นักวิเคราะห์ ชี้ มีโอกาสสูงยกเลิกลดหย่อนภาษีกองทุน LTF หวั่นทำเม็ดเงินตลาดหุ้นปี 2562 หายไปกว่า 1.4 แสนล้านบาท หากรัฐไม่มีมาตรการรองรับ
![หุ้น หุ้น]()
จากกรณีที่มีกระแสข่าวว่ากระทรวงการคลังจะไม่ขยายเวลาให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีของกองทุนรวมหุ้นระยะยาว หรือ กองทุน LTF ที่จะหมดอายุลงในปี 2562 นั่นหมายความว่าตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นไป จะไม่สามารถนำเงินจากการซื้อกองทุน LTF มาลดหย่อนภาษีได้เหมือนเดิมนั้น
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2561 นายประกิต สิริวัฒนเกตุ ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ กสิกรไทย ก็มีมุมมองถึงเรื่องนี้ว่า มีโอกาสสูงที่กระทรวงการคลังจะไม่ต่ออายุการให้สิทธิลดหย่อนภาษีกองทุน LTF ที่จะหมดอายุในสิ้นปีหน้า เนื่องจากเป็นช่องทางเพิ่มรายได้ให้กับรัฐ ถึงปีละประมาณ 10,000 ล้านบาท และเป็นการลดความเหลื่อมล้ำ เพราะผู้ได้ประโยชน์ส่วนใหญ่ยังคงเป็นกลุ่มผู้มีรายได้สูง
โดยหากไม่มีมาตรการออกมาชดเชย ก็มีโอกาสสูงที่เม็ดเงินส่วนนี้จะไหลออกจากตลาดในทีเดียว ซึ่งทางออกของรัฐบาลที่เป็นไปได้มากที่สุด คือ การออกกองทุนที่เพิ่มระยะเวลาการถือครองให้นานขึ้น และได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีลดลง หรือปรับสิทธิประโยชน์ลดลงเป็นขั้นบันได เพื่อให้ประโยชน์นั้นไม่ตกกับกลุ่มผู้มีรายได้สูง

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2561 นายประกิต สิริวัฒนเกตุ ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ กสิกรไทย ก็มีมุมมองถึงเรื่องนี้ว่า มีโอกาสสูงที่กระทรวงการคลังจะไม่ต่ออายุการให้สิทธิลดหย่อนภาษีกองทุน LTF ที่จะหมดอายุในสิ้นปีหน้า เนื่องจากเป็นช่องทางเพิ่มรายได้ให้กับรัฐ ถึงปีละประมาณ 10,000 ล้านบาท และเป็นการลดความเหลื่อมล้ำ เพราะผู้ได้ประโยชน์ส่วนใหญ่ยังคงเป็นกลุ่มผู้มีรายได้สูง

ภาพจาก ThinkingEyes / Shutterstock.com
อย่างไรก็ตาม เชื่อว่ารัฐบาลจะหาแนวทางตั้งกองทุนรูปแบบใหม่ขึ้นมาทดแทนตามข้อเสนอของสภาธุรกิจตลาดทุนไทย ไม่อย่างนั้นอาจส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้น เนื่องจากจะมีเม็ดเงินกว่า 1.4 แสนล้านบาท ครบกำหนดอายุสามารถขายได้ในปี 2562 และเม็ดเงินที่สามารถขายได้ในปี 2563-2564 อีก 1.2 แสนล้านบาท จากปัจจุบันเม็ดเงินสะสมในกองทุน LTF ที่มีกว่า 3.78 แสนล้านบาท
โดยหากไม่มีมาตรการออกมาชดเชย ก็มีโอกาสสูงที่เม็ดเงินส่วนนี้จะไหลออกจากตลาดในทีเดียว ซึ่งทางออกของรัฐบาลที่เป็นไปได้มากที่สุด คือ การออกกองทุนที่เพิ่มระยะเวลาการถือครองให้นานขึ้น และได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีลดลง หรือปรับสิทธิประโยชน์ลดลงเป็นขั้นบันได เพื่อให้ประโยชน์นั้นไม่ตกกับกลุ่มผู้มีรายได้สูง
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก