถานีกลางบางซื่อ
ส่วนรถไฟดั้งเดิมนั้น อยู่ระหว่างการผลักดันให้ระบบรางเชื่อมต่อกับเพื่อนบ้าน CLMV ให้สามารถเดินรถทะลุถึงกันได้เลย เพื่อรองรับนโยบายเส้นทางสายไหมใหม่ (Belt & Road Initiative) โดยจะเริ่มจากการเดินรถไฟเชื่อมหนองคาย-เวียงจันทน์ เข้าสปป.ลาว เพราะเป็นเส้นขนส่งสินค้ายุทธศาสตร์สายไหมของจีนที่เชื่อมยูนนาน-สปป.ลาว-หนองคาย-อีอีซี ก่อนกระจายสินค้าไปยังมหาสมุทรแปซิฟิกที่ท่าเรือแหลมฉบัง
อีกทั้งจะเร่งเชื่อมเส้นทางรถไฟสายอรัญประเทศ-ปอยเปต-พนมเปญ ซึ่งจะเปิดเดินรถได้ในอีก 2 เดือนข้างหน้า รวมถึงต่อขยายเส้นทางรถไฟเข้าเมียนมาร์ บริเวณด่านชายแดนเจดีย์สามองค์ ส่วนฝั่งมาเลเซียในอนาคตจะพัฒนารถจักรไฟฟ้าขนส่งสินค้าผ่านด่านปาดังเบซาร์อีกด้วย
ภาพจาก เฟซบุ๊ก pr.railway
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก