หลังจากที่มีกระแสข่าวปรับเพดานค่าจ้างจาก 15,000 บาท เป็น 20,000 บาท และจะเตรียมเก็บเงินประกันสังคม เพิ่มจากเดิม 750 เป็น 1,000 บาทนั้น ล่าสุด (20 ตุลาคม 2560) นายสุรเดช วลีอิทธิกุล เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) เปิดเผยถึงข้อสรุปดังกล่าวว่า จะมีการปรับเพิ่มเพดานการจ่ายสมทบมากขึ้น การเก็บเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม ต้องมีการปรับเปลี่ยน นอกจากนี้ยังพบว่าประชาชนกว่า 81% เห็นด้วยในการปรับฐานเงินเดือนจากขั้นต่ำ 15,000 บาท เป็น 20,000 บาท ซึ่งทั้งหมดนี้หากผ่านขั้นตอนการพิจารณาจะสามารถบังคับใช้ได้ในต้นปี 2561
ทั้งนี้ การปรับเงินเดือนและจ่ายค่าประกันสังคมใหม่นั้น ไม่ใช่เพราะว่าถังแตก แต่เพื่อส่งผลดีต่อประชาชน เพราะแบบเดิมใช้มากว่า 27 ปี ซึ่งปัจจุบันผู้มีเงินเดือน 15,000 บาท อยู่ที่ 32% ส่วนก่อนหน้านั้นมีเพียงแค่ 10%
สำหรับสิทธิ์ประโยชน์ที่จะได้รับสิทธิในระยะสั้น คือ ผู้ประกันตนที่มีเงินเดือน 20,000 บาท จะได้รับเงินประกันว่างงานจากเดิม 7,500 ปรับเป็น 10,000 บาท หากเจ็บป่วยจากเดิมได้ 50% จะปรับสูงสุดอยู่ที่ 10,000 บาท ขณะที่เงินสงเคราะห์เพื่อการดูแลบุตร เดิมทีจ่ายที่ 90 วัน จำนวน 22,500 บาท แต่ปรับขึ้นเป็น 30,000 บาท ในส่วนสิทธิระยะยาวกรณีเงินส่วนเงินชดเชยบำนาญจะจ่ายเพิ่มจาก 3,000 บาท เป็นจ่ายสูงสุด 4,000 บาท
นายสุรเดช บอกอีกด้วยว่า ยังไม่มีข้อสรุปสำหรับเรื่องการขยายการจ่ายเบี้ยชราภาพจากอายุ 55 ปี เป็น 60 ปี แต่ยืนยันว่า กองทุนมีเงินเพียงพอในการใช้จ่ายเงินบำนาญชราภาพ โดยขณะนี้มีเงินในกองทุนทั้งหมด 1.7 ล้านล้านบาท 90% ของเงินกองทุน ได้ใช้จ่ายเป็นเงินบำนาญ ส่วนในปี 2559 กองทุนประกันสังคมยังมีกำไร ได้ผลตอบแทนจากการลงทุนกว่า 52,800 ล้านบาท และใน 6 เดือนแรกของปี 2560 ได้ผลตอบแทนประมาณ 25,000 ล้านบาท
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก