ครม. ไฟเขียวร่างภาษี e-Business เตรียมเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม กับผู้ผลิตสินค้าต่างประเทศและแพลตฟอร์มร้านค้าออนไลน์ ที่นำสินค้ามาขายในไทย
โดยกฎหมายฉบับนี้จะกำหนดให้บริษัทที่เป็นเจ้าของสินค้าและเจ้าของแพลตฟอร์ม ต้องมาจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและตั้งบริษัทตัวแทนในประเทศไทย เนื่องจากปัจจุบันแม้จะมีกฎหมายกำหนดไว้ว่า คนที่ซื้อสินค้าออนไลน์จากต่างประเทศ ต้องไปแจ้งเจ้าหน้าที่สรรพากรเพื่อจ่ายภาษี แต่ในทางปฏิบัติกลับไม่มีใครไปแจ้ง จึงออกกฎหมายเพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้
ขณะที่นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ระบุว่า กฎหมายนี้จะเก็บ VAT กับผู้ประกอบการธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในต่างประเทศที่นำสินค้ามาขายในไทย แล้วมีรายได้ตั้งแต่ 1.8 ล้านบาทต่อปีขึ้นไป เพื่อทำให้การจัดเก็บ VAT มีประสิทธิภาพมากขึ้น และส่งเสริมให้เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรมระหว่างผู้ประกอบการในประเทศและต่างประเทศอีกด้วย โดยขั้นตอนต่อไปจะส่งเรื่องให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วส่งต่อให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เพื่อประกาศใช้เป็นกฎหมายต่อไป
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
วันที่ 17 กรกฎาคม 2561 พล.ท. สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. เพื่อรองรับการจัดเก็บภาษีจากผู้ประกอบการธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (e-Business) ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) จากการให้บริการในต่างประเทศ โดยแบ่งเป็น 2 แบบ คือ กลุ่มเจ้าของผลิตภัณฑ์ที่นำสินค้ามาขายในประเทศไทย และเป็นเจ้าของแพลตฟอร์มร้านค้าออนไลน์ เช่น Google หรือ Amazon เป็นต้น
โดยกฎหมายฉบับนี้จะกำหนดให้บริษัทที่เป็นเจ้าของสินค้าและเจ้าของแพลตฟอร์ม ต้องมาจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและตั้งบริษัทตัวแทนในประเทศไทย เนื่องจากปัจจุบันแม้จะมีกฎหมายกำหนดไว้ว่า คนที่ซื้อสินค้าออนไลน์จากต่างประเทศ ต้องไปแจ้งเจ้าหน้าที่สรรพากรเพื่อจ่ายภาษี แต่ในทางปฏิบัติกลับไม่มีใครไปแจ้ง จึงออกกฎหมายเพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้
ขณะที่นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ระบุว่า กฎหมายนี้จะเก็บ VAT กับผู้ประกอบการธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในต่างประเทศที่นำสินค้ามาขายในไทย แล้วมีรายได้ตั้งแต่ 1.8 ล้านบาทต่อปีขึ้นไป เพื่อทำให้การจัดเก็บ VAT มีประสิทธิภาพมากขึ้น และส่งเสริมให้เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรมระหว่างผู้ประกอบการในประเทศและต่างประเทศอีกด้วย โดยขั้นตอนต่อไปจะส่งเรื่องให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วส่งต่อให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เพื่อประกาศใช้เป็นกฎหมายต่อไป
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก