คนไทยส่วนใหญ่ 80% มีเงินออมพอใช้ไม่ถึง 6 เดือน โดยเฉพาะคน Gen X-Gen Y ที่มีพฤติกรรมติดหรูใช้จ่ายเกินตัว แถมเน้นรูดบัตรเครดิต ใช้ก่อนออมทีหลัง
![เงินไม่พอใช้ เงินไม่พอใช้]()
อีกทั้งยังพบว่าเรื่องระดับรายได้ พื้นที่ที่ประกอบอาชีพ และประสบการณ์ทำงาน ไม่มีผลกับปัญหาเงินไม่พอใช้ เพราะแม้ผู้ที่มีรายได้สูงกว่า 30,000 บาท/เดือน ก็ยังมีปัญหาเงินไม่พอใช้ถึง 70% ขณะเดียวกันกลุ่มที่ทำงานในกรุงเทพและปริมณฑล หรือต่างจังหวัด ล้วนก็มีปัญหานี้เหมือน ๆ กันหมด
โดยนายนริศ สถาผลเดชา ผู้บริหารศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ธนาคารทหารไทย ระบุว่า สาเหตุที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้เงินของคนไทย คือไลฟ์สไตล์ปัจจุบันที่เน้นความสะดวกสบาย รวดเร็ว ติดหรูมากขึ้น เช่น ทานอาหารนอกบ้าน นิยมเสพสื่อออนไลน์ ใช้จ่ายเงินไปกับความบันเทิง การบริโภคสุรา และสูบบุหรี่ เป็นต้น
ขณะที่นางสาวนันทพร ตั้งเจริญศิริ หัวหน้าทีมศึกษาวิจัยประสบการณ์และข้อมูลลูกค้า ธนาคารทหารไทย กล่าวว่า คนไทยส่วนใหญ่ชอบใช้เงินเกินกำลัง โดยมากกว่า 50% ของคนที่มีบัตรเครดิต ไม่สามารถชำระเต็มจำนวนได้ และอีก 48% มักยอมผ่อนสินค้าแบบเสียดอกเบี้ย ทำให้มีพฤติกรรมใช้ก่อนออมทีหลัง และไม่วางแผนการใช้จ่ายหลังเกษียณ

วันที่ 22 มิถุนายน 2561 ศูนย์วิเคราะห์วิจัยข้อมูลเศรษฐกิจและพฤติกรรมผู้ใช้บริการทางการเงิน ธนาคารทหารไทย เผยผลศึกษาพฤติกรรมการใช้เงินของคนไทยที่มีอายุ 18-54 ปี จากฐานข้อมูลผู้ประกอบอาชีพ 35 ล้านคน พบว่า คนไทยส่วนใหญ่ถึง 80% มีเงินออมพอใช้ไม่ถึง 6 เดือน และมีเพียง 20% ที่มีเงินออมพอสำหรับใช้จ่ายตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป ซึ่งปัญหาเงินไม่พอใช้ส่วนมากเกิดขึ้นกับพนักงานเอกชนและจ้างงานอิสระ ทั้งกลุ่มวัยเริ่มต้นทำงาน (Gen Y) และกลุ่มที่มีประสบการณ์ทำงานมานาน (Gen X) ก็ประสบปัญหานี้เช่นกัน
โดยนายนริศ สถาผลเดชา ผู้บริหารศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ธนาคารทหารไทย ระบุว่า สาเหตุที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้เงินของคนไทย คือไลฟ์สไตล์ปัจจุบันที่เน้นความสะดวกสบาย รวดเร็ว ติดหรูมากขึ้น เช่น ทานอาหารนอกบ้าน นิยมเสพสื่อออนไลน์ ใช้จ่ายเงินไปกับความบันเทิง การบริโภคสุรา และสูบบุหรี่ เป็นต้น
ขณะที่นางสาวนันทพร ตั้งเจริญศิริ หัวหน้าทีมศึกษาวิจัยประสบการณ์และข้อมูลลูกค้า ธนาคารทหารไทย กล่าวว่า คนไทยส่วนใหญ่ชอบใช้เงินเกินกำลัง โดยมากกว่า 50% ของคนที่มีบัตรเครดิต ไม่สามารถชำระเต็มจำนวนได้ และอีก 48% มักยอมผ่อนสินค้าแบบเสียดอกเบี้ย ทำให้มีพฤติกรรมใช้ก่อนออมทีหลัง และไม่วางแผนการใช้จ่ายหลังเกษียณ
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก