คนไทยดื่มเหล้า-เบียร์ลดลง ทำกรมสรรพสามิตรายได้หด คาดเก็บภาษีปีงบประมาณ 2561 ได้ต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 6 แสนล้านบาท
อย่างไรก็ตาม การจัดเก็บภาษีบุหรี่ของปีงบประมาณ 2561 ยังเกินเป้าหมายอยู่ 4,200 ล้านบาท แม้ว่าอัตราภาษีบุหรี่จะเพิ่มขึ้นก็ตาม แต่การบริโภคบุหรี่ที่มีราคาถูกไม่เกินซองละ 60 บาท ก็เพิ่มมากขึ้นเช่นกัน ส่วนข้อเสนอของภาคเกษตรผู้ปลูกใบยาสูบที่ต้องการให้เลื่อนการขึ้นภาษีบุหรี่ตามมูลค่าจาก 20% เป็น 40% ในวันที่ 1 ตุลาคม 2562 ออกไปก่อนนั้น ยังต้องพิจารณาให้รอบคอบ เพราะอัตราภาษีบุหรี่ที่เพิ่มขึ้น จะทำให้เด็กและเยาวชนเข้าถึงบุหรี่ได้ยากขึ้น ซึ่งเป็นเป้าหมายของกรมสรรพสามิตและกระทรวงสาธารณสุข ที่ต้องการลดจำนวนผู้บริโภคบุหรี่ให้มากที่สุด
นายณัฐกร กล่าวอีกว่า สำหรับแผนจัดเก็บภาษีปีงบประมาณ 2562 นั้น กรมสรรพสามิต ตั้งเป้าหมายไว้ที่ 6.2 แสนล้านบาท โดยจะมีการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษี และเร่งปราบปรามสินค้าหนีภาษี ซึ่งจะช่วยให้จัดเก็บภาษีได้มากขึ้น และเป็นธรรมกับผู้เสียภาษีรายอื่นด้วย
วันที่ 21 มิถุนายน 2561 เว็บไซต์ไทยโพสต์ รายงานว่า นายณัฐกร อุเทนสุต ผู้อำนวยการสำนักแผนภาษี กรมสรรพสามิต กล่าวถึงการจัดเก็บภาษีปีงบประมาณ 2561 ที่มีเป้าหมาย 6 แสนล้านบาทนั้น คาดว่าจะเก็บภาษีได้ต่ำกว่าเป้าเล็กน้อย เพราะในช่วงต้นเดือนตุลาคม 2560 ถึง เดือนเมษายน 2561 ที่ผ่านมา ประชาชนบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ลดลงถึง 10% จากการรณรงค์เรื่องสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุข จนส่งผลให้การเก็บภาษีสรรพสามิตลดลงตามไปด้วย
นายณัฐกร กล่าวอีกว่า สำหรับแผนจัดเก็บภาษีปีงบประมาณ 2562 นั้น กรมสรรพสามิต ตั้งเป้าหมายไว้ที่ 6.2 แสนล้านบาท โดยจะมีการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษี และเร่งปราบปรามสินค้าหนีภาษี ซึ่งจะช่วยให้จัดเก็บภาษีได้มากขึ้น และเป็นธรรมกับผู้เสียภาษีรายอื่นด้วย
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก