ครม. อนุมัติเก็บภาษี 15% จากกองทุนรวมตราสารหนี้ ลั่นสร้างความเท่าเทียมให้นักลงทุน ช่วยโกยรายได้เข้ารัฐปีละ 1,600-2,500 ล้านบาท
ทั้งนี้ ปัจจุบันบุคคลธรรมดาที่ลงทุนในตราสารหนี้โดยตรงหรือการฝากเงินในธนาคาร เมื่อมีดอกเบี้ย เงินปันผล หรือกำไร จะต้องเสียภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย 15% ต่างจากการลงทุนผ่านกองทุนรวมที่เสียภาษีดอกเบี้ย เงินปันผล ที่ 10% เท่านั้น และยังได้รับยกเว้นภาษีส่วนต่างกำไร ดังนั้น จึงเห็นชอบให้ปรับการเก็บภาษีให้เหมือนกัน จะได้เกิดความเท่าเทียมกับนักลงทุนทั้ง 2 ฝ่าย รวมทั้งคาดว่าจะทำให้รัฐมีรายได้เพิ่มขึ้นปีละ 1,600-2,500 ล้านบาท จากมูลค่าตราสารหนี้ปัจจุบันที่มีจำนวน 5 แสนล้านบาท
อย่างไรก็ตาม กฎหมายนี้จะยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) เพื่อเป็นการส่งเสริมการออมในยามเกษียณอายุ นอกจากนี้ยังยกเว้นภาษีสำหรับการลงทุนในกองทุนรวมตราสารหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนกฎหมายมีผลบังคับใช้
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
วันที่ 28 สิงหาคม 2561 รายงานจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติเห็นชอบแนวทางจัดเก็บภาษีจากการลงทุนในตราสารหนี้ผ่านกองทุนรวม โดยให้หักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตรา 15% ของเงินได้ จากเดิมที่เสียภาษีเพียง 10% ซึ่งให้เหตุผลว่าเพื่อลดความเหลื่อมล้ำและความไม่เป็นธรรมด้านการจัดเก็บภาษีระหว่างการลงทุนในตราสารหนี้โดยตรงกับการลงทุนในตราสารหนี้ผ่านกองทุนรวม
ทั้งนี้ ปัจจุบันบุคคลธรรมดาที่ลงทุนในตราสารหนี้โดยตรงหรือการฝากเงินในธนาคาร เมื่อมีดอกเบี้ย เงินปันผล หรือกำไร จะต้องเสียภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย 15% ต่างจากการลงทุนผ่านกองทุนรวมที่เสียภาษีดอกเบี้ย เงินปันผล ที่ 10% เท่านั้น และยังได้รับยกเว้นภาษีส่วนต่างกำไร ดังนั้น จึงเห็นชอบให้ปรับการเก็บภาษีให้เหมือนกัน จะได้เกิดความเท่าเทียมกับนักลงทุนทั้ง 2 ฝ่าย รวมทั้งคาดว่าจะทำให้รัฐมีรายได้เพิ่มขึ้นปีละ 1,600-2,500 ล้านบาท จากมูลค่าตราสารหนี้ปัจจุบันที่มีจำนวน 5 แสนล้านบาท
อย่างไรก็ตาม กฎหมายนี้จะยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) เพื่อเป็นการส่งเสริมการออมในยามเกษียณอายุ นอกจากนี้ยังยกเว้นภาษีสำหรับการลงทุนในกองทุนรวมตราสารหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนกฎหมายมีผลบังคับใช้
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก