การลงทุนในสินทรัพย์ที่ผลตอบแทนที่เราได้รับไม่ต้องเสียภาษี สามารถช่วยให้เราได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนสูงขึ้นได้
"อยากลงทุนให้ได้ผลตอบแทนเยอะ ๆ ทำไงดี" หลายคนคงอยากจะทราบคำตอบของคำถามนี้ วิธีหนึ่งที่จะช่วยให้เราได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนมากขึ้นคือ การลงทุนที่ผลตอบแทนไม่ถูกหักภาษี แล้วอะไรบ้างที่เราลงทุนแล้วไม่ถูกหักภาษี กระปุกดอทคอมนำข้อมูลจาก K-Expert ธนาคารกสิกรไทย มาฝากสำหรับใครที่กำลังมองหาแหล่งลงทุน แบบไม่ต้องเสียภาษี ช่วยให้เราได้รับผลตอบแทนที่สูงขึ้นได้
กองทุนรวม
กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน
เงินฝากปลอดภาษี
แม้ว่าการลงทุนบางประเภท ผลตอบแทนที่เราได้รับจะถูกหักภาษีออกไปบ้าง แต่ถ้าดูแล้วเป็นรูปแบบการลงทุนที่เหมาะกับวัตถุประสงค์และความเสี่ยงที่เรารับได้ ก็น่าจะเป็นตัวเลือกที่เหมาะกับเรา เช่น เกษียณแล้ว และอยากมีรายได้จากดอกเบี้ยเป็นประจำสม่ำเสมอ การลงทุนในพันธบัตรหรือหุ้นกู้ก็เป็นทางเลือกที่ดี แม้ว่าจะถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไป 15% ก็ตาม ดังนั้น 3 แหล่งลงทุนปลอดภาษีที่นำมาฝาก น่าจะเป็นส่วนเสริมให้การลงทุนของเราสามารถสร้างผลตอบแทนได้ดีขึ้น
K-Expert Action
• ศึกษารายละเอียดเงื่อนไขก่อนตัดสินใจลงทุนในแหล่งลงทุนปลอดภาษีแต่ละประเภท
เชื่อว่าหลายคนน่าจะคุ้นเคยกับการลงทุนกองทุนรวมกันแล้ว ถ้าเราลงทุนกองทุนรวมแล้วได้กำไรจากราคา NAV ที่แตกต่างกัน กำไรส่วนนี้ไม่ต้องเสียภาษี แต่ถ้ากองทุนรวมจ่ายเงินปันผล และเราได้แจ้งให้มีการหักภาษี ณ ที่จ่ายในวันที่เปิดบัญชีกองทุนครั้งแรก เมื่อได้เงินปันผลมา เราก็จะถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 10%
มาถึงตรงนี้อาจมีคำถามเกิดขึ้นในใจว่า ถ้าอยากได้เงินกลับมาจากการลงทุน แต่ไม่อยากถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย จะมีวิธีไหม คำตอบคือมี แต่อาจจะยุ่งยากขึ้นนั่นคือ เราต้องลงทุนในกองทุนที่ไม่ได้มีนโยบายจ่ายเงินปันผล แล้วส่งคำสั่งขายกองทุนรวมด้วยตัวเองเมื่อกองทุนมีกำไร เช่น ได้กำไร 5% เราก็ส่งคำสั่งขายเอาส่วนที่เป็นกำไรออกมา วิธีนี้จะเป็นการจ่ายปันผลให้ตัวเราเองโดยไม่ต้องเสียภาษี แต่อย่าลืมเช็กด้วยว่า กองทุนที่เราจะขายเอากำไรออกมานั้น มีกำหนดยอดเงินขั้นต่ำที่สามารถขายกองทุนออกมาได้หรือไม่
อีกวิธีหนึ่งคือ การลงทุนในกองทุนที่มีนโยบายขายคืนหน่วยลงทุนอัตโนมัติ (Auto Redemption) ซึ่งกองทุนแบบนี้มีนโยบายขายคืนหน่วยลงทุนกลับคืนมาให้กับเรา เมื่อราคาขึ้นไปถึงราคาที่กำหนดเอาไว้ หรือเมื่อถึงวันที่ บลจ. กำหนดเอาไว้
กองทุนประเภทนี้จะนำเงินจากนักลงทุนไปลงทุนในกิจการโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ระบบขนส่งทางราง ไฟฟ้า ประปา เป็นต้น ดังนั้น ทางการจึงมีเงื่อนไขพิเศษเพิ่มเติมจากกองทุนรวมแบบปกติ เพื่อกระตุ้นให้คนนำเงินมาลงทุนในกองทุน โดยผลตอบแทนที่ได้รับจากกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานนั้น หากเป็นกำไรจากส่วนต่างราคายังคงได้รับการยกเว้นภาษีเหมือนกองทุนรวมแบบปกติ ส่วนเงินปันผลนั้นจะได้รับยกเว้นภาษีเป็นเวลาถึง 10 ปี นับตั้งแต่ปีที่มีการจัดตั้งกองทุน ดังนั้น ใครที่ลงทุนในช่วง 10 ปีแรกที่กองทุนจัดตั้ง ก็จะได้ผลตอบแทนแบบเต็มเม็ดเต็มหน่วย ไม่ถูกหักภาษีไปแม้แต่บาทเดียว
ส่วนคนที่รับความเสี่ยงได้ต่ำหรือยังคุ้นเคยกับการฝากเงินกับธนาคารเพียงอย่างเดียว เงินฝากปลอดภาษีก็เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ เพราะเงินฝากประเภทนี้มีจุดเด่นคือ อัตราดอกเบี้ยมักสูงกว่าเงินฝากประจำทั่ว ๆ ไป แถมดอกเบี้ยที่ได้รับก็ไม่ต้องถูกหักภาษีเหมือนเงินฝากประจำอีกด้วย
โดยเงินฝากประเภทนี้มีเงื่อนไขสำคัญคือ ต้องฝากเงินเท่า ๆ กันทุกเดือนเป็นเวลา 24 หรือ 36 เดือน ซึ่งยอดเงินฝากในแต่ละเดือนจะเริ่มต้นตั้งแต่ 500 ไปจนถึง 25,000 บาท สำหรับระยะเวลา 24 เดือน ส่วนระยะเวลา 36 เดือน ยอดเงินฝากประมาณ 1,000 ถึง 16,000 บาท แต่ถ้าในช่วง 2 หรือ 3 ปีที่ฝาก เกิดมีเหตุจำเป็นต้องถอนเงินหรือไม่สามารถฝากได้ทุกเดือนก็ไม่ต้องกังวลไป เรายังคงได้เงินต้นกลับมาครบ เพียงแต่ว่าดอกเบี้ยที่จะได้รับจากธนาคารจะไม่ใช่อัตราดอกเบี้ยสูง ๆ อย่างที่ธนาคารกำหนดไว้ในตอนแรก โดยอาจจะไม่ได้รับดอกเบี้ยหรือได้รับเท่ากับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์เท่านั้น
แม้ว่าการลงทุนบางประเภท ผลตอบแทนที่เราได้รับจะถูกหักภาษีออกไปบ้าง แต่ถ้าดูแล้วเป็นรูปแบบการลงทุนที่เหมาะกับวัตถุประสงค์และความเสี่ยงที่เรารับได้ ก็น่าจะเป็นตัวเลือกที่เหมาะกับเรา เช่น เกษียณแล้ว และอยากมีรายได้จากดอกเบี้ยเป็นประจำสม่ำเสมอ การลงทุนในพันธบัตรหรือหุ้นกู้ก็เป็นทางเลือกที่ดี แม้ว่าจะถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไป 15% ก็ตาม ดังนั้น 3 แหล่งลงทุนปลอดภาษีที่นำมาฝาก น่าจะเป็นส่วนเสริมให้การลงทุนของเราสามารถสร้างผลตอบแทนได้ดีขึ้น
• ศึกษารายละเอียดเงื่อนไขก่อนตัดสินใจลงทุนในแหล่งลงทุนปลอดภาษีแต่ละประเภท
• ลงทุนให้เหมาะสมตามวัตถุประสงค์และระดับความเสี่ยงที่รับได้
ขอขอบคุณข้อมูลจาก