
สัญชาตญาณการป้องกันตัวเองจากภัยต่าง ๆ เป็นเรื่องปกติของมนุษย์ เราจึงรู้สึกระมัดระวังและปิดกั้นสิ่งที่เป็นเรื่องลบ ๆ โดยอัตโนมัติ ดังนั้น การที่คนส่วนมากไม่ชอบความเสี่ยงจากการลงทุนจึงไม่ใช่เรื่องแปลก เป็นเพราะเราไม่เข้าใจและไม่มีข้อมูลที่ครบถ้วน แต่ถ้าเราเข้าใจการลงทุนอย่างตรงไปตรงมา การเปิดใจลงทุนอาจทำได้ง่ายขึ้น K-Expert ได้รวบรวมเหตุผลที่ทำให้คนส่วนใหญ่กลัวที่จะลงทุนมาฝากกัน เพื่อที่ว่าจะได้แก้ปัญหากันได้ตรงจุด
1. ไม่อยากเสี่ยง
อยากที่บอกไปว่าคนไม่ชอบเสี่ยงไม่ใช่เรื่องแปลก แต่การที่กลัวความเสี่ยงมากเกินปกติก็ไม่ใช่เรื่องดี เช่นว่าในการลงทุน คนที่ไม่ชอบเสี่ยงมาก ๆ มักจะไม่กล้าขยับเงินฝากไปไหนเลย แต่ที่จริงแล้ว การเก็บเงินเฉพาะในบัญชีออมทรัพย์อย่างเดียวก็เป็นความเสี่ยงแบบหนึ่ง เพราะอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำมาก ๆ เช่นนี้ แม้จะคิดดอกเบี้ยทบต้นแล้ว ก็อาจจะไม่พอสำหรับใช้หลังเกษียณ

ในทางจิตวิทยาเมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่ดีที่มีผลกระทบกับชีวิตอย่างหนัก สมองของเราจะตีความเกี่ยวกับสิ่ง ๆ นั้นในทางที่ไม่ดี เช่นว่าคนที่เคยขาดทุนอย่างรุนแรง หรือลงทุนในช่วงตลาดขึ้นสุดแล้วร่วงช่วงเกิดวิกฤต ภาพจำแบบนี้ย่อมทำให้เราเข็ดขยาด แต่ก็มีหลายครั้งที่เรามักติดกับกรอบความคิดเดิม ๆ เพียงเพราะคำว่า “เขาว่ากันว่า” เขาว่าลงทุนในหุ้นไม่ดี มีเงินน้อยยังไงปลาใหญ่ก็กินปลาเล็ก เขาว่ากันว่าขาดทุนหนัก เขาว่ากันอย่างนั้นอย่างนี้ ซึ่งเราก็ไม่รู้ว่า “เขา” คือใคร เก่งแค่ไหน ทำไมเราจึงฟัง “เขา” และหลายต่อหลายครั้งเราเสียโอกาสก็เพราะ “เขา”
การลงทุนก็เหมือนการดำเนินชีวิต อาจมีบ้างที่ประสบความสำเร็จตั้งแต่อายุยังน้อย ในขณะที่คนอื่น ๆ ยังล้มลุกคลุกคลานอยู่ แต่สุดท้ายคนที่ประสบความสำเร็จในชีวิตคือ คนที่ยืนหยัดจะทำต่อไปเรื่อย ๆ โดยเรียนรู้จากข้อผิดพลาดเก่า ๆ แล้วลองหาวิธีการใหม่ ๆ ไม่เคยเห็นใครประสบความสำเร็จในชีวิตจากการหยุดทำเลยสักคน มีแต่คนที่ทำต่อเนื่องเท่านั้นที่จะเดินเข้าใกล้ความสำเร็จ จะช้าหรือเร็วแล้วแต่บุคคล การลงทุนก็เช่นกัน หากเราหยุด เราก็ไม่มีทางประสบผลสำเร็จ

สุดท้ายอยากจะฝากถึงคนที่กลัวการลงทุนว่า ความเสี่ยงอยู่กับเราทุกที่และทุกเรื่องในชีวิต แต่สิ่งที่คนกลัวเสี่ยงต้องระวังคือ การเสียโอกาสเพราะความกลัว หวังว่าการให้ข้อมูลอีกด้านหนึ่งจะช่วยทำให้คนที่กำลังกลัวการลงทุนหันมามองเห็นโอกาสจากการลงทุนมากขึ้น
K-Expert Action
• เก็บเงินสำรองเผื่อฉุกเฉินให้ได้อย่างน้อย 6 เท่าของค่าใช้จ่ายรายเดือน ก่อนนำเงินไปลงทุน
• เลือกลงทุนในสินทรัพย์ให้เหมาะกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ และระยะเวลาในการใช้เงิน
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
