ประกันสังคม หากจะปรับเพดานฐานเงินเดือนเก็บเงินสมทบเข้ากองทุนเป็น 20,000 บาทจริง มีเงินเดือนเท่านี้ ต้องจ่ายเบี้ยเพิ่มเท่าไหร่ แล้วได้สิทธิประกันสังคมอะไรเพิ่มขึ้นบ้าง มาเช็กกันเลย

เป็นประเด็นที่มีกระแสวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างร้อนแรง เรื่องการปรับเพิ่มเงินสมทบกองทุนประกันสังคม และทางสำนักงานประกันสังคมก็ได้ออกมายืนยันแล้วว่าเป็นเรื่องจริง ในการเตรียมปรับเพิ่มเพดานค่าจ้างเงินประกันสังคมเป็น 20,000 บาท จากเดิม 15,000 บาท หมายความว่าจะทำให้บางคนต้องส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมเพิ่มขึ้นนั่นเอง ซึ่งก็มีทั้งผู้เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยเป็นจำนวนมาก จนประกันสังคมต้องออกมาชี้แจงถึงเหตุผลและรายละเอียด โดยระบุว่า เงินสมทบที่จ่ายเพิ่มขึ้นจะทำให้ผู้ประกันตนได้รับสิทธิประโยชน์มากขึ้นเช่นกัน
กระปุกดอทคอมจึงได้รวบรวมรายละเอียดของการเก็บเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมรูปแบบใหม่ มาแจกแจงให้ทราบกันว่า หากอัตราเงินเดือนเท่านี้ ต้องจ่ายสมทบเท่าไหร่ แล้วมีสิทธิประโยชน์อะไรจะได้เพิ่มขึ้นบ้าง หากมีการปรับเพดานฐานเงินเดือนเก็บเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมจริง
กระปุกดอทคอมจึงได้รวบรวมรายละเอียดของการเก็บเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมรูปแบบใหม่ มาแจกแจงให้ทราบกันว่า หากอัตราเงินเดือนเท่านี้ ต้องจ่ายสมทบเท่าไหร่ แล้วมีสิทธิประโยชน์อะไรจะได้เพิ่มขึ้นบ้าง หากมีการปรับเพดานฐานเงินเดือนเก็บเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมจริง

ประกันสังคมปรับใหม่ ต้องจ่ายเงินสมทบเท่าไหร่ ?
ทั้งนี้ หากมีการเก็บเงินสมทบประกันสังคมในอัตรา 5% ที่ฐานเงินเดือนสูงสุด 20,000 บาท จะทำให้ต้องส่งเงินสมทบตามฐานเงินเดือน ดังนี้
- เงินเดือนต่ำกว่า 15,000 บาท จ่ายสบทบเท่าเดิม สูงสุดไม่เกิน 750 บาท
- เงินเดือน 16,000 บาท จ่ายสมทบ 800 บาท/เดือน
- เงินเดือน 17,000 บาท จ่ายสมทบ 850 บาท/เดือน
- เงินเดือน 18,000 บาท จ่ายสมทบ 900 บาท/เดือน
- เงินเดือน 19,000 บาท จ่ายสมทบ 950 บาท/เดือน
- เงินเดือนตั้งแต่ 20,000 บาทขึ้นไป จ่ายสมทบสูงสุดไม่เกิน 1,000 บาท/เดือน

ประกันสังคมปรับใหม่ นายจ้างต้องสมทบเพิ่มขึ้นหรือไม่ ?

สิทธิประกันสังคม ที่จะเพิ่มขึ้นมีอะไรบ้าง ?
ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่าเงินประกันสังคมที่เราจ่าย 5% ของเงินเดือนนั้น จะถูกแบ่งความคุ้มครองออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่
1. กรณีเจ็บป่วยหรือประสบอันตราย ทุพพลภาพ เสียชีวิต จำนวน 1.5%
2. ประกันการว่างงาน 0.5%
3. กรณีสงเคราะห์บุตร และชราภาพ จำนวน 3%
เพราะฉะนั้นการที่เราส่งเงินเข้ากองทุนประกันสังคมเพิ่มขึ้น ก็จะทำให้ได้รับสิทธิประโยชน์จากความคุ้มครองต่าง ๆ มากขึ้นตามไปด้วย โดยสิทธิประโยชน์ที่ผู้ประกันตนจะได้เพิ่ม ประกอบด้วย เงินชราภาพ, เงินชดเชยในกรณีทุพพลภาพ, เงินสงเคราะห์กรณีเสียชีวิตเพิ่มขึ้น, เงินขาดรายได้เมื่อเจ็บป่วย, เงินสงเคราะห์บุตร, เงินว่างงาน รวมทั้งเงินกรณีเสียชีวิต
1. เงินขาดรายได้เมื่อเจ็บป่วยแล้วต้องหยุดงานเกิน 30 วัน มีสิทธิ์เบิกประกันสังคมเพิ่มเป็น 10,000 บาท เป็นเวลา 3 เดือน จากเดิมที่ได้ 7,500 บาท
2. เงินสงเคราะห์คลอดบุตรเพิ่มเป็น 30,000 บาท บวกค่าคลอดครั้งละ 13,000 บาท และค่าตรวจครรภ์สูงสุด 1,000 บาท จากเดิมได้รับ 22,500 บาท บวกค่าคลอดครั้งละ 13,000 บาท และค่าตรวจครรภ์ 1,000 บาท
3. เงินชดเชยทุพพลภาพรุนแรงได้รับตลอดชีวิต จะเพิ่มเป็น 10,000 บาท/เดือน จากเดิมได้รับ 7,500 บาท
4. กรณีว่างงานจากการลาออกตามกฎหมาย เพิ่มเป็น 6,000 บาท/เดือน เป็นเวลา 3 เดือน เพิ่มขึ้นจากเดิมที่ได้เดือนละ 4,500 บาท
5. กรณีว่างงานจากการถูกนายจ้างเลิกจ้างโดยไม่ได้ทำผิดตามกฎหมาย ได้รับเงินชดเชยเพิ่มเป็นเดือนละ 10,000 บาท เป็นเวลา 6 เดือน จากเดิมที่ได้เดือนละ 7,500 บาท
6. เงินชราภาพ หากส่งเงินสมทบครบ 180 เดือน จะได้เพิ่มเป็นเดือนละ 4,000 บาท จากเดิมได้เดือนละ 3,000 บาท
7. กรณีเสียชีวิต ได้รับค่าทำศพ 40,000 บาท แล้วจะได้รับเงินสงเคราะห์เพิ่มขึ้นตามเพดานอัตราเงินเดือนที่สูงขึ้น โดยถ้าส่งเงินสมทบตั้งแต่ 36 เดือน แต่ไม่ถึง 120 เดือน จะได้เงินสงเคราะห์เท่ากับค่าจ้างเฉลี่ย 2 เดือน แต่ถ้าส่งเงินสมทบมาแล้วตั้งแต่ 120 เดือนขึ้นไป จะได้เงินสงเคราะห์เท่ากับค่าจ้างเฉลี่ย 6 เดือน เช่น ถ้าผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบมากกว่า 120 เดือน ก็จะได้เงินสงเคราะห์สูงสุดไม่เกิน 120,000 บาท จากเดิมที่ได้เพียง 90,000 บาท
หากผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 36 เดือน แต่ไม่ถึง 120 เดือน จะได้รับเงินสงเคราะห์สูงสุดไม่เกิน 40,000 บาท จากเดิมไม่เกิน 30,000 บาท

ปัจจุบันแนวคิดการปรับเพิ่มเงินสมทบประกันสังคม ได้ผ่านการรับฟังความคิดเห็นของนายจ้างและลูกจ้าง ด้วยการเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นไปแล้วถึง 12 ครั้ง แต่แนวคิดนี้ยังติดปัญหาเรื่องความเข้าใจของผู้ประกันตนที่มีทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ทำให้ทางสำนักงานประกันสังคมจึงยังไม่ได้เดินหน้าต่อ โดยต้องมีการทำความเข้าใจให้ตรงกันทั้งหมดก่อน
อย่างไรก็ตาม ไม่ได้มีการล้มเลิกแนวคิดนี้และต้องมีการปรับอัตราเงินสมทบเพิ่มแน่นอน โดยล่าสุด (วันที่ 4 มิถุนายน 2562) นายอนันต์ชัย อุทัยพัฒนาชีพ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม เผยถึงความคืบหน้าว่า จะทำการปรับเงินสมทบแบบขั้นบันได คือค่อย ๆ ขยายเพดานเงินเดือนสูงสุดไปเรื่อย ๆ
เช่น ปีต่อไปอาจขยายเป็น 16,000 บาท หรือเก็บสมทบสูงสุด 800 บาทต่อเดือน แล้วปีถัดไปค่อยเพิ่มเป็น 17,000 บาท หรือเก็บสมทบสูงสุด 850 บาท โดยภายในระยะเวลา 5 ปี ก็จะสามารถขยายเพดานเงินเดือนเป็น 20,000 บาท เป็นเก็บเงินสมทบได้เดือนละ 1,000 บาทได้ เพื่อให้ผู้ประกันตนไม่รู้สึกว่าต้องจ่ายแบบก้าวกระโดดจนเกินไป
สรุปแล้วจะเห็นว่าแม้การเพิ่มขึ้นของเบี้ยประกันสังคม จะทำให้ผู้ที่เงินเดือนมากกว่า 15,000 บาท มีภาระมากขึ้นจากเงินสมทบที่ต้องจ่าย แต่มองอีกมุมหนึ่ง เรื่องนี้ก็ไม่ได้มีแต่ข้อเสียซะทีเดียว เพราะทำให้เราได้รับสิทธิประโยชน์เพิ่มขึ้นตามไปด้วย เพื่อเป็นหลักค้ำประกันชีวิตในอนาคตนั่นเอง และสำหรับใครที่ต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถสอบถามข้อมูลได้ที่ สำนักงานประกันสังคม โทร. 1560
***หมายเหตุ : อัปเดตข้อมูลล่าสุดวันที่ 5 มิถุนายน 2562
เฟซบุ๊ก สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน