
ครม. เห็นชอบหลักการ "ร่าง พ.ร.ก.คุมเงินดิจิทัล" หวังดูแลนักลงทุน ลดปัญหาการฉ้อโกง พร้อมเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หัก ณ ที่จ่าย 15% และนำเงินได้ไปคำนวณรวมยื่นภาษีเงินได้
วันที่ 13 มีนาคม 2561 รายงานจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบหลักการ "ร่างพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) การประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล" เนื่องจากที่ผ่านมาสกุลเงินดิจิทัล (Crypto Currency) เริ่มมีการระดมทุนจากนักลงทุนรายย่อยและสถาบันอย่างแพร่หลายมากขึ้น แต่ยังไม่มีกฎหมายควบคุมชัดเจน และเพื่อไม่ให้มีปัญหาการฉ้อโกง ปัญหาการฟอกเงิน หรือเกิดการเสียโอกาสทางธุรกิจ จึงจำเป็นต้องออก พ.ร.ก.คุมเงินดิจิทัล มากำกับดูแล
ทั้งนี้ นายณัฐพร จาตุศรีพิทักษ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีและโฆษกประจำรองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า รายละเอียดทั้งหมดของกฎหมายคาดว่าจะมีความชัดเจนในสัปดาห์หน้า โดยเบื้องต้นจะกำหนดให้นิติบุคคลที่เกี่ยวข้องในตลาด ทั้งศูนย์กลางการซื้อ-ขายเงินดิจิทัล โบรกเกอร์ และดีลเลอร์ ต้องมาลงทะเบียนกับภาครัฐ ซึ่งหากมีการซื้อ-ขายเงินดิจิทัลแล้วมีกำไร ก็ต้องประเมินสินทรัพย์ตีมูลค่าภาษีกับกรมสรรพากร
วันที่ 13 มีนาคม 2561 รายงานจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบหลักการ "ร่างพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) การประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล" เนื่องจากที่ผ่านมาสกุลเงินดิจิทัล (Crypto Currency) เริ่มมีการระดมทุนจากนักลงทุนรายย่อยและสถาบันอย่างแพร่หลายมากขึ้น แต่ยังไม่มีกฎหมายควบคุมชัดเจน และเพื่อไม่ให้มีปัญหาการฉ้อโกง ปัญหาการฟอกเงิน หรือเกิดการเสียโอกาสทางธุรกิจ จึงจำเป็นต้องออก พ.ร.ก.คุมเงินดิจิทัล มากำกับดูแล
ทั้งนี้ นายณัฐพร จาตุศรีพิทักษ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีและโฆษกประจำรองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า รายละเอียดทั้งหมดของกฎหมายคาดว่าจะมีความชัดเจนในสัปดาห์หน้า โดยเบื้องต้นจะกำหนดให้นิติบุคคลที่เกี่ยวข้องในตลาด ทั้งศูนย์กลางการซื้อ-ขายเงินดิจิทัล โบรกเกอร์ และดีลเลอร์ ต้องมาลงทะเบียนกับภาครัฐ ซึ่งหากมีการซื้อ-ขายเงินดิจิทัลแล้วมีกำไร ก็ต้องประเมินสินทรัพย์ตีมูลค่าภาษีกับกรมสรรพากร
ขณะเดียวกันสกุลเงินดิจิทัลบางประเภทมีลักษณะเหมือนหุ้น ที่มีทั้งกำไรส่วนต่างจากการซื้อ-ขาย (Capital Gain) และการจ่ายเงินปันผลให้กับผู้ลงทุน จึงอาจต้องเสียภาษีในอัตรา 10% ของเงินปันผลด้วย เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับนักลงทุนในสินทรัพย์อื่น ๆ
ด้านนางเกศรา มัญชุศรี กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า หลักการในร่าง พ.ร.ก.การประกอบธุรกิจทรัพย์สินดิจิทัล นั้น เป็นการให้อำนาจกับฝ่ายกำกับดูแลมากขึ้น เพราะการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล มีทั้งข้อดีและปัญหาที่ต้องระวัง โดยหน้าที่ของตลาดหลักทรัพย์ฯ หลังจากนี้จะทำงานใกล้ชิดกับบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ที่เตรียมจะระดมทุนผ่าน ICO มากขึ้น เนื่องจากเริ่มมีหลายบริษัทหันมาระดมทุนในรูปแบบนี้
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก

